บริการสื่อสารพร้อมอุปกรณ์เชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย
Digital Government Link (DG-Link)


12 December 2567
1254
ความแตกต่างระหว่างโครงข่าย GIN เทคโนโลยีเดิมกับ DG-Link
บริการสื่อสารพร้อมอุปกรณ์เชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย Digital Government Link (DG-Link)

เครือข่าย DG-Link เป็นบริการระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางของภาครัฐที่เชื่อมโยงหน่วยงานของรัฐเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นบริการโครงสร้างพื้นฐานวงจรสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูง มีความรวดเร็วในการใช้งานเครือข่ายทั้งรูปอินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ต (Intranet & Internet) ที่มีความพร้อมใช้งานสูง รวมถึงมีความมั่นคงปลอดภัยระดับสูง ในการสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานภาครัฐให้เชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลรวมถึงใช้งานระบบบริการ Common Services ของรัฐรวมถึงให้บริการกับภาคประชาชนให้สามารถใช้งานได้มีอย่างประสิทธิภาพต่อเนื่องมีความมั่นคงปลอดภัยซึ่งมีความรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม และประหยัดงบประมาณ ด้วยเทคโนโลยีรุ่นใหม่ที่ทันสมัย

โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) หรือ DGA กำหนดกรอบการให้บริการกับหน่วยงานในช่วงแรกที่เกี่ยวข้องกับ Agenda Base หน่วยงานที่เป็นระดับเจ้าของฐานข้อมูลในการเชื่อมโยง หน่วยงานที่ให้บริการ Common Services ภาครัฐรวมถึงประชาชน หน่วยงานภารกิจพิเศษ หน่วยงานด้านความมั่นคง หน่วยงานระดับกระทรวง และศาลาว่ากลางจังหวัดทุกจังหวัด ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การให้บริการของโครงการ GIN เดิม โดยจะสอดคล้องกับแผนการให้บริการของ สพร. ที่ได้รับจากคณะทำงานกำหนดกรอบการให้บริการดิจิทัลภาครัฐ หรือ Digital Government Service (DGS) หน่วยงานเหล่านี้ จะเป็นหน่วยงานที่ยังคงอยู่ภายใต้การให้บริการของ สพร.และรูปแบบการให้บริการและสถาปัตยกรรมได้มีการปรับเปลี่ยนจากเดิม เพื่อให้มีประสิทธิภาพและมีความมั่นคงปลอดภัย

ที่มา

เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการตามภารกิจของ สพร. ในการให้บริการระบบเครือข่ายภาครัฐโดยเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับเชื่อมโยงระบบงานและข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐ เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลสำหรับการดำเนินการภายในของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงการให้บริการกับประชาชน และสอดคล้องกับแผนการให้บริการของ สพร. ด้วยเทคโนโลยีรุ่นใหม่ทันสมัย ในระยะยาวตามกรอบที่ได้จากคณะทำงานกำหนดกรอบการให้บริการดิจิทัลภาครัฐ หรือ Digital Government Services (DGS) ดังนั้น รูปแบบและสถาปัตยกรรมการให้บริการระบบเครือข่ายจึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนโดยใช้เทคโนโลยี SD-WAN (Software Defined WAN) เข้ามาเป็นองค์ประกอบหลัก โดย สพร. จะเป็นหน่วยงานที่ควบคุม SD-WAN Orchestrator เพื่อบริหารจัดการ Policy ต่าง ๆ ที่จะถูกออกแบบให้หน่วยงานรัฐที่ใช้บริการ สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความมั่นคงปลอดภัย

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนา ปรับปรุง และขยายระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางให้ครอบคลุมส่วนราชการต่างๆ ให้เป็นเส้นทางหลักในการเชื่อมโยงรับ-ส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เป็นระดับเจ้าของฐานข้อมูลในการเชื่อมโยง หน่วยงานที่ให้บริการ Common Services ภาครัฐรวมถึงประชาชน หน่วยงานภารกิจพิเศษ หน่วยงานด้านความมั่นคง หน่วยงานระดับกระทรวง และศาลาว่ากลางจังหวัดทุกจังหวัด
  2. เพื่อบูรณาการเครือข่ายสื่อสารข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันให้สามารถเชื่อมโยง ถึงกันเป็นเครือข่ายสื่อสารภายในของหน่วยงานภาครัฐ (Government Intranet) ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างมั่นคงปลอดภัย หรือการเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มหรือระบบที่มีความสำคัญของหน่วยงานรัฐสนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐเกิดการบูรณาการข้อมูล และการทำงานได้อย่างเป็นรูปธรรม สะดวก รวดเร็ว และมีความมั่นคงปลอดภัยสูง
  3. สร้างความร่วมมือระหว่างส่วนราชการต่างๆ ในการพัฒนาหรือนำระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน (Common Services) ของหน่วยงานให้บริการผ่านเครือข่าย DG-Link เพื่อลดระยะเวลา ลดต้นทุนต่อหน่วย และลดความซ้ำซ้อนในการใช้งบประมาณด้านเครือข่ายในภาครัฐ
  4. เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับการให้บริการกลางภาครัฐที่สำคัญ และเป็นบริการกลางที่ให้บริการประชาชนเกี่ยวกับรัฐบาลดิจิทัล
  5. เป็นวงจรสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันภายในวงจำกัดเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ (Intranet) ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างมั่นคงปลอดภัย หรือการเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มหรือระบบที่มีความสำคัญของหน่วยงานรัฐ

