อีจีเอ จัดอบรมหลักสูตร ไอพีวี ๖ เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนปี ๒๕๕๘ ครั้งที่ ๒ (รุ่นที่๑)


13 March 2558
933

ICT จับมือสามหน่วยงานไอทีภาครัฐ EGA, SIPA และซอฟต์แวร์พาร์ค เปิดตัวระบบบริการซอฟต์แวร์ออนไลน์ภาครัฐ หรือ G-SaaS หวังสร้างมิติใหม่การใช้ซอฟต์แวร์ภาครัฐ ประเดิมระบบส่งหนังสือข้ามหน่วยงาน พร้อมเตรียมเปิด 11 โปรแกรมภายในสิ้นปีนี้ เชื่อมาตรฐานแต่ะโปรแกรมเปิดช่องอิสระให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์เข้าตลาดภาครัฐ

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ (สรอ.) ดำเนินโครงการบริการคลาวน์ภาครัฐ หรือ Government Cloud Service (G-Cloud) ตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ ซึ่งโครงการดังกล่าวประสบผลสำเร็จ ได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐและมีการขอใช้บริการอย่างต่อเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน จากความสำเร็จของบริการ G-Cloud ทำให้ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๖ นี้ สรอ. มีแผนพัฒนาต่อยอดบริการเพื่อให้เกิดความหลากหลาย และสามารถตอบสนองการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่ง ขึ้น โดย สรอ. ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (SIPA) และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) นำร่องบริการซอฟต์แวร์ออนไลน์ภาครัฐ หรือ Government Software as a Service (G-SaaS) ซึ่งตั้งเป้าหมายให้มีบริการซอฟต์แวร์ออนไลน์ภาครัฐอย่างน้อย ๑๑ ระบบ และจัดงานแถลงข่าวเปิดตัว “บริการซอฟต์แวร์ออนไลน์ภาครัฐ” หรือ “Government Software as a Service (G-SaaS)” เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๖ ณ ห้องสโรชา ชั้น ๓ โรงแรมสวิส โซเทล เลอ คองคอร์ด รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ โดยมีนายณัฐพงศ์ ศีตวรรัตน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการแถลงข่าว “บริการซอฟต์แวร์ออนไลน์ภาครัฐ มิติใหม่ของบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของภาคราชการไทย” และ ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) แถลง “เจาะลึกความคืบหน้า ๓ ระบบนำร่อง บริการซอฟต์แวร์ออนไลน์ภาครัฐ หรือ Government Software as a Service (G-SaaS)

จากนั้นเป็นการแถลงความร่วมมือ ๓ หน่วยงานพันธมิตร เรื่อง “การเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รับมือบริการ G-SaaS” โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) “การส่งเสริมผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย คู่ขนานบริการ G-SaaS” โดย นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ“การเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย รับมือบริการ G-SaaS” โดย นายเฉลิมพล  ตู้จินดา ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย

สำหรับการแถลงข่าวครั้งนี้กล่าวถึงการให้บริการแบบ G-SaaS ในหมวดซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการใช้งานซอฟต์แวร์ภาครัฐใหม่ รวมถึงกระบวนการสนับสนุนภาคซอฟต์แวร์ทั้งหมดเข้าสู่ระบบ G-SaaS อย่างเต็มตัว ซึ่งบริการนี้ถือเป็นบริการลำดับแรกๆ ของเอเชีย        

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT เปิดเผยว่า ICT ร่วมมือกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์ค ได้จัดทำระบบ Government Software as a Service (G-SaaS) หรือบริการซอฟต์แวร์ออนไลน์ภาครัฐ โดยเป็นซอฟต์แวร์พื้นฐานจำนวน 11 โปรแกรม ซึ่งขณะนี้เปิดให้บริการเบื้องต้นจำนวน 3 โปรแกรม ที่เหลือจะทยอยเปิดให้บริการกับภาครัฐภายในปีนี้

