โครงการประกวดนวัตกรรม “ท้องถิ่นดิจิทัล” ประจำปี 2566
ท่ามกลางการความผันผวนของโลกาภิวัตน์ ปัญหาด้านเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์และสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญของการปรับตัวในหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ของประเทศไทยให้ปรับวิธีคิดและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการประชาชนและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ มุ่งสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัลให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐที่ยึดหลัก “ ภาครัฐของประชาชน เพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม ” โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาท ภารกิจ แยกแยะบทบาทหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับหรือในการให้บริการยึดหลักธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการทำงานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม มีความทันสมัย และพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบการทำงานที่เป็นดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า และปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล รวมทั้งมีลักษณะเปิดกว้าง เชื่อมโยงถึงกัน และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต ความมัธยัสถ์ และสร้างจิตสำนึกในการปฏิเสธไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้น กฎหมายต้องมีความชัดเจน มีเพียงเท่าที่จำเป็น มีความทันสมัย มีความเป็นสากล มีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำและเอื้อต่อการพัฒนา โดยกระบวนการยุติธรรมมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และการอำนวยความยุติธรรมตามหลักนิติธรรม และตอบโจทย์ของยุทธศาสตร์ที่ 4 ของนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะที่ 2-3 Digital Thailand : Inclusion and Full Transformation ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2566 – 2570 และ แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ปี พ.ศ 2566-2570 ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อการบริหารงานที่มีความยืดหยุ่น คล่องตัวและขยายสู่หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น และพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2565 ที่เน้นย้ำการอำนวยความสะดวกของประชาชนเพิ่มช่องทางออนไลน์ในการติดต่อราชการ เพื่อผลักดันและสนับสนุนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล สร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การค้นคว้าและการวิจัยองค์ความรู้ในการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องและเพิ่ม ประสิทธิภาพของขีดความสามารถในการให้บริการของภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล
โครงการประกวดนวัตกรรม “ท้องถิ่นดิจิทัล” ประจำปี 2566 ภายใต้การดำเนินการของศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาครัฐ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. จึงเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวที่มุ่งเน้นไปยังพื้นที่ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเสมือนเครื่องมือที่จะช่วยยืนยันถึงศักยภาพผลงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ ที่มีความสามารถในการดำเนินการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลที่มีการให้บริการจริง ช่วยพัฒนาคุณภาพการให้บริการที่ดีขึ้น และสามารถเป็นต้นแบบให้กับหน่วยงาน อปท. อื่น ๆ เพื่อผลักดันให้เกิดการนำเครื่องมือพร้อมใช้ต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้งานไปพร้อม ๆ กัน และที่สำคัญเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้หน่วยงานทุกระดับปรับตัวตามเกณฑ์ของความเป็นรัฐบาลดิจิทัลได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ในปี พ.