การแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนการทุจริต


7 January 2568
9423
การแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน (whistleblowing)
  • การแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน
  • ข้อมูลผู้แจ้งเบาะแส/เรื่องร้องเรียน

การแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (“สพร.”) ยึดมั่นในการดำเนินงานภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมคุณธรรม สร้างจิตสำนึกและค่านิยมที่ถูกต้องในการปฏิบัติงานจึงได้จัดทำนโยบายการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน เพื่อรับแจ้งเบาะแสการทุจริตหรือร้องเรียนในกรณีที่พบเห็นการกระทำผิดหรือสงสัยว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมายหรือกฎระเบียบองค์กร รวมถึงผิดจริยธรรมหรือจรรยาบรรณในการดำเนินงานผ่านช่องทางที่กำหนด ดังนี้
1. ติดต่อด้วยตนเองที่ ส่วนบริหารทรัพยากรและกลยุทธ์บุคคล สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) อาคารสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ชั้น 4 เลขที่ 999 ถนน แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
2. จดหมายหรือเอกสารร้องเรียน ระบุหน้าซองถึง "ส่วนบริหารทรัพยากรและกลยุทธ์บุคคล จัดส่งที่ ส่วนบริหารทรัพยากรและกลยุทธ์บุคคล สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) อาคารสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ชั้น 4 เลขที่ 999 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
3. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail address): [email protected]
4. เว็บไซต์ https://www.dga.or.th >> การแจ้งเบาะแสและเรื่องร้องเรียน (https://www.dga.or.th/whistleblowing)

หลักเกณฑ์ในการรับแจ้งเบาะแสและการรับเรื่องร้องเรียน
1. แจ้งชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ อีเมล และหน่วยงาน(ถ้ามี) ของผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียน
2. ชื่อ นามสกุล ของผู้ที่ถูกแจ้งเบาะแสหรือผู้ถูกร้องเรียน
3. รายละเอียดข้อเท็จจริงและช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์ พฤติการณ์ หรือการกระทำ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่แจ้งเบาะแสหรือเรื่องร้องเรียน ทั้งนี้ ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนควรระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงหรือหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพออันแสดงให้เห็นว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานของ สพร. หรือบุคคลภายนอกอื่นใดที่มีการกระทำอันเข้าลักษณะเป็นการทุจริต เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบของ สพร. หรือมาตรฐานจริยธรรม
4. รายละเอียดพยานเอกสาร พยานวัตถุ พยานบุคคล หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งแนบหลักฐานประกอบ ทั้งนี้ ต้องมีความชัดเจนเพียงพอที่จะสามารถดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงต่อไปได้
5. สพร. จะไม่รับแจ้งเบาะแสหรือเรื่องร้องเรียนที่เข้าลักษณะ ดังต่อไปนี้
5.1 เรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับ สพร. หรือ เรื่องที่ไม่มีมูลความจริงหรือมีการสร้างขึ้นเพื่อกล่าวหาบุคคลอื่นหรือหน่วยงานต่าง ๆ ให้เกิดความเสียหาย
5.2 เรื่องที่ไม่มีการระบุพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ ที่มีความชัดเจนเพียงพอที่จะสามารถดำเนินการสืบสวนหาข้อเท็จจริงต่อไปได้
5.3 เรื่องที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว หรือเป็นเรื่องที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
5.4 เรื่องที่หน่วยงานอื่นได้ดำเนินการตรวจสอบ พิจารณาวินิจฉัย และได้มีข้อสรุปผลการพิจารณาแล้ว เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) หรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เป็นต้น
5.5 เรื่องที่ สพร. ได้รับไว้พิจารณาแล้ว หรืออยู่ระหว่างดำเนินการ
5.6 เรื่องที่ สพร. ได้วินิจฉัยเสร็จเด็ดขาดแล้วและไม่มีพยานหลักฐานใหม่ซึ่งเป็นสาระสำคัญเพิ่มเติม

นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ให้อยู่ในดุลยพินิจของ สพร. ในการพิจารณาการรับแจ้งเบาะแสหรือการรับเรื่องร้องเรียน
ทั้งนี้ สพร. ได้กำหนดมาตรการในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส ผู้ร้องเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าจะได้รับการคุ้มครองสิทธิและข้อมูลจะถูกปกปิดเป็นความลับ โดย สพร. จะไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ ที่สามารถระบุตัวตนของผู้แจ้งเบาะแส ผู้ร้องเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวจะถูกเก็บไว้เป็นความลับตามนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ สพร. จะดำเนินการอย่างระมัดระวังเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการสอบสวนหาข้อเท็จจริง โดยคำนึงถึงความปลอดภัย ความเสียหายและผลกระทบต่อผู้แจ้งเบาะแส ผู้ร้องเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ

เข้าใจและยอมรับเงื่อนไขการใช้งาน

**ทั้งนี้ การพิจารณาและสรุปข้อเท็จจริงเบื้องต้น จะใช้ระยะเวลาประมาณ 60 วัน ขึ้นอยู่กับข้อมูล หลักฐาน และความซับซ้อนในการหาข้อเท็จจริง

ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี