Government Cloud Services พลิกโฉมบริการภาครัฐสู่Smart Government
Government Cloud Services พลิกโฉมบริการภาครัฐสู่Smart Government
ภายใต้กระแสCloud Computing เทคโนโลยีที่กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านระบบงานแบบเก่าที่ค่อน ข้างล้าสมัย ยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เข้าสู่ระบบงานแบบใหม่ สะดวก รวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายน้อย อย่างการนำระบบ Cloud Computing มาใช้ ปัจจุบันมีทั้งภาครัฐและเอกชนในหลายประเทศได้ให้การตอบรับกับระบบงานแบบใหม่นี้ อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ไม่เว้นแม้กระทั่งรัฐบาลไทยเองก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะไม่นำระบบนี้มาใช้ในการบริหารงานภาครัฐได้
ด้วยจุดเด่นที่แตกต่างของ Cloud ที่จะทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านไอทีภาครัฐลดลง ประกอบกับประชาชนสามารถทำธุรกรรมภาครัฐผ่านระบบออนไลน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา จึงเป็นมูลเหตุจูงใจให้รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบ Government Cloud Services และเพิ่งเปิดตัวไปไม่นาน โดยมีสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. เป็นองค์กรขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลัง
สรอ. องค์กรที่อยู่เบื้องหลังการเกิดและเติบโตของ e-Government
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. ชื่อนี้อาจจะไม่
คุ้นหูนักสำหรับประชาชนทั่วไป เนื่องจากเป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อประมาณปี พ.ศ.2553 แต่ด้วยภารกิจและเนื้องานขององค์กรแห่งนี้ถือว่าได้วางรากฐานมาแล้วอย่างดี ภายใต้ชื่อเดิมคือ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ(สบทร.)
ในเรื่องนี้ ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ได้ เปิดเผยถึงการเกิดขึ้นของ สรอ. ว่า สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2553 เห็นควรให้จัดตั้ง สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นองค์การมหาชนในกำกับของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้มีระบบการบริหารงานที่เป็นอิสระ คล่องตัว ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพสูงในระยะเริ่มต้น เพื่อให้การทำงานของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ดำเนินงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ จึงได้โอนย้ายบุคลากรและบรรดากิจการของสำนักงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาค รัฐ (สบทร.) หน่วยงานภายใต้การกำกับของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และบรรดาโครงสร้างด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร เข้ามาไว้ในองค์กรแห่งนี้ด้วย
“หากถามว่า ทำไมจึงต้องมีหน่วยงานนี้เกิดขึ้น ก็ต้องย้อนกับไปดูแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะพบว่า
การดำเนินงานด้านบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(e-Government) ของประเทศไทยได้ดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ ดังกล่าว มาได้ระยะหนึ่งและพบอุปสรรคสำคัญ คือ การขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการดำเนินงาน และเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ จึงควรมีการจัดตั้งหน่วยงานกลางที่ประกอบด้วย บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรงในการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ เช่น โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT infrastructure) การดำเนินโครงการด้านการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาและจัดทำมาตรฐานที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการจัดสรรงบประมาณเพื่อรองรับการดำเนินงานโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบ
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความก้าวหน้าสอดคล้องกับการพัฒนาICT ของประเทศ”
ดร.ศักดิ์ กล่าว
วิสัยทัศน์องค์กร มุ่งพัฒนาความสมบูรณ์ มั่นคงปลอดภัยในภารกิจหลัก
4 ด้าน ด้วยวิสัยทัศน์ของ สรอ.ในการที่จะเป็นหน่วยงานกลางในการผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ให้มีความสมบูรณ์ และมั่นคงปลอดภัย (enabling complete & secure e-Government) ภายใต้ภารกิจ 4 ด้าน ดังนี้
1. การพัฒนา บริหารจัดการ และให้บริการโครงสร้างพื้นฐานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
“ภารกิจด้านนี้ประกอบด้วยการพัฒนาต่อยอดเครือข่ายภาครัฐ (Government Information Network: GINet) ซึ่งเป็นภารกิจเดิมที่ สบทร.เคยพัฒนามาแล้ว รวมถึงการพัฒนาระบบเมลสำหรับข้าราชการไทย (MailGoThai)ระบบสารบัญอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งหมดให้มีความเชื่อมโยงกับระบบเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e-Government Portal) ซึ่งเป็นระบบเว็บไซต์กลางที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าใช้บริการ อิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e-Services) ของส่วนราชการต่าง ๆ มาอยู่ในเว็บไซต์เดียว ใช้Username และ Password เดียวกัน ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และในปีนี้ที่ สรอ. ได้เริ่มนำระบบ e-Government Cloud มาใช้นำร่องกับหน่วยงานราชการ 10 หน่วยงาน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบCloud มาใช้งานจริงในการให้บริการประชาชน สรอ. เราเริ่มโดยการทำโครงการในลักษณะนำร่องก่อน เป็นช่วงที่เราสามารถทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการให้บริการ G-Cloud ในระยะการให้บริการจริง
ทีมวิศวกรของ สรอ. ได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรที่เกี่ยวข้องในระดับต่าง ๆ อาทิเช่น ระดับโครงสร้างพื้นฐาน IaaS เราเตรียมการเพื่อทดสอบการทำงานแบบ Inter Cloud เพื่อให้สามารถสร้างกลุ่มผู้ให้บริการร่วมใน Scale ที่ใหญ่ขึ้นได้ ในส่วนของระบบบริหารจัดการเราได้ทำการทดสอบเกือบทุกเทคโนโลยี และพยายามทดสอบข้ามเทคโนโลยีด้วย ดังนั้นโซลูชั่นที่จะทำการออกแบบเพื่อรองรับการให้บริการหน่วยงานภาครัฐ จึงมั่นใจได้ว่า ได้รับการศึกษาและเตรียมการมาอย่างดี ทั้งหมดนี้
จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนe-Government”
2. ศึกษา วิจัย พัฒนา และเสนอแนะแนวทาง มาตรการ และมาตรฐานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
“ภารกิจในด้านนี้ เน้นที่การพัฒนาสถาปัตยกรรมและมาตรฐานด้าน e-Government ทั้งเรื่อง Back Office, e-Services Security และการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ (interoperability) เป้าหมายคือ ทำอย่างไรที่จะให้หน่วยงานภาครัฐมีระบบการทำงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากที่ผ่านมา การทำธุรกรรมภาครัฐ จำเป็นจะต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน สรอ.จึงมีหน้าที่ออกมาตรฐานและเสนอแนวทางที่เป็นมาตรฐานนี้ให้กับหน่วย งานราชการต่าง ๆ อีกทั้ง ภาครัฐเมื่อมีความต้องการขึ้นระบบไอที ก็ควรจะมีพิมพ์เขียวใหญ่ แม้จะไม่สามารถทำให้เสร็จได้ในเฟสแรก ก็อยากให้มีการทำงานในลักษณะที่เป็นจิ๊กซอว์ ที่สามารถนำมากันเป็นภาพใหญ่ได้”
