อีจีเอ จัดสัมมนา “ก้าวสู่ผู้บริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ระดับสากล
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) จัดงานสัมมนา “ก้าวสู่ผู้บริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ระดับสากล” และพิธีมอบประกาศนียบัตร ให้กับผู้สำเร็จการอบรมหลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ ๔ เพื่อพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ต่อยอดในการขับเคลื่อนรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกัน ตลอดจนให้ผู้บริหารภาครัฐสามารถเข้าใจเศรษฐกิจยุคดิจิตอลและสามารถประยุกต์ ไปใช้งานได้จริงในองค์กร
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ อีจีเอ เป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นองค์การมหาชน จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้มีอำนาจหน้าที่พัฒนา บริหารจัดการ และบริการโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ในส่วนที่เกี่ยวกับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงส่งเสริม สนับสนุน และจัดอบรมเพื่อยกระดับทักษะความรู้ความสามารถด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
อีจีเอ ได้จัดโครงการอบรมหลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์รุ่นที่ ๔ ให้กับผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำหน้าที่กำกับดูแลนโยบายและการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร เพื่อเป็นการให้ความรู้ ทักษะทางด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงการศึกษาดูงานทางด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ณ ประเทศสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการและการให้บริการประชาชนสู่ระดับ สากล
ด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ อีจีเอ จึงจัดงานสัมมนา “ก้าวสู่ผู้บริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ระดับสากล” และพิธีมอบประกาศนียบัตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ ๔ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากโครงการอบรมดังกล่าว และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในมุมมองของการบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และประเทศญี่ปุ่นกับประเทศไทย รวมถึงกรณีศึกษาของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย เพื่อจะได้แนวทางในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือต่อยอดในการขับเคลื่อนรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกัน โดยมี นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน และมอบประกาศนียบัตรในครั้งนี้ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ณ ห้องบอลรูม บี ชั้น เอ็ม โรงแรมปทุมวัน ปริ้นเซส
การสัมมนาครั้งนี้ “กล่าวรายงาน โครงการอบรมหลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และงานสัมมนาก้าวสู่ผู้บริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ระดับสากล” โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีจีเอ และ “รายงานนำเสนอแนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดย นายธนู มีแสงเงิน รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และประธานรุ่นหลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ ๔