ที่ผ่านมาทาง EGA ได้เปิดบริการประเภท Infrastructure as a service (G-IaaS) หรือพวกโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นระบบ ฐานข้อมูล และอื่นๆ ตามด้วย Platform as a service (G-PaaS) ที่เกี่ยวพันกับระบบปฏิบัติการต่างๆ ถือเป็นสิ่งที่หน่วยงานรัฐยอมรับได้ในระดับหนึ่งแล้ว เป้าหมายที่ ICT และ EGA ได้ดำเนินการต่อในครั้งนี้คือ การเป็น Software as a service (G-SaaS) หรือบริการซอฟต์แวร์ออนไลน์ภาครัฐที่จะเป็นทางเลือกให้ภาคราชการไทยได้มี โอกาสเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่าน Government Cloud Service (G-Cloud) เชื่อมต่อกับโครงสร้างบริการอื่นที่มีอยู่ใน GIN ของ EGA และทุกอย่างอยู่บนมาตรฐานเดียวกัน ทำให้การเชื่อมต่อการทำงานของโปรแกรม ข้อมูล และเครือข่ายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

“การริเริ่มทำโครงการนำร่อง G-SaaS มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากหากปล่อยให้เกิด ตามธรรมชาติแล้ว บริการนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย เพราะที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐที่ใช้ซอฟต์แวร์ทั้งหลายหาใช่ผู้ที่พัฒนา ซอฟต์แวร์เองแต่อย่างใด เป็นการจัดซื้อจัดจ้างผู้ให้บริการระบบ หรือ System Integrators หรือ SI มาจัดการให้ ซึ่งก็เป็นไปได้ที่จะมีการเลือกซอฟต์แวร์ไทยเข้ามาร่วมด้วยแต่ถือว่าน้อยมาก และที่ผ่านมา SI เหล่านั้นก็ต้องเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับหน่วยงาน รัฐมานาน โอกาสที่จะให้ซอฟต์แวร์ไทยรายใหม่ๆ ได้แจ้งเกิดในเวทีภาครัฐเป็นไปได้น้อยมาก และที่สำคัญแต่ละหน่วยงานก็ต้องใส่ความต้องการในด้านการทำงานของตนเองเป็น หลัก และโอกาสที่จะให้ซอฟต์แวร์ของตนเองไปเชื่อมกับหน่วยงานภายนอกแทบจะไม่มีความ เป็นไปได้เลย ภาคราชการไทยจึงเสียงบประมาณจำนวนมากไปกับระบบไอทีที่แม้จะมีความทันสมัย แต่ไม่สามารถนำประสิทธิภาพเหล่านั้นมาใช้ได้อย่างเต็มที่” น.อ.อนุดิษฐ์กล่าว

ตัวอย่างของ G-SaaS คือซอฟต์แวร์ทางด้านสารบรรณ ซึ่งซอฟต์แวร์ชนิดนี้หน่วยงานรัฐเกือบ 80% จัดซื้อจัดจ้างมาใช้สำหรับทำหนังสือเข้า-ออก แต่ละรายมีความแตกต่างกัน แม้ลักษณะงานแทบจะเหมือนกันก็ตาม ทำให้ในหนึ่งกระทรวงอาจมีระบบสารบรรณเป็น 10 ระบบ แต่ละระบบไม่สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ และก็ไม่สามารถเชื่อมต่อข้ามกระทรวงกันได้เช่นเดียวกัน ถือเป็นการสูญเปล่าทางด้านงบประมาณของราชการไทยอย่างมาก

ดังนั้น EGA จึงเข้ามาทำมาตรฐานระบบสารบรรณ โดยมาตรฐานนี้ได้รับการยอมรับจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ทางด้านสารบรรณที่มีอยู่ ก่อนหน้านั้นแล้ว จากนั้นก็ช่วยเหลือแนวทางที่จะให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ปรับระบบของตัวเองให้ เข้ากับมาตรฐานนั้น ขณะเดียวกันก็ปรับเปลี่ยนให้ทำงานได้บนระบบ G-Cloud ของ EGA ไปด้วยพร้อมกัน ไม่เพียงเท่านั้น EGA ยังช่วยเหลือทางด้านมาตรฐานระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อทำให้หน่วยงานรัฐเกิดความมั่นใจในการที่จะมาใช้งาน เท่ากับ EGA เป็นเหมือนตราประทับและการันตีการทำงานของซอฟต์แวร์ที่อยู่บนคลาวด์ของ EGA ไปด้วยในตัว