3. ให้คำปรึกษา บริการด้านวิชาการและบริหารจัดการโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สารในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
“เป็นที่ทราบกับดีว่า หน่วยงานภาครัฐมักมีข้อจำกัดด้านบุคลากร ทั้งจำนวน และความรู้ความสามารถด้านไอที สรอ. มีหน้าที่ที่จะเข้าไปช่วยเหลือหน่วยงานภาครัฐที่ยังไม่มีความพร้อม ให้เข้ามาใช้บริการระบบ e-Government ที่มีเจ้าหน้าที่ของ สรอ. ดูแลให้แน่นอนว่าการจะเข้าไปคุยกับหน่วยงานราชการเหล่านี้ ตัวมาตรฐาน หรือตัวสถาปัตยกรรมที่เราจะเอาไปช่วยนั้นจะเป็นอย่างไร และเรามีเทคโนโลยีอะไรใหม่ ๆ ที่จะเข้าไปช่วยเขาให้ทำงานง่ายขึ้น และจะสร้างความมั่นใจในระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลอย่างไร คืองานของ สรอ. เพราะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้หน่วยงานภาครัฐมาใช้บริการในรูปแบบ Cloud Computing ยังมีประเด็นที่ต้องปรับปรุงและสร้างความเข้าใจอย่าง 2 ประเด็น อย่าง
แรก คือ การปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายจากเดิมที่เป็นงบลงทุน และสามารถตรวจรับการดำเนินงานจากอุปกรณ์ที่จัดซื้อมาเป็นการตรวจรับบริการใน รูปแบบของค่าใช้จ่ายประจำแทน และที่สำคัญเป็นการเบิกจ่ายตามการใช้งานจริง ไม่ต้องเผื่อพื้นที่การใช้งานไว้ล่วงหน้า ซึ่งไม่ใช่แนวทางปฏิบัติปกติของหน่วยงานภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ทาง สรอ.ไม่ คิดค่าใช้จ่ายจากผู้ใช้ที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ จึงลดประเด็นเรื่องนี้ไปได้ อีกประเด็นหนึ่ง คือ การสร้างความมั่นใจในเรื่องการทำงาน โดยเฉพาะเรื่องความต่อเนื่อง และความปลอดภัยของข้อมูลจากการให้บริการรูปแบบ Cloud Computingซึ่ง สรอ. ให้ความสำคัญกับประเด็นความปลอดภัยของข้อมูล จึงได้ศึกษาแนวทางจาก Cloud Security Alliance (CSA) ซึ่งเป็นแนวทางในระดับสากลที่หลายประเทศใช้รวมถึงแนวทางของNIST ที่เพิ่งออกนโยบายเพิ่มเติม ด้าน Security ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ Cloud โดยในระยะใกล้นี้ สรอ. เตรียมผลักดันให้เกิดกลุ่มความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ในประเทศต่อไป”
4. ส่งเสริม สนับสนุน และจัดอบรมเพื่อยกระดับทกั ษะความรู้ ความสามารถด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง
สรอ. มีทีมวิศวกรกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของบุคลากรทั้งหมด ซึ่งมีประสบการณ์ด้านไอที ดังนั้นงบประมาณที่เตรียมไว้ นอกจากเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับบริการแล้วการพัฒนาบุคลากรยังเป็นส่วนหนึ่งที่สรอ.ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และเป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้ใช้งานสรอ. ผลักดันให้เกิดเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะ“เรื่องการพัฒนา คนในมุมมองของสรอ. คือ การสร้างองค์ความรู้ให้กับเขา เนื่องจากการที่เราจะมีโครงสร้างพื้นฐานที่แชร์อยู่ตรงกลาง จำเป็นจะต้องมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านไอที และสามารถปรับตัวเข้าสู่การเป็นเจ้าหน้าที่บริหารโครงการ (project manager) หรือเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล (MIS manager) สามารถวิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอข้อมูลที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารและพนักงาน ต่อจากนี้ไปเราต้องเอาข้อมูลมาใช้ในการทำงานมากขึ้น เราต้องผลักดันให้ภาครัฐก้าวอีกขั้นสู่การเป็น Smart Government ให้ได้”
การผลักดันe-Government Cloud