ศ.2566 เป็นปีที่ 3 ของโครงการฯ โดยในปีที่ผ่านมามีหน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่นให้ความสนใจจำนวนมาก และร่วมส่งผลงานนวัตกรรมท้องถิ่นดิจิทัลในการบริหารและให้บริการประชาชนเข้ามานำเสนอและสามารถที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่า 100 ผลงาน ที่สำคัญในส่วนของหน่วยงานที่ได้รับรางวัล “ยอดเยี่ยม” จะยังได้รับเกียรติรับรางวัลสมทบรัฐบาลดิจิทัล หรือ DG Awards หมวดท้องถิ่นดิจิทัล อีกจำนวน 3 รางวัล โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากลั่นกรองและคัดเลือกผลงานของหน่วยงาน อปท. ทั่วประเทศ เพื่อมอบรางวัลดังกล่าวให้เป็นขวัญกำลังใจและเป็นตัวอย่างกับหน่วยงานอื่น ๆ ในปีถัดไป เพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมของเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับภาครัฐไทย โดย สพร. และหน่วยงานพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง พร้อมสนับสนุนให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะสำหรับแผนดำเนินการที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือและผลักดันการพัฒนาโครงการนวัตกรรมต่าง ๆ ของภาครัฐ ให้บรรลุผลสำเร็จอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
- เพื่อเฟ้นหาและคัดเลือกตัวแทนจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามเกณฑ์การพิจารณา ที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานและให้บริการประชาชนในท้องถิ่น โดยยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชน เพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม” และประสบความสำเร็จในมุมมองของประชาชนในพื้นที่ที่ได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง
- เพื่อสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนมุมมอง และถ่ายทอดประสบการณ์ความสำเร็จให้หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ เรียนรู้และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือปรับใช้งานในพื้นที่ คาดหวังว่าโครงการจะก่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง ภาคประชาชนและหน่วยงานพันธมิตรจากทุกภาคส่วนในพื้นที่อย่างยั่งยืน
คุณสมบัติของผลงานที่ส่งเข้าประกวด
- เป็นผลงานนวัตกรรมที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการทำงานของภาครัฐเท่านั้น
- เป็นผลงาน/โครงการที่เริ่มใช้งานจริง ไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับถึงวันสิ้นสุดการรับสมัคร หรือ เริ่มใช้งานจริงก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
- หน่วยงานผู้ส่งผลงานนวัตกรรมดิจิทัลเข้าประกวด ต้องเป็นหน่วยงานราชการในรูปแบบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เท่านั้น
- ไม่เป็นผลงาน/โครงการที่เคยได้รับรางวัลของโครงการประกวดนวัตกรรม “ท้องถิ่นดิจิทัล” ประจำปี 2564 และ 2565
เกณฑ์การพิจารณา | สัดส่วนคะแนน |
หมวดที่ 1 ปัญหา | |
1. ปัญหา (Pain point) และกระบวนการที่ทำให้ทราบถึงปัญหา จนเป็นที่มาของการพัฒนาผลงานที่ส่งเข้าประกวดสอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่อย่างไร โดยสามารถระบุวัตถุประสงค์ของผลงานได้อย่างชัดเจน | 15 |
หมวดที่ 2 นโยบายและแผนงาน | |
2. นโยบายหรือแผน ตลอดจนวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการทำงานหรือให้บริการประชาชน แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่อย่างแท้จริง | 10 |
หมวดที่ 3 กระบวนการทำงาน | |
3. ลักษณะของ ผลงาน/โครงการ นวัตกรรมดิจิทัลที่ส่งเข้าประกวด ความริเริ่มสร้างสรรค์ของผลงาน/โครงการ รูปแบบการพัฒนาผลงาน/โครงการ และผู้ร่วมพัฒนา | 25 |
4. การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ และเข้าถึงบริการ การมีส่วนร่วมของประชาชนและการเปิดเผยหรือเผยแพร่ข้อมูลที่จำเป็นเหมาะสมต่อการรับรู้ของประชาชน | 10 |
หมวดที่ 4 ผลลัพธ์การพัฒนาต่อยอดเป็นรูปธรรม | |
5. เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของ ผลงาน/โครงการ ที่ส่งเข้าประกวด ความสำเร็จของผลงาน/โครงการ | 15 |
6. การมีส่วนร่วม และ/หรือผลตอบรับจากการใช้งานจริง กับภาคประชาชน และ บุคคลากรขององค์กร อย่างเหมาะสมเพียงใด | 15 |
7. แนวทางในการปรับปรุงหรือพัฒนาต่อยอดในอนาคต (Roadmap) มีความยั่งยืน ชัดเจน และเป็นไปได้ | 10 |
รวม | 100 |
* ผู้จัดประกวดขอสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลียน/เพิ่ม/ลด เกณฑ์การพิจารณาเพื่อความเหมาะสมต่อการพิจารณาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
ขั้นตอนการส่งผลงานเข้าประกวด
- ดาวน์โหลด คำแนะนำในการให้ข้อมูล (File: guide.docx) , ใบส่งผลงานนวัตกรรมดิจิทัลเข้าประกวด (File: submission form.docx)
- ทางผู้จัดการประกวดได้จัดทำ PowerPoint Template หรือ คลิปวิดีโอ ที่ประกอบด้วยหัวข้อที่คณะกรรมการตัดสินใช้พิจารณา ผู้เข้าประกวดสามารถดาวน์โหลดและใช้ Template ในการให้ข้อมูลผลงานนวัตกรรมดิจิทัลของหน่วยงานท่านที่ต้องการส่งเข้าประกวด หรือท่านอาจใช้ PowerPoint Template อื่น ๆ ที่ท่านจัดทำขึ้นในการให้ข้อมูลของโครงการได้ โดยเนื้อหาควรครอบคลุมหัวข้อที่ระบุไว้ในคำแนะนำในการให้ข้อมูลเป็นอย่างน้อย