G-SaaS จึงเป็นเหมือนปลายทางการให้บริการระบบ G-Cloud ซึ่งเป็นโครงการยุคใหม่ของภาคราชการไทย เป็นอนาคตที่จะปรับโฉมการทำงานของภาครัฐทั้งระบบ วันนี้แม้จะเริ่มต้นที่ 3 และจะมีอีก 8 โปรแกรมตามมา แต่ภายในปีหน้าจะเกิดโปรแกรมที่อยู่บน G-SaaS อีกมากมาย มูลค่าการใช้งานจะมากขึ้น เป็นทางเลือกให้กับภาคราชการไทย เป็นอนาคตใหม่ของวงการซอฟต์แวร์ไทย และเป็นบริการใหม่ๆ ที่จะส่งผลต่อการบริการ ภาคประชาชนในเร็วๆ นี้

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA เปิดเผยว่า บริการซอฟต์แวร์ที่อยู่ภายใต้ G-SaaS จะทำงานอยู่บนระบบ G-Cloud ของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) โดยในปีนี้ซอฟต์แวร์ออนไลน์ภาครัฐที่ให้บริการบริการจะมี 11 กลุ่ม โดย 3 กลุ่มแรกสามารถให้บริการได้ทันทีคือ 1.Saraban as a Service บริการระบบสารบรรณกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ 2. SMS as a Service บริการส่งข้อความ(SMS) ผ่านเว็บไซต์ 3. Conference as a Service ระบบห้องประชุมเสมือน นอกนั้นจะมีการกำหนดมาตรฐานเพิ่มเติมและทยอยให้บริการภายในปีนี้ต่อไป

ระบบสารบรรณกลางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ เป็นการให้บริการระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ Software as a Service: SaaS บนระบบ G-Cloud เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขยายผลการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐที่มีความแตกต่างกันได้อย่างอัตโนมัติ (Cross Platforms Interconnection) ให้สามารถแลกเปลี่ยนกันได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและขั้นตอนในการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน รวมถึงการลดการใช้กระดาษ (Paperless) ได้อย่างเต็มรูปแบบ

ระบบนี้ทาง EGA ได้ร่วมมือกับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์คนไทย โดย EGA ได้กำหนดมาตรฐานของ ระบบสารบรรณขึ้นมา โดยก่อนหน้านั้นได้มีการหารือกับตัวแทนของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งหมด ซึ่งขณะนี้มาตรฐานดังกล่าวเสร็จแล้ว ทำให้ซอฟต์แวร์สารบรรณของทั้ง 4 รายสามารถเชื่อมระบบเอกสารถึง กันได้ ดังนั้นหน่วยงานราชการที่เลือกใช้ระบบนี้อาจเลือกซอฟต์แวร์จากรายใดรายหนึ่ง ก็สามารถเชื่อมระบบเอกสารไปยังหน่วยงานอื่นๆ ได้ทันที

สำหรับหน่วยงานราชการที่ต้องการใช้ระบบภายในปีนี้ ทาง EGA จะให้ทางหน่วยงานเข้ามา ศึกษา และคัดเลือกซอฟต์แวร์ที่ต้องการใช้ โดย EGA จะให้ทดลองใช้ฟรี 1 ปี ซึ่ง EGA จะเป็นผู้ลงทุน ทางด้าน ระบบเซิร์ฟเวอร์และโครงข่ายคลาวด์คอมพิวติ้งทั้งหมด โดยให้เจ้าของซอฟต์แวร์ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนระบบของตนเองมาทำงานบนคลาวด์แล้ว ได้ใช้สาธารณูปโภคของ EGA อย่างเต็มที่บน เงื่อนไขที่ต้องมีมาตรฐานดังกล่าว และผ่านการทดสอบเรื่องระบบความปลอดภัยแล้ว หลังจาก 1 ปีแล้ว ทางหน่วยงานสามารถ ตัดสินใจเลือกใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้ โดยค่าบริการจะเก็บเป็น Pay Per Use หรือจ่ายตามการใช้งานจริง ซึ่ง EGA จะมีการกำหนดราคากับทางเจ้าของซอฟต์แวร์อีกครั้งหนึ่ง

ระบบมาตรฐานของสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์นั้น EGA จะเปิดโอกาสให้ซอฟต์แวร์ของนักพัฒนา ทุกรายสามารถเข้ามาติดตั้งเพื่อเป็นตัวเลือกให้บริการอย่างเสรี เพียงแค่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ EGA, SIPA และซอฟต์แวร์พาร์ค กำหนด และซอฟต์แวร์เหล่านั้นอาจถูกถอดออกจากระบบได้ หากพบว่าการให้บริการ ต่ำกว่ามาตรฐาน

ส่วนระบบ SMS as a Service บริการส่งข้อความ (SMS) ผ่านเว็บไซต์ เพื่อการประชาสัมพันธ์หรือติดต่อสื่อสารภายในหน่วยงาน รวมถึงการแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชน และ Conference as a Service ระบบห้องประชุมเสมือน ที่จากเดิมที่ สรอ. ได้มีให้บริการ GIN Conference เพื่อเป็นการประชุมทางไกลผ่านเครือข่ายภาครัฐนั้น EGA พัฒนาต่อเป็นการให้บริการ Web Conference ในรูปแบบของ Software as a Service บริการดังกล่าวเป็นบริการที่ EGA เห็นว่าทางหน่วยงานภาครัฐมีความจำเป็นต้องใช้งาน แต่หากหน่วยงานนั้นใช้ในปริมาณไม่มาก การจัดซื้อจะยุ่งยากและได้ใช้บริการในราคาที่แพง ดังนั้นบริการนี้เท่ากับว่า EGA จะเป็นผู้รวบรวมและให้บริการเอง ซึ่งในระยะยาวหากมีหน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถให้บริการเช่นนี้ได้ ก็สามารถเสนอตัวเข้ามาในระบบนี้ได้

สำหรับซอฟต์แวร์ที่อยู่ระหว่างการศึกษาและทดสอบ จำนวน 8 ชนิดจะประกอบด้วย
1.Office on Cloud ซึ่งเป็นบริการซอฟต์แวร์ออฟฟิศเพื่อการสร้างเอกสาร ตารางคำนวณ รวมถึงงานนำเสนอ ซึ่งจะสนับสนุนการทำงานได้จากทุกที่ทุกเวลา
2.Personal Storageระบบบริการจัดเก็บข้อมูลภาครัฐ
3.Government Website as a Serviceระบบเว็บไซต์ภาครัฐ
4.Conference as a Service ในระดับขั้นสูงหรือ Premium
5.SMART IVR (Interactive Voice Response) 6.Streaming as a Service 7.Antivirus (Client Security for GIN) และ 8.Private Instant Messaging

ขณะนี้ซอฟต์แวร์ทดสอบได้รับความสนใจจากนักพัฒนาจำนวนมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าซอฟต์แวร์เหล่านี้ คือบริการขั้นพื้นฐานที่หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยสามารถใช้ได้ทั้งหมด โดยในเบื้องต้น EGA จะยังไม่ลงไปสู่ซอฟต์แวร์เฉพาะทางที่เกี่ยวกับการทำงานของหน่วยงานที่เป็น ลักษณะเฉพาะ

ในระบบ G-SaaS ทาง EGA จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานการให้บริการและสร้างมาตรฐาน ให้กับหน่วยงานภาครัฐ ช่วยลดความซ้ำซ้อนและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับหน่วยงานภาครัฐ เพียงแค่หน่วยงานนั้นแจ้งผ่านระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสาร ในภาครัฐ (Mailgothai) ก็สามารถเข้ารับบริการที่ EGA เปิดให้บริการได้ทันที  ทำให้หน่วยงานต่างๆ ได้ใช้ซอฟต์แวร์ที่ได้มาตรฐานกลางภาครัฐที่คัดเลือกโดย EGA,  ลดขั้นตอนการจัดซื้อ, ลดค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีเสารสนเทศ, มีมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในระดับภาครัฐกับภาครัฐ, สะดวกในการใช้งานได้จากทุกที่ ทุกเวลา และเป็นมาตรฐานเดียวในการติดต่อสื่อสาร

สำหรับภาคเอกชนที่เข้าร่วมจะเกิดประโยชน์คือ ผู้เข้าร่วมพัฒนาระบบงานด้าน e-Government ให้กับภาครัฐ ถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัท, เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ และได้เปิดตลาดสู่ภาครัฐไปจนถึงระดับนานาชาติ, มีโอกาสนำข้อมูลภาครัฐไปพัฒนาบริการให้กับประชาชน ขณะที่ภาคประชาชนประชาชนจะได้รับบริการที่มีความสะดวก  รวดเร็ว  ทั่วถึง และเท่าเทียมไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม ทั้งในสถานที่ของหน่วยงานภาครัฐ หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้จากทั่วโลก

นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา SIPA เข้ามาส่งเสริมให้ซอฟต์แวร์ไทยก้าวสู่ระบบ Cloud Computing มาโดยตลอด เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ทั้งระบบ ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยเข้มแข็งขึ้นมาได้ในอนาคต ขณะที่ผู้ใช้บริการซอฟต์แวร์ภาคเอกชนของไทยและต่างประเทศมีความตื่นตัว เรื่องนี้อย่างสูง แต่องค์กรรัฐของไทยกลับไม่สามารถขยับตัวสู่ระบบ Software as a Service ได้ ทั้งที่มูลค่าการใช้ซอฟต์แวร์ภาครัฐมีอยู่สูงมาก

ดังนั้น EGA ซอฟต์แวร์พาร์ค และ SIPA สามหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลเรื่องซอฟต์แวร์ทั้งระบบ จึงต้องจับมือกันเพื่อสร้างระบบ G-SaaS ให้เป็นจริงขึ้นมา โดยทั้งหมดร่วมกันสร้าง มาตรฐานซอฟต์แวร์ในแต่ละบริการ โดยยึดหลักต้องเป็นมาตรฐานที่ไม่มีการผูกขาดให้กับรายใดรายหนึ่ง ทำให้การแข่งขันเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ ที่สำคัญบริษัทซอฟต์แวร์รายเล็กต้องสามารถเข้าสู่ตลาดภาคราชการได้

บทบาทของ SIPA ที่นอกจากการร่วมมือสร้างมาตรฐานร่วมกับอีก 2 หน่วยงานแล้ว หน้าที่ในการส่งเสริมผู้ประกอบการในด้านการตลาดมีความจำเป็นอย่างมาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการตลาด เพื่อทำให้บริษัทซอฟต์แวร์ต่างๆ รู้จักโครงการนี้ และรู้ว่ามาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นเช่นไร และสนับสนุนให้งบประมาณเพื่อให้ซอฟต์แวร์ ต่างๆ สามารถเข้าร่วมกับมาตรฐานนี้ในชั้นต้น เป็นเรื่องที่ SIPA ให้ความสำคัญ

ภายในปีนี้ SIPA จะมีการจัดประกวดซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในงานภาครัฐ โดยอิงกับมาตรฐานที่ร่วมกัน 3 หน่วยงานเป็นพื้นฐานเบื้องต้นของการตัดสิน ซึ่งถือว่าผลงานที่ผ่านเกณฑ์การตัดสินแม้จะไม่ได้รางวัลชนะเลิศ แต่ก็สามารถนำซอฟต์แวร์เหล่านี้เข้าไว้ในหมวดการให้บริการ G-SaaS ได้ในทันที จะเป็นประโยชน์กับวงการซอฟต์แวร์ไทย เพื่อให้เป็นทาง เลือกกับภาคราชการของไทยอย่างมาก

การจัดประกวดในปีนี้ทาง SIPA คาดหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในงาน Software Expo ที่ทาง SIPA จะจัดขึ้นในเดือนกันยายนนี้ และการจัดประกวดจะแยกจากงาน Thailand ICT Award หรือ TICTA ที่จะขึ้นในปลายปีนี้ จึงถือเป็นการจัดประกวดที่มีความเฉพาะทาง และเน้นหนักเพื่อเข้าสู่ระบบ G-SaaS เท่านั้น

นอกจากนั้นทาง SIPA เตรียมดำเนินตั้งกองทุนค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซอฟต์แวร์เพื่อเข้าสู่ มาตรฐาน และทำงานบนคลาวด์ให้กับซอฟต์แวร์ไทยที่สนใจ โดยเงื่อนไขและรายละเอียดนั้นกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา

การเข้าร่วมสร้างระบบ G-SaaS ของ SIPA ในครั้งนี้ มั่นใจว่าจะเป็นการกระตุ้นตลาดซอฟต์แวร์ของไทยในตลาดราชการซึ่งมีมูลค่า มหาศาล และในช่วงเริ่มต้นคาดว่ามูลค่าตลาดรวมของซอฟต์แวร์ไทยที่เข้าร่วมในปีแรกจะ มีประมาณ 300 ล้านบาท และจะขยายเติบโตมากขึ้นในปีต่อๆ ไป ดังนั้นตลาดกลุ่มราชการจึงเป็นกลุ่มหลักของซอฟต์แวร์ที่ SIPA ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนวงการเลยทีเดียว

นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์ค เปิดเผยว่า การเข้าสู่ระบบ G-SaaS ของซอฟต์แวร์ไทยจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการใหม่ แน่นอนอย่างแรกคือการปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์จากระบบเชิงเดี่ยวมาเป็นระบบ คลาวด์คอมพิวติ้ง และในแต่ละหมวดที่ EGA กำหนดมานั้นก็จะมีมาตรฐานที่แตกต่างกันไป เป็นเรื่องที่ ซอฟต์แวร์ไทยต้องทำการศึกษา ดังนั้นทั้งคลาวด์และมาตรฐานซอฟต์แวร์ในแต่ละหมวด ทางซอฟต์แวร์พาร์คต้องเร่งสร้างซอฟต์แวร์ไทยให้รองรับได้

แผนงานของซอฟต์แวร์พาร์คในโครงการนี้คือ การเร่งสร้างมาตรฐานของซอฟต์แวร์ทุกหมวด ร่วมกับ EGA และ SIPA ให้เป็นมาตรฐานกลางเพื่อที่จะทำให้ซอฟต์แวร์ทั้งรายเล็ก รายใหญ่สามารถนำไปอ้างอิงและพัฒนาต่อไปได้ทั้งหมด โดยซอฟต์แวร์จะนำผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านเข้าร่วม เพื่อทำให้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง

ต่อจากนั้นซอฟต์แวร์พาร์คจะเตรียมหลักสูตรและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับ คลาวด์คอมพิวติ้ง และการปรับมาตรฐานให้ตรงกับ G-SaaS ขึ้นมา และจะมีการจัดฝึกอบรมเพื่อสร้างบุคลากร ด้านนี้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนั้นซอฟต์แวร์พาร์คจะร่วมกับ EGA และ SIPA คัดเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม เข้าสู่ระบบ G-SaaS รวมถึงร่วมประเมินว่าซอฟต์แวร์นั้นๆ มีการเข้ากันกับระบบ และเหมาะสมต่อการใช้งานจริงหรือไม่ รวมถึงดูแลเรื่องความปลอดภัย และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ภาครัฐเกิดความพึงพอใจมากที่สุด ซึ่งหากรายใดไม่ผ่านเกณฑ์ทางซอฟต์แวร์พาร์คอาจเข้าร่วมประเมินและเข้าไปช่วย เรื่องการฝึกอบรมก่อน หากยังไม่ผ่านเกณฑ์ก็จำเป็นต้องคัดออกมาพัฒนาก่อน

ปัจจุบันซอฟต์แวร์พาร์คอยู่ระหว่างการแบ่งหมวดซอฟต์แวร์ที่อยู่ในการดูแลของ ซอฟต์แวร์พาร์ค โดยหมวดของราชการก็จะเป็นหมวดหนึ่งในด้านการส่งเสริม ซึ่งเท่ากับจะเป็นการเปิดโอกาสให้ซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ได้เข้าสู่ตลาดภาคราชการที่มีขนาดใหญ่ได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดตลาดใหม่ที่มีความต้องการใช้ซอฟต์แวร์จำนวนมากขึ้นมา

ภายใต้แนวคิดการเป็น Gateway to Global Market ของซอฟต์แวร์พาร์ค จะทำให้เกิดการ รวมตัวของซอฟต์แวร์ทางด้านราชการขึ้นมา โดยซอฟต์แวร์พาร์คจะทำการรวบรวม และสร้างฐานข้อมูลเชื่อมโยงโซลูชันระหว่างกัน รวมถึงการสร้างมาตรฐานเพื่อเกิดเป็นแพลตฟอร์มใหม่ในการช่วยเหลือด้านการตลาด ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ในการสร้างฐานกลุ่มผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านราชการให้เข้มแข็งขึ้น

ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/eGovernmentAgency/media_set?set=a.564780513560303.1073741865.100000850770441&type=3