รองนายกฯ นายวิษณุ เปิดงาน e-Gov Day 2015 by EGA : Digital Government : The Road to Digital Economy


20 May 2558
2030

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA ร่วมกับหน่วยงานราชการประกอบด้วย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการปกครอง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานประกันสังคม กรมพัฒนาธุรกิจการค้า บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด  มหาวิทยาลัยมหิดล กสทช. สสส. GCC1111 SIPA และ Software Park ผนึกกำลังภาครัฐให้บริการออนไลน์แก่ประชาชน จัดงานสัมมนาและนิทรรศการ เรื่อง “e-Gov Day 2015 by EGA : Digital Government : The Road to Digital Economy รัฐบาลดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจแห่งอนาคต” ซึ่งเป็นบริการล่าสุดของรัฐบาลดิจิทัล เพื่อประชาชนที่สามารถมาใช้งานได้จริง ระหว่างวันที่ 24 – 26 เมษายน 2558 ณ ลาน Eden ชั้น 1 ศูนย์การค้า Central World กรุงเทพฯ  โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมปาฐกถาพิเศษ “คืนความสะดวกให้ประชาชน : การบริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จด้วยรัฐบาลดิจิทัล” เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2558 ณ โรงภาพยนตร์ 15 SF Cinema ชั้น 8 ศูนย์การค้า Central World กรุงเทพฯ 

นอกจากนี้ EGA แถลงข่าว “เปิดตัวแอปพลิเคชัน 5 บริการใหม่ล่าสุด เพื่อคืนความสะดวกให้ประชาชน” ได้แก่ แอปพลิเคชัน OHM Book Shelf ซึ่งเป็นแอปฯที่ ประมวลพระราชกรณียกิจ พระราชดำรัช และพระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของสำนักราชเลขาธิการเปิดตัวโดย นายปรีชา ส่งกิตติสุนทร ผู้ช่วยราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ แอปพลิเคชัน Lost Car ซึ่งเป็นแอปฯ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวยในการแจ้งข้อมูลและค้นหาข้อมูลรถที่สูญหาย เปิดตัวโดย พ.ต.อ.โฆษิต ปิยเจริญ รองผู้บังคับการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แอปพลิเคชัน Doctor Asks แอปฯ ต้อนรับ AEC ช่วยอำนวยความสะดวกแพทย์และพยาบาลในการแปลภาษาสื่อสารกับผู้ป่วยที่เป็นแรง งานต่างชาติ เปิดตัวโดย ดร. สิรินทร พิบูลภานุวัธน์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล โดยทั้ง 3 แอปพลิเคชันนี้สามารถดาวโหลดได้ผ่านศูนย์กลางแอปพลิเคชันภาครัฐ หรือ GAC และแอปพลิเคชัน G-Chat เป็นแอปฯ แชทออนไลน์เฉพาะหน่วยงานภาครัฐ เปิดตัวโดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ สุดท้ายเป็นบริการตรวจเช็คสุขภาพทางการเงิน (เครดิตบูโร) โดยบริการนี้จะเพิ่มอยู่ในตู้คีออสเพื่อบริการประชาชน ซึ่งตั้งอยู่ในศูนย์บริการร่วมภาครัฐ หรือ G-Point ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เปิดตัวโดย นายธฤต ศรีอรุโณทัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ซึ่งประชาชนสามารถเข้าใช้บริการต่างๆดังกล่าวได้แล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

สำหรับงาน e-Gov Day 2015 ระหว่างวันที่ 24 – 26 เมษายน 2558 นี้ EGA ยังจัดนิทรรศการ e-Gov Day 2015 by EGA : Digital Government : The Road to Digital Economy ณ ลาน Eden ชั้น 1 ศูนย์การค้า Central World กรุงเทพฯ เพื่อเป็นการ Educate กลุ่มเป้าหมายในเรื่องของ Digital Government และ Digital Economy ให้เห็นภาพเป็นรูปธรรม ซึ่งแบ่งบูธนิทรรศการออกเป็น 3 zone ได้แก่

Zone A : Digital Government Infra ที่เน้นโชว์บริการของ EGA ที่เป็นกระดูกสันหลังของการเกิด Digital Government และการใช้ชีวิตแบบ Smart Life อาทิ หมวด Infrastructure ได้แก่ GIN, G-Cloud, Gov Data Center, GIN Conference หมวดความร่วมมือ ได้แก่ SIGO, Open Data หมวด Security Concern ได้แก่ MailGoThai, G-Chat, G-CERT หมวดการพัฒนา Government IT Staff ได้แก่ e-Gov Academy หมวดนวัตกรรม ได้แก่ e-Government Innovation Center Corner เป็นต้น

