สรอ. จัดทัพประกาศแนวรุก รัฐบาลไทยก้าวสู่ยุค “Smart Government


16 March 2558
1602

สรอ. จัดทัพประกาศแนวรุก รัฐบาลไทยก้าวสู่ยุค “Smart Government” ยกระดับงานบริการไอทีภาครัฐ ในรูป E-Services  แบบก้าวกระโดด

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (สรอ.) จัดทัพประกาศแนวรุกดันรัฐบาลไทยก้าวสู่ยุค “Smart Government”ชู 4 พันธกิจหลักประกาศแผนเร่งด่วนพัฒนาการใช้ไอทีในภาครัฐ หวังยกระดับ e-Services ให้บริการประชาชนได้เต็มพิกัด พร้อมลดงบประมาณภาครัฐได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี พร้อมวาง “Roadmap” คาด 4 ปีข้างหน้าพลิกโฉมการบริการภาครัฐด้านอิเล็กทรอนิกส์ ทำได้แบบแบบครบวงจร และมีมาตรฐานกลาง

น.อ.อนุ ดิษฐ์ นาครทรรพ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยว่า เป้าหมายในการผลักดันให้เกิด Smart Government คือ ภาคประชาชนได้รับการบริการที่ดียิ่งๆ ขึ้น ภาครัฐจึงต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว และใช้งบประมาณให้น้อยที่สุด ที่สำคัญต้องเลือกเทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด และเลือกให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยเน้นเรื่อง Speed (ความเร็ว) มาเป็นอันดับหนึ่ง จึงเร่งให้สำงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์หรือ สรอ.คิดค้นโครงการที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนภาครัฐบาลไปสู่ระบบ อิเล็กทรอนิกส์ อย่างรวดเร็ว และใช้ต้นทุนต่ำ และเป็นตัวกลางเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานรัฐที่มากกว่าหนึ่งหน่วยงานเข้า ด้วยกัน พร้อมเพิ่มระดับความเร็วในการเชื่อมโยงบริการโดยประสานงานระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐด้วยกันเองอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร่งด่วน

สิ่งที่จะ ได้เห็นต่อไปจากนี้ไม่ว่าจะเป็นโครงการรับจำนำข้าวทั่วประเทศ หรือโครงการอื่นๆ อีกจำนวนมาก จะเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และเชื่อมข้อมูลแต่ละหน่วยงานถึงกันได้เป็นอย่างดี สามารถรองรับการบริการไปสู่ภาคเอกชนอีกด้วย โดยบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ต้องสามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น คาดว่าภายในครึ่งปีนี้จะเริ่มมีบริการต่างๆ ของภาครัฐทยอยเข้ามาใช้ระบบฐานข้อมูลบัตรประชาชน ดังนั้น Roadmapที่สรอ. กำลังดำเนินการจะเป็นการทำให้เกิด Paradigm Shift หรือการทำให้มาตรฐานของต้นแบบถูกยกขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง โดยมีคำว่า Speed (ความเร็ว) เป็นตัวขับเคลื่อน มีระดับนโยบายคอยส่งเสริม โดยเฉพาะกฎระเบียบ และการประสานงานในระดับนโยบาย

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สรอ. ได้ถูกจัดตั้งเป็นองค์กรมหาชน เพื่อเป็นหน่วยงานที่จะต้องเข้ามาดูทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ และการบริหารจัดการโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงสร้างมาตรฐานกลางให้กับไอทีภาครัฐทั้งหมด โดยมี 4 พันธกิจหลักที่มีเป้าหมายในการผลักดันให้ภาครัฐของไทยก้าวสู่การเป็น “Smart Government” ดังนี้ 1.สร้างเครือข่ายและพัฒนาความรู้ไปสู่การเป็น Smart Government ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรไอทีภาครัฐ 2. สร้างโครงสร้างพื้นฐานและแอพพลิเคชันร่วม เช่น ดาต้าเซ็นเตอร์ของภาครัฐ เป็นต้น 3. ยกระดับ e-service และบูรณาการ Back office ด้วยการทำให้แต่ละหน่วยงานภาครัฐสามารถเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างกันสร้างเป็น บริการใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น และ 4.สร้างสถาปัตยกรรมและมาตรฐานให้เกิดขึ้นในระบบไอทีภาครัฐ ที่จะต้องสอดรับกับแนวนโยบายของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ ต้องการให้สรอ.จำเป็นที่จะต้องปรับโครงสร้างองค์กรการทำงานเพื่อรองรับการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยงบประมาณไม่มากและเกิดการบูรณาการอย่างเป็นระบบ อันจะนำไปสู่การใช้ไอทีในภาครัฐที่คาดว่าจำทำให้ลดงบประมาณโดยรวมได้ไม่น้อย กว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี   

