แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ปีงบประมาณ พ.ศ.2566


1 December 2565
1548

ที่มาและความสำคัญ 

ตามที่ พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 (พ.ร.บ.การบริหารงานฯ) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐมีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการจัดทำบริการสาธารณะ รวมทั้งเพื่อการบูรณาการฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานเข้าเป็นระบบข้อมูลเดียวกัน โดย พ.ร.บ. การบริหารงานฯ ได้กำหนดให้มีกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมอบหมายให้ สพร. ทำหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานและจัดทำร่างแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลตามแนวทางที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลกำหนด โดยแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาประเทศ มีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ และมีกรอบการพัฒนาและแผนการดำเนินงานของประเทศ โดยสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามมาตรา 4 ยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับชาติที่เกี่ยวข้องนั้น 

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เห็นชอบแนวทางแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนั้น ในการจัดทำแผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) จึงได้เตรียมดำเนินการเพื่อให้การพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เชื่อมโยงในลักษณะบูรณาการ และสอดคล้องกับทิศทางนโยบายของรัฐบาล พร้อมสอดรับกับบริบทการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อันจะส่งให้ผลเกิดกลไกการขับเคลื่อนประเทศให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์การจัดทำแผนงานบูรณาการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

  1. เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรมตามแนวทางของพระราชบัญญัติการบริการงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย
  2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ
  3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ลดความซ้ำซ้อนในการพิจารณางบประมาณ และพัฒนาการทำงานและบริการภาครัฐได้อย่างเท่าทันเทคโนโลยี

ขอบเขตการดำเนินงานของแผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล

กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ได้รับประโยชน์ :  ประชาชนทั่วไป ภาคเอกชน  ผู้ประกอบการและ

หน่วยงานภาครัฐ โดยหน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่า

ผลสัมฤทธิ์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. การเพิ่มขีดความสามารถบุคลากรภาครัฐให้พร้อมรองรับการเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Skills)
  2. การสนับสนุนการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางหรือโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลกลางภาครัฐ (Digital Common Platform)
  3. การบูรณาการข้อมูลและบริการภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล ผ่านแพลตฟอร์มบริการแบบเบ็ดเสร็จเพื่อตอบสนองตามความต้องการของผู้ใช้บริการ (End-to-End Digital Data and Services via Digital Service Platform)

ในการเตรียมจัดทำแผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สพร. จึงได้จัดการประชุมชี้แจง (ร่าง) แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และแนวทางการจัดทำคำของบประมาณโครงการภายใต้ (ร่าง) แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัลวันอังคารที่ 7 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30 – 16.00 น. ผ่านการประชุมออนไลน์ระบบ MS Teams เพื่อให้หน่วยงานมีความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในการเสนอโครงการภายใต้แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัลเพื่อให้การขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลบรรลุตามเป้าหมาย หากหน่วยงานมีความประสงค์จะยื่นเสนอคำของบประมาณจะต้องดำเนินการ จัดทำคำของบประมาณในแบบฟอร์ม (document file) ที่ สพร. ได้จัดเตรียม พร้อมให้ผู้บริหารสูงสุดลงนาม ส่งมายัง [email protected] เพื่อเป็นเอกสารหลักฐานทางการในการเสนอของบประมาณ ตามแนวทางที่ สพร. ได้ชี้แจงในวันประชุม

คลิกเพื่อรับชมแนวทางการจัดทำคำของบประมาณโครงการ ตามแผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA โดย นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการ DGA และ นายชรินทร์ ธีรฐิตยางกูร ผู้อำนวยการฝ่ายขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลดิจิทัล DGA จัดอบรมผ่านระบบประชุม Online เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2565 ในหัวข้อ ‘แนวทางการปฏิบัติงาน เรื่อง การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ให้กับหน่วยงานที่ดำเนินโครงการภายใต้แผนงานบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566’ ขึ้นในฐานะเจ้าภาพแผนฯ เพื่อให้หน่วยงานรับงบประมาณภายใต้แผนงานนั้นสามารถดำเนินงานได้ราบรื่นไม่มีสะดุด และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานต่างๆ เข้าใจถึงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งมีขั้นตอนรายละเอียดสำคัญๆ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการด้วย ทั้งนี้มีหน่วยงานและผู้สนใจเข้าร่วมอบรมจำนวน 24 หน่วยงาน ประมาณ 150 คน

เอกสารแนบ

1
2
3
4
5
6
7