สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA
Smart Nation Smart Life ประเทศทันสมัย ชีวิตคนไทยก็ง่ายขึ้น
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการ Digital Transcript : กระบวนการจัดทำ Digital Transcript ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับกระบวนการและเทคโนโลยีในการจัดทำ Digital Transcript อย่างมั่นคงปลอดภัยและน่าเชื่อถือ โดยมี ศ.นพ. สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดพร้อมมอบนโยบายแก่ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 103 แห่งที่สนใจเข้าร่วมประชุมผ่านโปรแกรม Zoom กว่า 402 บัญชี (Account) เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา โดย ศ.นพ. สิริฤกษ์ ได้ย้ำถึงความสำคัญของโครงการ Digital Transcript ที่จะเป็นรากฐานสำคัญที่จะช่วยให้ภาครัฐมีข้อมูลเกี่ยวกับบัณฑิตสาขาวิชาต่าง ๆ นำไปสู่การวางแผนการพัฒนากำลังคนที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กล่าวต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการ Digital Transcript ว่า โครงการ Digital Transcript เป็นการปรับเปลี่ยนการจัดทำส่งต่อ และตรวจสอบ Transcript ของนิสิตนักศึกษาจากรูปแบบกระดาษเป็นรูปแบบดิจิทัลที่น่าเชื่อถือ ปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่สามารถให้บริการ Digital Transcript แก่นิสิตนักศึกษาได้แล้ว ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นอกจากนี้ ยังมีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนอีกจำนวนมากที่สนใจเข้าร่วมโครงการและอยู่ระหว่างการดำเนินการร่วมกับ สพร. และ สพธอ. เพื่อผลักดันให้เกิดบริการภายในปี พ.ศ. 2564
ดร. สุพจน์ ยังได้ย้ำว่า โครงการ Digital Transcript ถือเป็นจุดเริ่มต้นการปรับเปลี่ยนประเทศให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง โดยเป็นการเริ่มปรับเปลี่ยนวิธีคิด หรือ mindset ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในการทำงานหรือ culture และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือ behaviour ของสังคมให้ยอมรับและคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้าง ตรวจสอบ และใช้งานเอกสารในรูปแบบดิจิทัลอย่างครบวงจร
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นางสาวขนิษฐ์ ผาทอง ผู้ชำนาญการอาวุโส สพธอ. มาให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่อง Technology (PKI, Life Cycle of Digital Certificate) และ หลักการ e-Timestamp ต่อเนื่องด้วย ดร.พฤษภ์ บุญมา รองผู้อำนวยการ สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาเล่าให้ฟังถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงแนวทางปรับเปลี่ยนไปสู่ Digital Transcript และ ดร.จิตติ นิรมิตรานนท์ รองผู้อำนวยการสำนักบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาเล่าถึงแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและกระบวนการจัดทำ Digital Transcript (Implement) ให้ฟังอีกด้วย และในช่วงสุดท้าย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สพร. ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการจัดทำ Digital Transcript อย่างมั่นคงปลอดภัยและน่าเชื่อถือเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งได้เลือกใช้ตามความเหมาะสม และยังให้ความมั่นใจแก่สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งว่า หน่วยงานสำคัญทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) มีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนให้หน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชนรับ Digital Transcript เป็นหลักฐานสำคัญในการบรรจุข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของบริษัทเอกชนต่อไป เพื่อยกระดับการศึกษาไทยให้สามารถใช้เอกสารสำคัญทางการศึกษาในการ ‘จบ จ้าง’ ได้ในรูปแบบดิจิทัลที่มีมาตรฐาน และความปลอดภัยสูงได้โดยสะดวก
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมดคุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สพร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สพร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้
คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ สพร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ สพร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ สพร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ สพร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้
คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของ สพร. จดจำตัวเลือกต่าง ๆ ที่ท่านได้ตั้งค่าไว้และช่วยให้เว็บไซต์ส่งมอบคุณสมบัติและเนื้อหาเพิ่มเติมให้ตรงกับการใช้งานของท่านได้ เช่น ช่วยจดจำชื่อบัญชีผู้ใช้งานของท่าน หรือจดจำการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าขนาดฟอนต์หรือการตั้งค่าต่าง ๆ ของหน้าเพจซึ่งท่านสามารถปรับแต่งได้ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้อาจส่งผลให้เว็บไซต์ไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์
คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ สพร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ สพร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน