4 ยุทธศาสตร์ปลดล็อกประเทศจาก Analog สู่ Digital


5 May 2564
1920
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย

4 ยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนไทย สู่รัฐบาลดิจิทัล

ตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล พ.ศ. 2563-2565

แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การยกระดับคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

ด้วยการปรับเปลี่ยนบริการภาครัฐที่สำคัญเป็นรูปแบบดิจิทัลแบบเบ็ดเสร็จ (End-to-End Digital Services) จัดทำศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก และสามารถติดต่อราชการได้จากจุดเดียว

ยุทธศาสตร์ที่ 2 อำนวยความสะดวกภาคธุรกิจไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

ช่วยให้ภาคธุรกิจได้รับความสะดวกในการติดต่อขออนุมัติ อนุญาต หรือธุรกรรมต่างๆ จากภาครัฐ และคาดหวังให้ภาครัฐมีส่วนในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันได้

แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ผลักดันให้เกิดธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ในทุกกระบวนการทำงานของรัฐ

โดยภาครัฐมีกลไก การเปิดเผย แลกเปลี่ยน และบริหารจัดการข้อมูลดิจิทัล (Digitization) ตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และให้มีการเชื่อมโยงระบบบริการจัดการงบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและตรวจสอบได้ รวมถึงจัดให้มีศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐสำหรับเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานรัฐในช่องทางดิจิทัล

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล

ด้วยการสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาประเทศผ่านระบบดิจิทั

แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล

อ่านเพิ่มเติม คลิก >> แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของ ประเทศไทย พ.ศ. 2563-2565 

 

“รัฐบาลดิจิทัล เปิดเผย เชื่อมโยง และร่วมกันสร้างบริการที่มีคุณค่าให้ประชาชน”