Zone B : Smart Life ที่เป็นการโชว์บริการที่เข้าถึงประชาชนโดยตรง ทั้งบริการของ EGA และบริการของภาครัฐอื่นๆ อาทิ หมวดเทิดพระเกียรติ ได้แก่ แอปพลิเคชัน สุขพอที่พ่อสอน ที่รวบรวมพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท คัดตัดตอน, แอปพลิเคชัน Book Shelf ที่ประมวลพระราชกรณียกิจ พร้อมภาพพระราชกรณียกิจ, e-Book จาก สำนักราชเลขาธิการ หมวด Digital Life ได้แก่ GAC (แอปพลิเคชัน Lost Car, Doctor Asks) e-Gov Portal Smart Citizen Info และ Kiosk (ตู้บริการข้อมูลประชาชน) DBD แนะนำให้คำปรึกษาการยื่นงบประมาณทางอิเล็กทรอนิกส์และเพิ่มช่องทางการค้าออ นไลน์ให้กับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนผ่านแอปพลิเคชัน หมวดความร่วมมือ ได้แก่ G-Point ศูนย์บริการร่วมในห้างสรรพสินค้า จาก สำนักงาน ก.พ.ร., โชว์ผลงานจากผู้เข้าประกวดและ Partner จากโครงการ MEGA ภายใต้ความร่วมมือจาก SIGO หมวด Public Hearing แสดงผลการสำรวจความต้องการ Mobile Application และการเก็บข้อมูลความต้องการเพิ่มเติมจากประชาชนในงาน เป็นต้น

Zone C : Digital Economy & I เป็นการโชว์ผลงานของ Zone A – Zone B และกิจกรรมบนเวที เน้นให้เห็นถึงการประหยัดเงินงบประมาณ ประหยัดเวลา เพิ่มคุณภาพชีวิต และการนำพาประเทศไปสู่ยุคใหม่ โดยจัดกิจกรรมบนเวที ได้แก่ การเปิด VDO Presentation การสัมภาษณ์ความต้องการบริการ e-Service จากประชาชน การแชร์ความคิดเห็นจาก Celebrity จากแขนงต่างๆ ที่มาร่วมงาน ว่าการเกิด Digital Economy ส่งผลดีกับตัวเขาอย่างไร

ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่  https://www.facebook.com/media/set/?set=a.855360537866922.1073741851.542226425847003&type=3

===========================================================================

ข่าวประชาสัมพันธ์

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เผย 10 แนวโน้มรัฐบาลดิจิทัล หลังรัฐบาลรุกหนักดิจิทัลอีโคโนมี ชี้อินเทอร์เน็ตเมืองจะถูกจัดระบบใหม่ รัฐแห่ใช้คลาวด์คอมพิวติ้ง การจัดซื้อไอทีภาครัฐจะเปลี่ยนแปลง พร้อมเปิดเผยข้อมูลภาครัฐเพื่อให้โปร่งใสและนำไปใช้งานสร้างแอปพลิเคชันต่อ เนื่อง

 

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การจัดงาน e-Gov Day 2015 ของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ในวันที่ 24-26 เมษายนนี้ ก็เพื่อต้องการให้ประชาชนรู้ว่ารัฐบาลต้องการผลักดันนโยบาย Digital Economy เพื่อยกระดับทั้งภาคเศรษฐกิจ สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีความสะดวกสบายมากขึ้นในแบบที่ยั่งยืน ภาครัฐเองถือเป็นองคาพยพใหญ่ที่จะคืนความสะดวกให้ประชาชนในการบริการรูปแบบ ต่างๆ คำสำคัญที่เป็นตัวตั้งในการบริการยุคนี้คือ ต้องการแบบเบ็ดเสร็จ

 

นอกจากการปรับเปลี่ยนภายในส่วนของภาครัฐเองแล้ว รัฐต้องเรียนรู้พฤติกรรมของประชาชนว่าเปลี่ยนแปลงเช่นไร เช่น คนส่วนใหญ่จะไม่ว่างวันธรรมดา ถ้าจะมาติดต่อกับหน่วยงานรัฐ มีให้มาวันเสาร์อาทิตย์จะดีกว่า ไม่กระทบกับการทำงานโดยปกติ และถ้าให้ไปที่หน่วยงานบางทีก็ไม่รู้จัก เดินทางลำบาก ถ้ามีจุดรวมศูนย์ที่เดียว มาครั้งเดียวทำได้ทุกอย่างยิ่งดี และถ้าเปลี่ยนการติดต่อจากต้องเดินทางไปหน่วยงานนั้นๆ มาเป็นหน่วยงานนั้นๆ มาตั้งอยู่ในศูนย์การค้าที่สะดวกสบายอยู่แล้ว การเข้าถึงยิ่งง่ายเข้า ดังนั้น จึงเกิดโครงการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมภาครัฐ (G-Point) โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งศูนย์ G-Point ที่แรกได้เปิดให้บริการแล้วที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยจะเปิดให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อเรื่องประกันสังคม ติดต่อกรมการจัดหางานและขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติ ติดต่องานทะเบียนราษฎร์ อาทิ ทำบัตรประชาชนและทำบัตรใบขับขี่และงานเปลี่ยนใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่ว คราว ซึ่งต่อไปในอนาคตจะมีการเพิ่มงานบริการอื่นๆ ที่ส่วนราชการ หรือ ก.พ.ร. พิจารณาแล้วเห็นว่าควรนำมาให้บริการในศูนย์บริการร่วม