สำหรับโครงสร้างพื้นฐานอีก ประการหนึ่งที่ถือว่าเป็นแผนดำเนินการเร่งด่วนของสรอ.คือ การทำระบบ Government Data Center หรือศูนย์ข้อมูลกลางภาครัฐให้มีมาตรฐานและแข็งแกร่งในการรองรับระบบฐาน ข้อมูลของทุกหน่วยงานได้ โดยศูนย์นี้เป็นพื้นฐานเพื่อนำไปสู่ระบบ Government Cloud Service ที่จะทำให้การบริการภาครัฐเข้าสู่ระบบออนไลน์อย่างสมบูรณ์แบบ โดยอาศัยการเชื่อมโยงข้อมูลผ่านโครงสร้างเครือข่ายอย่าง Government Information Network 2.0 (GIN 2.0) ซึ่งเป็นงานที่กระทรวงไอซีทีได้มอบหมายให้ สรอ.ดำเนินการและจะมีการเร่งรัดให้โครงการนี้สำเร็จให้เร็วที่สุด เพื่อให้เป็นทางเลือกหลักในการสร้างระบบเครือข่ายทั้งหมด ตลอดจนการดูแลทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยไอทีของภาครัฐ ผ่านระบบโครงสร้าง Government Security Monitoring (GovMon) และมีระบบ Government Nervous System หรือ GNS ที่ สรอ. จะต้องจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการติดตามสถานภาพการดำเนินงานด้านรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ยังมี แผนงานเร่งด่วนที่ไม่ใช่งานทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ สรอ.ต้องเร่งดำเนินการภายในปี 2555 คือ การสร้างระบบอีเมล์ของภาครัฐหรือ MailGoThai ที่จะทำให้ง่ายและใช้งานได้จริง โดยที่บุคลากรภาครัฐไม่ต้องไปใช้งานอีเมล์จากต่างประเทศ และจะเป็นอีเมล์ที่ติดตัวไปทุกที่แม้จะมีการโยกย้ายตำแหน่งในภายหลังก็ตาม รวมไปถึงการสร้างระบบ e-Government Portal ที่จะรวบรวมบริการและการแบ่งปันความรู้ในด้านต่างๆ ให้กับทั้งบุคลากรภาครัฐและประชาชนทั่วไปในอนาคต โดยการทำงานทั้งหมดเป้าหมายของสรอ.กับหน่วยงานภาครัฐก็คือการเข้าสู่ระบบ Paperless Government หรือหน่วยงานรัฐไร้กระดาษ

สำหรับใน ระยะถัดไป สรอ. ต้องจัดเตรียมการดำเนินงานเรื่องใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐ หรือGovernment Certification Authority (GCA) สำหรับรองรับกระบวนการทำงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของข้าราชการ เพื่อให้เป็นมาตรฐานในการสร้างระบบความปลอดภัยข้อมูลการติดต่อสื่อสารของคน ภาครัฐในขั้นต่อไปจากการเน้นให้บริการโครงสร้างพื้นฐานของ สรอ. ในครั้งนี้ทำให้ สรอ. จะต้องทำหน้าที่เป็น PMO ในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและบริการภาครัฐ โดยเน้นด้านคุณภาพบริการเป็นหลัก เพื่อทำให้ระบบภาครัฐทั้งหมดเกิดความมั่นใจ เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้ระบบไอทีใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยสรอ.จะเน้นการรับฟังความเห็นของหน่วยงานรัฐทั้งหมดมาเป็นพื้นฐาน และมีการทำวิจัยรองรับมากขึ้น รวมถึงการทำระบบ SLAs หรือข้อกำหนดในการให้บริการที่ชัดเจน และเป็นมาตรฐานสากล โดยปรับแต่งให้เข้ากับหน่วยงานรัฐโดยเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบัน SLAsของภาคเอกชนเองก็มีความแตกต่างกันไปตามจุดเด่นทางการตลาด ซึ่งของสรอ.จะมุ่งเน้นการให้บริการภาครัฐเท่านั้น ทำให้เกิดจุดแข็งที่แตกต่างอย่างมาก