** ไม่มีค่าใช้จ่าย **

รูปแบบการให้บริการเครือข่าย DG-Link สำหรับหน่วยงาน มี 3 รูปแบบ

บริการสื่อสารพร้อมอุปกรณ์เชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย Digital Government Link (DG-Link)

รูปแบบ Non-HA, รูปแบบ HA  (Extra Large Size)

บริการสื่อสารพร้อมอุปกรณ์เชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย Digital Government Link (DG-Link)

รูปแบบ Non-HA, รูปแบบ HA  (Large Size)

บริการสื่อสารพร้อมอุปกรณ์เชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย Digital Government Link (DG-Link)

รูปแบบ Non-HA, รูปแบบ HA  (Small Size)

ความแตกต่างระหว่างโครงข่าย GIN เทคโนโลยีเดิมกับ DG-Link

บริการสื่อสารพร้อมอุปกรณ์เชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย Digital Government Link (DG-Link)
บริการสื่อสารพร้อมอุปกรณ์เชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย Digital Government Link (DG-Link)
บริการสื่อสารพร้อมอุปกรณ์เชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย Digital Government Link (DG-Link)

การเชื่อมต่อระหว่างโครงข่าย DG-Link กับ GIN เทคโนโลยีเดิม

สามารถติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้งานระบบบริการ Common Services ภาครัฐรวมถึงให้บริการกับประชาชนสื่อสารระหว่างกันได้เป็นปกติ โดยผ่านอุปกรณ์เชื่อมโยงโครงข่าย Government Intranet Exchange : GIX ของ สพร.

ความแตกต่างระหว่างโครงข่าย GIN เทคโนโลยีเดิมกับ DG-Link

แนวทางการบูรณาการและพัฒนา DG-Link

  1. พัฒนา ปรับปรุง ขยาย และบูรณาการเครือข่ายให้ครอบคลุมส่วนราชการต่างๆ เพื่อเป็นเส้นทางหลักในการเชื่อมโยงรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยงานในระดับที่เกี่ยวข้องกับ Agenda Base หน่วยงานที่เป็นระดับเจ้าของฐานข้อมูลในการเชื่อมโยง หน่วยงานที่ให้บริการ Common Services ภาครัฐรวมถึงประชาชน หน่วยงานภารกิจพิเศษ หน่วยงานด้านความมั่นคง กระทรวง กรม กอง และสำนักงานสาขาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมถึงศาลากลางจังหวัดทั่วประเทศ
  2. บูรณาการเครือข่ายสื่อสารข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันให้สามารถเชื่อมโยงถึงกันเป็นเครือข่ายสื่อสารภายในของหน่วยงานภาครัฐ (Government Intranet/Internet) ที่รองรับระบบงานและบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ Common Services ที่สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐเกิดการบูรณาการข้อมูลและการทำงานได้อย่างเป็นรูปธรรม สะดวก รวดเร็ว และมีความมั่นคงปลอดภัยสูง
  3. สร้างความร่วมมือระหว่างส่วนราชการต่างๆ ในการพัฒนาหรือนำระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน (Common Services) ให้บริการผ่านเครือข่าย DG-Link เพื่อลดระยะเวลาและลดความซ้ำซ้อนในการใช้งบประมาณด้านเครือข่ายของภาครัฐ โดยมีลักษณะการดำเนินงานดังนี้
  • เพื่อรองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐตามภารกิจเฉพาะด้าน เช่น ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง
  • เพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลภายในหน่วยงานใน 3 ลักษณะ ได้แก่
    1. เชื่อมโยงระหว่างกรมภายใต้กระทรวง
    2. เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภายใต้กรม
    3. เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค (จังหวัด)
  1. ยกระดับคุณภาพด้านความมั่นคงปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีความพร้อมในงานสูงรวมถึงเพิ่มความเร็วของเส้นทางวงจรสื่อสารในการใช้งานที่รวดเร็วและมีคุณภาพมากกว่าเดิม ผ่านโครงข่ายสื่อสารเครือข่าย DG-Link ทั้งอินทราเน็ตและอินเทอร์เน็ต สำหรับการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐที่สำคัญ

พัฒนาบุคลากรหน่วยงานภาครัฐให้สามารถใช้งานเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบูรณาการเชื่อมโยงเพื่อใช้ประโยชน์จากเครือข่าย DG-Link

การให้บริการ

  1. ยกระดับประสิทธิภาพเครือข่ายให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานภาครัฐที่เพิ่มขึ้น
  2. ให้คำปรึกษาเพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายเดิมกับเครือข่าย DG-Link
  3. อบรมให้ความรู้การใช้งานเครือข่าย DG-Link
  4. บริการเครือข่ายหลักทั้งวงจรหลักและวงจรสำรอง
  5. เฝ้าระวังรักษาความปลอดภัยพร้อมเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง
  6. หน่วยงานในระดับผู้ใช้งาน (End Point) มีระดับ SLA
  • NON-HA = 99.50%
  • HA = 99.90%

ข้อตกลงและเงื่อนไขการให้บริการ DG-Link (ในระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่านบริการจาก GIN เดิม มาเป็นบริการ DG-Link)

การให้บริการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับAgenda Base หน่วยงานที่เป็นระดับเจ้าของฐานข้อมูลในการเชื่อมโยง หน่วยงานที่ให้บริการ Common Services ภาครัฐรวมถึงประชาชน หน่วยงานภารกิจพิเศษ หน่วยงานด้านความมั่นคง หน่วยงานระดับกระทรวง และศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด

บริการสื่อสารพร้อมอุปกรณ์เชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย Digital Government Link (DG-Link)

ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

DGA Contact Center ☎️ 026126060 หรือ 📨 [email protected]