เนื่องจากCloud Computing เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาตรงกับสิ่งที่กำลังจะผลักดันพอดี ประเทศไทยมองในมุมมองของภาครัฐแล้วจะพบว่า เวลาจะขึ้นระบบไอทีแต่ละครั้งมีกลไกการทำงานที่ต้องใช้งบประมาณ และใช้เวลานาน บางครั้งอาจเป็นปี คำถามคือ โอกาสที่เสียไปคืออะไร แทนที่จะมีระบบไอทีจัดการภายใน หรือระบบe-Services ที่ให้บริการประชาชน เราก็ตัดวงจรเหล่านี้ออกไปให้หมด โดย สรอ. เราทำ Cloud ให้ มี Server, OS, Data Base, Storages และ Software พร้อมที่จะให้หน่วยงานใช้ได้เลย จากเดิมอาจจะใช้เวลากว่า 1 ปี ให้ลดลงเหลือเพียง 1 สัปดาห์ เป็นต้น
สิ่งที่ สรอ. ต้องคิดต่อ คือ เมื่อมีระบบ Cloud แล้ว เราต้องมีแอปพลิเคชั่นด้วย แต่แทนที่ สรอ.จะมุ่งวิจัยและพัฒนาแอปพลิเคชั่นเอง ก็เลือกที่จะเชิญชวนภาคเอกชนเข้ามาร่วมพัฒนาแอปพลิเคชั่น เราก็จะได้แอปพลิเคชั่นหลากหลายเหมือนกับ App Store หรือ Android Market โดยก่อนที่จะเปิดให้เอกชนพัฒนาแอปพลิเคชั่นขึ้นมา จะต้องมีการจัดอบรมให้กับผู้สนใจว่า แอปพลิเคชั่นภาครัฐที่ต้องการมีอะไรบ้าง และแต่ละแอปพลิเคชั่นมีมาตรฐานอะไรบ้าง มีระบบความปลอดภัยของข้อมูลอย่างไร เมื่อเอกชนพัฒนา App ขึ้นมา ทาง สรอ. ก็จะทำการทดสอบในระดับหนึ่งก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง ทั้งนี้ภาคเอกชนเองไม่ต้องเสียเงินลงทุนเลย เพราะสรอ. ทำ Cloud ไว้ให้แล้ว ส่วน Business Model ภาครัฐจากเดิมที่อาจจะมีงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้าง ก็ปรับมาเป็นลักษณะการเช่าใช้ระบบจากเอกชนแทน ด้วยรูปแบบนี้จะเกิดการกระตุ้นให้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศไทยมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเปิดกว้าง สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับภาคเอกชน เมื่อเปิดเสรีให้เอกชนสามารถแข่งขันได้ ส่วนลูกค้าคือ หน่วยงานภาครัฐทั้งหมด
นอกจากเรื่องe-Government Cloud แล้ว สิ่งหนึ่งที่ สรอ. อยากจะผลักดัน คือ Smart Card อยากให้มีการใช้ประโยชน์จาก Smart Card มากขึ้น“ดัชนีชี้วัดการทำงานของ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ คือ ประชาชนได้อะไรจากสิ่งที่เราทำ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือSmart Card หากทำได้ ซึ่งผมมองว่าทำได้ไม่ยาก เพราะมีโครงสร้างพื้นฐานพร้อมแล้ว ที่เหลือเพียงแต่หน่วยงานภาครัฐทั้งหลายจะสมัครใจมาร่วมกับเราไหม เราจะมีหน่วยงานในกระทรวงไอซีทีที่จะแก้กฎระเบียบต่างๆ ให้มีความถูกต้อง หากทำอย่างนี้ได้ ประชาชนก็จะได้ประโยชน์และไม่เสียเวลาในการเดินทางไปติดต่องานราชการส่วน ประโยชน์ที่ภาคเอกชนจะได้รับ คือ การทำธุรกรรมภาครัฐ อาทิ การส่งใบเสร็จทั้งหลายไปให้สรรพากรตรวจสอบ หากเปลี่ยนเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งหมด ก็จะทำงานง่ายขึ้น ย่นระยะเวลาในการตรวจสอบ เอกชน สามารถลดค่าใช้จ่ายลง และยังสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ภาคเอกชนด้วยในตัว เมื่อประชาชนได้ เอกชนได้ ภาครัฐเอง เราก็เข้าไปช่วยทำให้ชีวิตการทำงานของเขาง่ายขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ประเทศในภาพรวม สรุปสิ่งที่เราทำ คือ ลดงบประมาณ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้บริการของภาครัฐ ทำให้ประชาชนสะดวกสบายขึ้น แต่การนำไอทีมาใช้ก็ต้องมีความมั่นคง ปลอดภัย และผู้ใช้เกิดความเชื่อมั่นกฎหมาย ไอซีทีที่รองรับการทำธุรกรรมมีแล้วท้ายที่สุดหากเราสามารผลักดันจนกระทั่งคน นั่งทำธุรกรรมอยู่ที่บ้าน ประชาชนก็จะเกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น ยิ่ง ณ ปัจจุบัน ปัญหาภัยพิบัติ น้ำท่วม รถติด ระบบไอทีน่าจะตอบโจทย์ตรงนี้ได้ ณ ที่เดียว ทั่วไทย ทุกที่ ทุกเวลา” ดร.ศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย