แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569
ที่มาและความสำคัญ
ตามที่ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ.การบริหารงานฯ) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐมีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดทำบริการสาธารณะ รวมทั้งเพื่อการบูรณาการฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเข้าเป็นระบบข้อมูลเดียวกัน โดย พ.ร.บ. การบริหารงานฯ ได้กำหนดให้มีกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมอบหมายให้ สพร. ทำหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานและจัดทำร่างแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลตามแนวทางที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาประเทศ มีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ และมีกรอบการพัฒนาและแผนการดำเนินงานของประเทศ โดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามมาตรา 6 ยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับชาติที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์การจัดทำแผนงานบูรณาการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
- เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรมตามแนวทางของพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และ แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566-2570
- เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ในการสร้างระบบนิเวศน์ด้านรัฐบาลดิจิทัลเพื่อก้าวไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลโดยสมบูรณ์
- เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลแบบมีทิศทาง โดยมุ่งเน้นเรื่องการลดความซ้ำซ้อน การประหยัดงบประมาณ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม และเกิดบริการดิจิทัลที่ครอบคลุมการดำเนินชีวิตในทุกรูปแบบ
รูปแบบการบูรณาการภายใต้แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล
- การบูรณาการการทำงานของระบบ/ข้อมูล: ระบบที่ดำเนินการจะต้องมีการเชื่อมโยงระบบการทำงานหรือเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่นซึ่งหน่วยงานที่ร่วมดำเนินการอาจจะของบหรือไม่ของบบูรณาการมาดำเนินการก็ได้ (รวมถึงโครงการที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับทักษะดิจิทัลด้วยหลักสูตรกลางที่กำหนด หรือการพัฒนามาตรฐาน/แนวนโยบายกลาง)
- การบูรณาการการใช้งบประมาณ: การพัฒนาระบบ/การบริการกลางของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ มาใช้งานร่วมกัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
- การบูรณาการตามประเด็นทิศทางเทคโนโลยีหรือนโยบายรัฐบาลดิจิทัล (Agenda Base) : การพัฒนาระบบงาน หรือบริการดิจิทัลภาครัฐที่พัฒนาโดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent: AI) และโครงการที่ใช้เทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud Technology) สนับสนุนระบบงานหรือบริการของหน่วยงานภาครัฐ
แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 (เพิ่มเติม)
เป้าหมายที่ 1 (ต้นน้ำ) : ยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐให้ยืดหยุ่น คล่องตัว เพื่อการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Digital Government Transformation)
แนวทางที่ 1.1 การเตรียมความพร้อมพื้นฐานที่จำเป็น (Fundamental) เพื่อนำไปสู่การตอบโจทย์ความต้องการด้านดิจิทัลของประเทศอย่างยั่งยืน
แนวทางที่ 1.2 การจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐ
แนวทางที่ 1.3 การผลักดันหน่วยงานภาครัฐให้มีระดับบริการและการดำเนินงานตามนโยบาย Cloud First
เป้าหมายที่ 2 (กลางน้ำ): สนับสนุนการพัฒนาแพลตฟอร์มบริการพื้นฐาน หรือเครื่องมือดิจิทัลกลางภาครัฐ (Digital Common Platform)
แนวทางที่ 2.1 การพัฒนาเครื่องมือหรือแพลตฟอร์มกลางภาครัฐเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม
แนวทางที่ 2.2 การพัฒนาระบบงานดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent: AI)
เป้าหมายที่ 3 (ปลายน้ำ) (End-to-End Digital Data and Services via Digital Services Platform)
แนวทางที่ 3.1 การบูรณาการข้อมูลและบริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มบริการสำคัญ เพื่อการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลที่สอดคล้องกับตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหรือด้านสำคัญอื่นๆ ที่สนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
แนวทางที่ 3.2 การเพิ่มประสิทธิภาพบริการดิจิทัลภาครัฐเพื่อให้บริการประชาชนโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent: AI)
สพร. ได้จัดการประชุมชี้แจง (ร่าง) แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 เพิ่มเติม (ครั้งที่ 2/2567) ตามคำแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของนายกรัฐมนตรี (นางสาวแพทองธาร ชินวัตร) เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 ที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนผ่านราชการไทยไปสู่ราชการทันสมัยในระบบดิจิทัล (Digital Government) โดยผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent: AI) เพื่อลดกระบวนการทำงานหรือย่อระยะเวลาการปฏิบัติงาน อันจะนำไปสู่การให้บริการประชาชนที่สะดวกรวดเร็วขึ้น โดยจัดประชุมชี้แจงเพิ่มเติมในแนวทางที่ 2.2 และ 3.2 เมื่อวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2567 เวลา 08.30 – 11.00 น. ผ่านระบบออนไลน์ (MS Teams) เพื่อให้หน่วยงานมีความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการเสนอโครงการภายใต้แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัลเพื่อให้การขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลบรรลุตามเป้าหมาย
สำหรับหน่วยงานที่มีความประสงค์ในการยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อข้อรับการสนับสนุนงบประมาณภายใต้ (ร่าง) แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ท่านสามารถจัดส่งรายละเอียดโครงการได้ที่ ส่วนงบประมาณบูรณาการ ติดตามและประเมินผล อีเมล [email protected] ได้ตั้งแต่วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน ถึง วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2567
คลิกเพื่อรับชมการประชุมชี้แจง (ร่าง) แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 และแนวทางการจัดทำคำของบประมาณโครงการภายใต้ (ร่าง) แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ครั้งที่ 2/2567 (ชี้แจงเพิ่มเติม)
ช่องทางการติดต่อ : ส่วนงบประมาณบูรณาการ ติดตามและประเมินผล ฝ่ายขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลดิจิทัล สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
นางอมิตดา สว่างศรี โทร. 08-0045-3023
นางสาวโสภิต ศิลปเจริญ โทร. 08-0045-3385
นางสาวพัชราภา ตรีเนตร โทร. 08-0045-3102
นางวรรณิศา ประฤดาวรรณ โทร. 08-0045-3389
นางสาวปิยะชนก ทิยะมุข โทร. 08-0045-3299
นางสาววันชนก คงปลอด โทร. 08-0045-3142
อีเมล: [email protected] สารบรรณกลาง: [email protected]
Open chat งบบูรฯ 69
รวมเอกสารประกอบการประชุม
ที่มาและความสำคัญ
ตามที่ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ.การบริหารงานฯ) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐมีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดทำบริการสาธารณะ รวมทั้งเพื่อการบูรณาการฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเข้าเป็นระบบข้อมูลเดียวกัน โดย พ.ร.บ. การบริหารงานฯ ได้กำหนดให้มีกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมอบหมายให้ สพร. ทำหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานและจัดทำร่างแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลตามแนวทางที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด เพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาประเทศ มีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ และมีกรอบการพัฒนาและแผนการดำเนินงานของประเทศ โดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามมาตรา 6 ยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับชาติที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์การจัดทำแผนงานบูรณาการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
- เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรมตามแนวทางของพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และ แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566-2570
- เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ในการสร้างระบบนิเวศน์ด้านรัฐบาลดิจิทัลเพื่อก้าวไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลโดยสมบูรณ์
- เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลแบบมีทิศทาง โดยมุ่งเน้นเรื่องการลดความซ้ำซ้อน การประหยัดงบประมาณ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม และเกิดบริการดิจิทัลที่ครอบคลุมการดำเนินชีวิตในทุกรูปแบบ