- กรอกข้อมูลและใส่เครื่องหมายถูก ในช่องสี่เหลี่ยม เพื่อยอมรับเงื่อนไขของการส่งผลงานเข้าประกวดใน ใบส่งผลงานนวัตกรรมดิจิทัลเข้าประกวด พร้อมลงลายมือชื่อ สแกนใบส่งผลงานนวัตกรรมดิจิทัลเข้าประกวด ที่ได้กรอกและลงชื่อพร้อมประทับตราแล้ว ในรูปแบบ ชื่อหน่วยงาน_form1.pdf หรือ ชื่อหน่วยงาน_form1.jpg
- ท่านสามารถส่งผลงานเข้าประกวดรางวัลท้องถิ่นดิจิทัลประจำปี 2566 ได้ที่อีเมล [email protected] เท่านั้น
- กรอกรายละเอียดภายในอีเมล ดังนี้
ชื่อหัวข้ออีเมล : ขอนำส่งผลงานประกวดท้องถิ่นดิจิทัล <ชื่อหน่วยงานของท่าน>
รายละเอียดภายในอีเมล
หน่วยงาน :
อำเภอ :
ภูมิภาค :
จังหวัด :
ชื่อโครงการ :
ชื่อ-นามสกุลผู้ประสาน :
เบอร์โทร :
อีเมล :
ตำแหน่ง :
ชื่อ-นามสกุลที่ปรึกษา: - แนบไฟล์ ใบส่งผลงานนวัตกรรมดิจิทัลเข้าประกวด และ Template ผลงานของท่าน และกดส่งผลงาน
- หลังจากนั้น ท่านจะได้รับอีเมลยืนยันการส่งผลงานภายใน 1 วันทำการ
กำหนดส่งผลงาน
ส่งผลงานได้ที่อีเมล [email protected] จะเปิดรับสมัครผลงานวันนี้ จนถึง วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2566
ติดต่อสอบถาม
หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการส่งผลงานเข้าประกวด สามารถสอบถามได้ที่ 02-6126060
ประกาศผลรายชื่อหน่วยงานที่ได้รางวัล โครงการประกวดนวัตกรรม “ท้องถิ่นดิจิทัล” ประจำปี 2566
รางวัลท้องถิ่นดิจิทัลประเภทยอดเยี่ยม 2 รางวัล ได้แก่
หน่วยงาน | จังหวัด | ผลงานนวัตกรรมท้องถิ่นดิจิทัล |
เทศบาลนครยะลา | จังหวัดยะลา | Big Data เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการ |
เทศบาลตำบลครึ่ง | จังหวัดเชียงราย | โครงการบริหารจัดการขยะแบบบูรณาการ บนพื้นฐานดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน (แอพพลิเคชั่นถังเงิน ถังทอง) |
รางวัลท้องถิ่นดิจิทัลประเภทดีเด่น 18 รางวัล ได้แก่
หน่วยงาน | จังหวัด | ผลงานนวัตกรรมท้องถิ่นดิจิทัล |
เทศบาลนครพิษณุโลก | จังหวัดพิษณุโลก | แพลตฟอร์ม SMART PRAPA ทางเลือกใหม่ของการให้บริการ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย |
เทศบาลนครรังสิต | จังหวัดปทุมธานี | โครงการระบบบริหารจัดการคลองรังสิตประยูรศักดิ์เพื่อชาวนครรังสิตอย่างยั่งยืน |
เทศบาลเมืองตาคลี | จังหวัดนครสวรรค์ | การพัฒนาระบบบริการประชาชนในรูปแบบ |
เทศบาลเมืองพิจิตร | จังหวัดพิจิตร | โครงการเครือข่ายการดูแลสุขภาพประชาชนผ่านระบบบริการช่วยเหลือทางโทรศัพท์ (Smart Help Care Service) |
เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร | จังหวัดอุบลราชธานี | การส่งเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเปราะบาง ด้วยระบบ“เมืองพิบูล ยิ้มกว้างอย่างเป็นสุข”(Phibun Big Smile Healthy Care System) |
เทศบาลเมืองแม่เหียะ | จังหวัดเชียงใหม่ | การบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการพัฒนารายได้ |
เทศบาลตำบลเขตรอุดมศักดิ์ | จังหวัดชลบุรี | การจัดการเสียภาษีออนไลน์ |
เทศบาลตำบลทับมา | จังหวัดระยอง | โครงการเพิ่มศักยภาพ และพัฒนาแอปพลิเคชั่น (Application) |
เทศบาลตำบลนิคมพัฒนา | จังหวัดระยอง | ระบบชำระค่าธรรมเนียมขยะ |
เทศบาลตำบลโนนสะอาด | จังหวัดหนองบัวลำภู | นวัตกรรมโนนสะอาดเทศบาลตำบลอัจฉริยะ Smart municipal district |
เทศบาลตำบลบางเสร่ | จังหวัดชลบุรี | B-Buddy Bangsaray |
เทศบาลตำบลบ้านกลาง | จังหวัดลำพูน | ศูนย์ดิจิทัลบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ONE STOP SERVICE เทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน |
เทศบาลตำบลบวกค้าง | จังหวัดเชียงใหม่ | Buakkhang E-Service |
เทศบาลตำบลอุโมงค์ | จังหวัดลำพูน | โครงการระบบบริหารจัดการงานสวัสดิการสังคม ตำบลอุโมงค์ (UMONG e-social welfare system) |
เทศบาลตำบลอุโมงค์ | จังหวัดลำพูน | โครงการห้องเรียนอัจฉริยะ โรงเรียนเทศบาลอุโมงค์ 1 |
องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์ | จังหวัดนครสวรรค์ | โครงการพัฒนาและยกระดับการให้บริการประชาชน (E-Service) |
องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ | จังหวัดฉะเชิงเทรา | การจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) |
องค์การบริหารส่วนตำบลสิงหนาท | จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | ระบบบริการประชาชนออนไลน์ E-Service |