อย่างไรก็ดีคาดว่าภายใน 4 ปีข้างหน้า สรอ.จะก้าวสู่เป้าหมายที่จะต้องทำให้เอกสารภาครัฐที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำได้อย่างครบวงจร และต้องเข้าไปแทรกอยู่ทุกกระบวนการการทำงานในส่วนของหน่วยงานภาครัฐต้องเปิด บริการประชาชนที่ไม่ต้องนำสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน โดยสามารถเชื่อมต่อกับบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ดได้โดยตรง และข้อมูลสามารถดึงเชื่อมกันได้ด้วยมาตรฐานเดียวกันรวมถึงบริการ IT Service ของภาครัฐสามารถจัดซื้อจัดจ้างในแบบบริการสาธารณูปโภค โดยในเบื้องต้นผ่านระบบ Cloud Computing และต้องเข้าสู่ระบบจ่ายตามการใช้งานจริง ใช้น้อยจ่ายน้อย ใช้มากจ่ายมาก โดยที่ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ IT ของภาครัฐ ลดลง 30-50 % และหน่วยงานภาครัฐต้องสร้างการทำงานในแบบทำงานที่บ้านได้หรือ Work at Homeผ่านโครงสร้างสาธารณูปโภคทางด้านไอทีที่มีประสิทธิภาพมีการปรับเปลี่ยน เจ้าหน้าที่ IT ของภาครัฐไปสู่การเป็นเจ้าหน้าที่บริหารโครงการ (Project Manager) และเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล (MIS Manager) นอกจากนั้นต้องมีการซ้อมแผนสำรองฉุกเฉินเป็นแนวปฏิบัติทั่วไปของหน่วยงานรัฐ ขึ้นมา

ดร.ศักดิ์ กล่าวต่อว่า เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของกระทรวงไอซีทีคือ สรอ.จะเป็นตัวกลางในการผลักดันการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานรัฐที่มากกว่า หนึ่งหน่วยงานเข้าด้วยกัน ซึ่งในปี 2555 นี้ไม่เพียงการสร้างมาตรฐานการเชื่อมต่อที่เป็นจริงแล้วยังเพิ่มระดับความ เร็วในการเชื่อมโยงบริการโดยประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกันเองอย่าง เป็นรูปธรรมโดยเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นโครงการรับจำนำข้าวทั่วประเทศ หรือโครงการอื่นๆ อีกจำนวนมาก จะเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และเชื่อมข้อมูลแต่ละหน่วยงานถึงกันได้เป็นอย่างดีและที่สำคัญจะได้เห็น ประชาชนที่ถือบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์สามารถนำความสามารถของบัตรเหล่านี้ ไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ซึ่งภายในครึ่งปีนี้คาดว่าจะเริ่มมีบริการต่างๆ ของภาครัฐทยอยเข้ามาใช้ระบบฐานข้อมูลบัตรประชาชน และคาดว่าเมื่อถึงปลายปีจะมีมากกว่าสิบหน่วยงานที่รองรับได้

นอกจากนี้สรอ.ยังต้องเป็นฝ่ายวิชาการในการค้นคว้าและสร้างมาตรฐานทางวิชาการ ใหม่ๆ ให้กับภาครัฐทั้งหมด การสร้างGovernment Enterprise Architecture ขึ้นมา รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อทำให้ Speed ของการบริการภาครัฐไทยในด้านอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปแบบก้าวกระโดด ดังนั้น Roadmap ที่สรอ.กำลังจะดำเนินการไปนั้นต้องถือว่าเป็นการทำให้เกิด Paradigm Shift หรือการทำให้มาตรฐานของต้นแบบถูกยกขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง โดยมีคำว่า Speed เป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อผลักดันให้เกิด Smart Government และนำไปสู่การเกิด Smart ต่างๆ ขึ้นอีกมากมายอีกด้วย