รูปแบบการบูรณาการภายใต้แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล
- การบูรณาการการทำงานของระบบ/ข้อมูล: ระบบที่ดำเนินการจะต้องมีการเชื่อมโยงระบบการทำงานหรือเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่นซึ่งหน่วยงานที่ร่วมดำเนินการอาจจะของบหรือไม่ของบบูรณาการมาดำเนินการก็ได้ (รวมถึงโครงการที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับทักษะดิจิทัลด้วยหลักสูตรกลางที่กำหนด หรือการพัฒนามาตรฐาน/แนวนโยบายกลาง)
- การบูรณาการการใช้งบประมาณ: การพัฒนาระบบ/การบริการกลางของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเพื่อให้หน่วยงานต่างๆ มาใช้งานร่วมกัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569
เป้าหมายที่ 1 (ต้นน้ำ) : ยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐให้ยืดหยุ่น คล่องตัว เพื่อการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Digital Government Transformation)
แนวทางที่ 1.1 การเตรียมความพร้อมพื้นฐานที่จำเป็น (Fundamental) เพื่อนำไปสู่การตอบโจทย์ความต้องการด้านดิจิทัลของประเทศอย่างยั่งยืน
แนวทางที่ 1.2 การจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐ
แนวทางที่ 1.3 การผลักดันหน่วยงานภาครัฐให้มีระดับบริการและการดำเนินงานตามนโยบาย Cloud First
เป้าหมายที่ 2 (กลางน้ำ) (Digital Common Platform)
แนวทางที่ 2 การพัฒนาเครื่องมือหรือแพลตฟอร์มกลางภาครัฐเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม
เป้าหมายที่ 3 (ปลายน้ำ) (End-to-End Digital Data and Services via Digital Services Platform)
แนวทางที่ 3 การบูรณาการข้อมูลและบริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มบริการสำคัญ เพื่อการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลที่สอดคล้องกับตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหรือด้านสำคัญอื่นๆ ที่สนับสนุนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ในการเตรียมจัดทำแผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 สพร. จึงได้จัดการประชุมชี้แจง (ร่าง) แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 และแนวทางการจัดทำคำของบประมาณโครงการภายใต้ (ร่าง) แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล เมื่อวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. ผ่านการประชุมออนไลน์ระบบ MS Teams เพื่อให้หน่วยงานมีความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการเสนอโครงการภายใต้แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัลเพื่อให้การขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลบรรลุตามเป้าหมาย
สำหรับหน่วยงานที่มีความประสงค์ในการยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อข้อรับการสนับสนุนงบประมาณภายใต้ (ร่าง) แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ท่านสามารถจัดส่งรายละเอียดโครงการได้ที่ ส่วนงบประมาณบูรณาการ ติดตามและประเมินผล อีเมล [email protected] ได้ตั้งแต่วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน ถึง วันพุธที่ 18 ธันวาคม 2567
คลิกเพื่อรับชมการประชุมชี้แจง (ร่าง) แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 และแนวทางการจัดทำคำของบประมาณโครงการภายใต้ (ร่าง) แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล
- เอกสารนำเสนอภาพรวม
- เอกสารนำเสนอจากสำนักงบประมาณ
- เอกสารนำเสนอแนวทางที่ 1.1 (โครงการอบรม)
- เอกสารนำเสนอแนวทางที่ 1.3 (Cloud First Policy)
- แบบฟอร์มใบคำขอ แนวทางที่ 1
- แบบฟอร์ม DGA-1 Digital Skill
- คู่มือประกอบการของบประมาณภายใต้แนวทางที่ 1.1
- แบบฟอร์มใบคำขอ แนวทางที่ 2
- แบบฟอร์มใบคำขอ แนวทางที่ 3
- แบบฟอร์มใบคำขอ แนวทางที่ 2
- แบบฟอร์มใบคำขอ แนวทางที่ 3
ช่องทางการติดต่อ : ส่วนงบประมาณบูรณาการ ติดตามและประเมินผล ฝ่ายขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลดิจิทัล สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
นางอมิตดา สว่างศรี โทร. 08-0045-3023
นางสาวโสภิต ศิลปเจริญ โทร. 08-0045-3385
นางสาวพัชราภา ตรีเนตร โทร. 08-0045-3102
นางวรรณิศา ประฤดาวรรณ โทร. 08-0045-3389
นางสาวปิยะชนก ทิยะมุข โทร. 08-0045-3299
นางสาววันชนก คงปลอด โทร. 08-0045-3142
อีเมล: [email protected] สารบรรณกลาง: [email protected]
Group Line งบบูรฯ 69
รวมเอกสารประกอบการประชุม