 

นอกจากนั้น สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA ยังมีการนำร่องการให้บริการแบบ Self-Service ได้แก่ การตรวจสอบสิทธิประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากภาครัฐ เช่น ข้อมูลประกันสังคม เบี้ยผู้สูงอายุ หรือตรวจสอบข้อมูลบุคคลในทะเบียนบ้าน ผ่านตู้คีออส (Kiosk) เพื่อให้บริการประชาชนที่ตั้งอยู่ในศูนย์ G-Point ด้วย

 

ดังนั้นต่อจากนี้ไปรัฐบาลจะทำทุกทางที่ทำให้การบริการประชาชนเข้าสู่การ บูรณาการมากขึ้น ต้องง่าย สะดวก โปร่งใส และการบริการจะต้องไม่สร้างความยุ่งยาก หรือทำให้ประชาชนต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น และทำให้บริการเหล่านี้กลายเป็นเรื่องธรรมดาเชื่อมโยงไปกับชีวิตประจำวัน บัตรประชาชนใบเดียวสามารถดำเนินการได้หมด รัฐบาลดิจิทัลต้อง Smart มากขึ้น ทันสมัยมากขึ้น

 

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เปิดเผยในงานสัมมนา e-Gov Day 2015 ว่า จากการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล และเน้นให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล หรือ Digital Government อย่างเป็นระบบจะส่งให้เกิดแนวโน้ม 10 ด้านที่สำคัญขึ้นในประเทศไทย โดยคาดว่าแนวโน้มนี้จะเกิดขึ้นภายใน 2 ปีนี้ ซึ่งจะกระทบวงกว้างทั้งในฝั่งประชาชน ฝั่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์ และฝั่งหน่วยงานรัฐ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวทั้งระบบ ซึ่ง 10 แนวโน้มที่สำคัญคือ

 

1. เครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย จะถูกจัดสรรใหม่ เช่นเดียวกับการจัดสรรคลื่นความถี่ในธุรกิจโทรคมนาคม ภาครัฐจะสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทุกแห่ง และมีการเชื่อมต่อข้อมูลปลายทางจากหน่วยงานกว่าครึ่ง ข้อมูลพื้นฐานจากบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน และอื่นๆ จะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ดึงไปใช้ได้ในทันที

 

2. ภาครัฐจะใช้คลาวด์คอมพิวติ้งเป็นพื้นฐานกว่า 50% ทั้งจากการผลักดันของกฎระเบียบต่างๆ การใช้งานที่พิสูจน์แล้วทั้งภาครัฐและเอกชนที่แสดงให้เห็นแล้วว่ามี ประสิทธิภาพ ประหยัดกว่า ระบบใหญ่ๆ ของภาครัฐที่แม้จะ Critical แค่ไหนก็จะมีการใช้งานผ่านคลาวด์คอมพิวติ้ง และระบบ G-Cloud ของ EGA ก็จะเข้ามารองรับแนวโน้มนี้อย่างสมบูรณ์

 

3. การใช้จ่ายหรืองบประมาณภาครัฐทางด้านไอทีจะเปลี่ยนเป็นการพัฒนาเฉพาะแอปพลิ เคชันถึง 50% การจัดซื้อฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์เครือข่ายจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะนโยบายการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติ และ G-Cloud จะทำให้ระบบการจัดซื้อระบบไอทีของภาครัฐเปลี่ยนไป

 

4. ภาครัฐจะแบ่งปันข้อมูลแบบมาตรฐานเข้าสู่โครงการ Open Data ประมาณ 200 ชุดข้อมูล ซึ่งถือว่าจะยังไม่มากนัก แต่หลังจากนั้นจะเกิดชุดข้อมูลแบบก้าวกระโดด

 

5. แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือของภาครัฐจะมีให้บริการประชาชนมากกว่า 500 โปรแกรม และจะกลายเป็นแอปพลิเคชันหลักในตลาด โดยแอปพลิเคชันเหล่านี้จะมาจากภาครัฐโดยตรงและจากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ของนัก พัฒนาซอฟต์แวร์เอกชน

 

6. การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่อย่าง Big Data จะเริ่มดำเนินการ อาจจะมีองค์กรใหม่ของภาครัฐเข้ามาจัดการ และจะมี Data Scientist ภาครัฐขึ้น เพื่อทำให้ฝ่ายบริหารของรัฐบาลได้ข้อมูลที่สำคัญไปช่วยในการบริหารงานต่อไป

 

7. Internet of Thing (IOT) ในภาครัฐจะเริ่มเกิดขึ้น จากการเข้ามาของ IOT หรือสิ่งของทุกสิ่งสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เอง แม้จะเป็นปีแรกๆ ที่แนวคิดและคอนเซ็ปต์จะถูกจับมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์จริงบ้างแล้ว แต่นี่คือแนวโน้มใหญ่ของโลก ซึ่งจะเห็นการพัฒนานวัตกรรมเหล่านี้เข้ามาสู่ระบบรัฐบาลดิจิทัลในเร็วๆ นี้

 

8. จุดให้บริการของภาครัฐต่อประชาชนจะเริ่มเปลี่ยนจากการใช้คนมาเป็นใช้เครื่อง ไม่ว่าจะเป็นตู้คีคอส เวนดิ้งแมชชีน หรือเครื่องอัตโนมัติต่างๆ ภาคประชาชนจะดำเนินการธุรกรรมต่างๆ ผ่านเครื่องด้วยตัวเอง ซึ่งจะลดขั้นตอนและลดปัญหาต่างๆ ลงไปได้มาก

 

9. ประชาชนจะเริ่มเก็บข้อมูลธุรกรรมกับภาครัฐต่างๆ ไว้กับตัว และสามารถบริหารข้อมูลเหล่านั้นเพื่อเป็นประโยชน์ได้ โดยการจัดเก็บและการบริหารอาจอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่นเก็บในฮาร์ดดิสก์ส่วนตัว หรือเก็บไว้บนคลาวด์ แต่ทั้งหมดต้องสามารถดึงมาใช้ได้ทันทีที่ต้องการ

 

10. ระบบแอปพลิเคชันใหม่ๆ ของภาครัฐจะเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบ Payment Gateway และระบบอื่นๆ ที่เป็นของภาคเอกชน ดังนั้นแอปพลิเคชันต่างๆ ของภาครัฐจะมีการให้บริการในหลากมิติ

 

ทั้งหมดนี้จะเป็น The New Paradigm of Government Services ที่จะเข้ามาถึงประเทศไทยในเร็ววันนี้แล้ว จะเป็นการยกระดับและทำให้บริการของภาครัฐต่อประชาชนเปลี่ยนไปอย่างพลิกโฉม ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนทั้งระบบไม่ใช่การเปลี่ยนเฉพาะหน่วยงานรัฐที่มีความ พร้อมเท่านั้น EGA เชื่อว่าภาคประชาชนจะได้ประโยชน์จาก Digital Economy อย่างเต็มที่ โดยมี Digital Government คอยให้บริการอยู่เคียงข้าง

 

สำหรับการดำเนินงานของ EGA ในรอบสี่ปีของการก่อตั้ง ถือว่าเป็นไปอย่างก้าวกระโดดและมีทิศทาง เราได้เห็นระบบโครงการบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ (Common Government Network Infrastructure) การพัฒนาระบบคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud : G-Cloud) ปัจจุบันมีหน่วยงานขอใช้บริการทั้งสิ้น 211 หน่วยงาน คิดเป็น 507 ระบบ การพัฒนาเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network : GIN) ที่พัฒนาให้มีการนำระบบบริการภาครัฐที่ส่วนราชการสามารถใช้งานร่วมกันได้บน เครือข่าย GIN ปัจจุบันมีหน่วยงานภาครัฐใช้บริการ GIN แล้วมากกว่า 3,000  วงจรทั่วประเทศ เราได้เห็น EGA ได้เป็นแนวรุกในการผลักดันให้เกิดแอปพลิเคชันภาครัฐ ให้เป็นบริการกับประชาชนอย่างแท้จริงมากขึ้น โดยการตั้ง GAC หรือ Government Application Center เพื่อรวบรวมแอปพลิเคชันมากมายของภาครัฐเพื่อให้ประชาชนค้นหาได้ง่าย ซึ่งขณะนี้ได้รวบรวมแอปพลิเคชันภาครัฐแล้วเกือบ 100 แอปพลิเคชัน จากทั้ง 19 กระทรวง รวมทั้งจากสำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานอิสระต่างๆ

 

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความพยายามของ EGA ที่จะขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีคุณภาพ มีความโปร่งใส เน้นการมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับการบริการสู่ประชาชน และสอดคล้องกับนโยบายดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ Digital Economy ของรัฐบาล

ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่  https://www.facebook.com/eGovernmentAgency/media_set?set=a.901182389920112.1073742014.100000850770441&type=1&pnref=story