นอกจากนี้กล่าวแสดงยินดี ผู้สำเร็จหลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ ๔ โดย นายนิพนธ์ วรรณโกษิตย์ รองผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย สายวิศวกรรม ประธานรุ่น หลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ ๒ และเสวนา ในหัวข้อ “กรณีศึกษาการดูงาน ณ ประเทศสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และประเทศญี่ปุ่นสู่การประยุกต์เพื่อการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ประเทศ ไทย” โดย นายชัยรัตน์ เกื้ออรุณ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมชลประทาน, นายอรรถพล ถาน้อย ผู้อำนวยการกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ, นางศิริภา ชูจันทร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนเทคโนโลยีสารสนเทศ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ดำเนินการเสวนา โดย นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
————————————————————————————————————
ไอซีทีดันนโยบายสร้างดิจิตอลภาครัฐขับเคลื่อนดิจิตอลอีโคโนมี ดันสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เดินหน้า ผลักโอเพ่นเดต้า สร้างคนและองค์กรรัฐให้เข้าสู่ยุคดิจิตอล EGA เผย คว้ารางวัล FutureGov และได้ ISO 27001 ย้ำความเชื่อมั่นของบริการ เชื่อปีหน้าภาครัฐเข้าสู่บริการผ่านมือถือ
นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT เปิดเผยว่า จากนโยบายการสร้างประเทศไทยเข้าสู่ Digital Economy ซึ่งถือเป็นการขับเคลื่อนทุกภาคส่วนของประเทศเข้าสู่ยุคดิจิตอลเพื่อทำให้นำ เทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หนึ่งในการขับเคลื่อนที่สำคัญก็คือ การปรับเปลี่ยนภาครัฐและราชการเข้าสู่ยุค Digital Government ซึ่งจะเป็นภาพที่ใหญ่กว่านโยบาย Electronic Government ดังเช่นที่ผ่านมา
สิ่งที่เด่นชัดในยุคของ Electronic Government ก็คือ การเปลี่ยนยุคกระดาษเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิกส์ ปรับลดกระบวนการและแปรเปลี่ยนเอกสารหรือฟอร์มต่างๆ มาสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในยุคนี้ก็ต้องต่อสู้กันในแง่ของพฤติกรรมการทำงานที่ติดกับกระดาษมาอย่าง ยาวนาน เช่น การต้องใช้สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านในทุกเรื่องราว ซึ่งเกี่ยวโยงกับกฎหมายหลายอย่างที่ทำให้การปรับเปลี่ยนเป็นไปด้วยความลำบาก แต่อย่างไรก็ตามจากความพยายามของรัฐบาลก็ทำให้ค่อยๆ ขจัดปัญหาเหล่านี้ให้เหลือน้อยที่สุด
ขณะที่ภาครัฐของไทยกำลังก้าวเข้าสู่ e-Government เต็มตัว แต่กระแสโลกก็สร้างแนวโน้มใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตของ Social Network, Big Data และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ภาครัฐของไทยก็ต้องวางยุทธศาสตร์การเติบโตใหม่ โดยจะเน้นเข้าสู่ยุค Digital Government ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนใหญ่ให้ประเทศก้าวเข้าสู่ Digital Economy
Digital Government ในช่วงแรกนั้นทางสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA ได้วางรากฐานชั้นดีเอาไว้แล้ว ตั้งแต่การสร้างระบบ Government Information Network หรือ GIN อันเป็นระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ ที่เชื่อมต่อกับทุกหน่วยงานภาครัฐทำให้เกิดโครงข่ายการบริหารงานที่มี ประสิทธิภาพ มีระบบ Government Cloud Computing หรือ G-Cloud ที่รองรับทั้ง Infrastructure as a Service, Platform as a Service จนถึง Application as a Service ซึ่งภาครัฐในช่วงสองปีมานี้ตื่นตัวในการใช้ระบบนี้จำนวนมาก ซึ่งโครงสร้างเหล่านี้ทำให้การปรับเปลี่ยนภาครัฐเข้าสู่ยุค Digital Government ทำได้ง่ายขึ้น
ในปีนี้โครงการสำคัญของ EGA ที่จะดำเนินการเรื่อง Mobile Government และ Open Government Data ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่จะวางฐานเพื่อสร้างการต่อยอดจากโครงสร้างพื้นฐานที่ ดำเนินการไปแล้ว ซึ่งจะทำให้ Digital Government ผลักดันภาคอุปสงค์ลงสู่ภาคประชาชนได้อย่างเต็มตัว เกิดนวัตกรรมใหม่ เกิดการสร้างงานใหม่ๆ จากการนำข้อมูลภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ไปใช้งานให้เกิด Business Model หรือ ความคิดทางธุรกิจใหม่ๆ ได้อย่างไม่สิ้นสุด
นอกจากเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน และการสร้างเครื่องมือในการเป็น Digital Economy โดยผ่าน Digital Government แล้ว ในส่วนของภาครัฐจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรรองรับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ด้วย จะเห็นว่ากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT ได้ร่วมมือกับ EGA ในการวาง Digital Government Organization เอาไว้แล้ว ว่าควรจะมีโครงสร้างคนอย่างไร รวมถึงกฎระเบียบต่างๆ ที่จะรองรับ สิ่งที่ต้องเร่งมือและถือเป็นเรื่องเร่งด่วนคือ การสร้าง Digital Executive หรือ ผู้บริหารที่จะเข้ามารับผิดชอบด้านการปรับเปลี่ยนภาครัฐเข้าสู่ยุคดิจิตอล อย่างเช่น โครงการอบรมหลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 4 แล้ว ก็สามารถสร้างบุคลากรรองรับได้อย่างดี ทำให้ผู้บริหารภาครัฐสามารถเข้าใจเศรษฐกิจยุคดิจิตอลและสามารถประยุกต์ไปใช้ งานได้จริงในองค์กร
การสร้าง Digital Executive จะมีอย่างต่อเนื่อง และจะมีการลงรายละเอียดมากขึ้น ไม่เพียงแต่จะมี CIO ดังเช่นในอดีต แต่ต้องมี CDO หรือ Chief Data Officer ที่ต้องเข้ามาดูเรื่องการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐโดยตรง และจะต้องมีคนที่เข้ามาดูเรื่อง Big Data และอื่นๆ มีหลายอย่าง เพื่อให้ภาครัฐมีความทันสมัย เท่าทันเทคโนโลยี และทำให้การบริการประชาชนสามารถเป็นหนึ่งเดียวกับความต้องการของพวกเขา
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EGA เปิดเผยว่า ในรอบปีที่ผ่านมานอกจากการวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับให้หน่วยงานภาครัฐ เข้าสู่การเป็น Digital Government แล้ว มาตรฐานของการบริการซึ่งถือว่าเป็นสาธารณูปโภคส่วนกลางเป็นหน้าที่ของ EGA ที่จะทำให้เกิดการยอมรับจากหน่วยงานรัฐด้วยกัน เนื่องจากนโยบายการผลักดันของ EGA จะเน้นความสมัครใจไม่ใช่การบังคับใช้งาน
หลังจากที่ EGA ได้รับมาตรฐานด้านความปลอดภัยด้านคลาวด์คอมพิวติ้งจาก CSA หรือ Cloud Security Alliance ซึ่งเป็นองค์กรที่คุมมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยบนระบบคลาวด์แล้ว ในรอบปีที่ผ่านมายังได้รับรางวัล FutureGov Award2014 ในสาขา Government Cloud Award จากโครงการ G-Cloud ของ EGA และ สาขา Information Management Award จากโครงการ e-Sarabun ของ EGA ซึ่งรางวัลนี้แสดงให้เห็นว่าในระดับนานาชาตินั้นมีความเชื่อมั่นในระบบและ บริการของ EGA อย่างมาก และยังเห็นว่า EGA มีวิสัยทัศน์ที่ล้ำหน้ากว่าหน่วยงานรัฐในอีกหลายประเทศ
นอกจากนั้น EGA ยังได้รับการรับรองระบบมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ หรือ ISO/IEC27001:2005 ในด้านบริการ G-Cloud ในระดับ IaaS หรือ Infrastructure as a Service จาก บริษัท บีเอสไอ กรุ๊ป ประเทศไทย เป็นการสะท้อนถึงการบริหารจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศที่เป็น มาตรฐานสากล มีแผนการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ใช้บริการมั่นใจในบริการ และความปลอดภัยของข้อมูล
การวางรากฐานการบริการให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากลของ EGA เพื่อที่จะทำให้เกิด Digital Organization ทำให้ภาครัฐที่จะเข้ามาใช้บริการสามารถได้รับบริการที่ดีได้ทันทีที่ร้องขอ ขณะเดียวกัน EGA ก็จะพัฒนาผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐให้เข้ามาใช้ทรัพยากรเหล่านี้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านโครงการอบรมหลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะเน้นแนวทางการมีส่วนร่วมของแต่ละหน่วยงานเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็จะดึงความคิดเห็นและแนวทางการทำธุรกิจของภาคเอกชนมาต่อยอดด้วย
ในปีหน้า EGA จะเพิ่มโครงสร้างพื้นฐาน เช่นการต่อเชื่อมผ่านระบบ GIN การสร้างระบบคลาวด์คอมพิวติ้งให้รองรับหน่วยงานรัฐมากขึ้น ขณะเดียวกันจะเน้นให้ภาครัฐเปิดเผยข้อมูลเป็น data set เพื่อให้ทุกหน่วยงานสร้าง API มาต่อเชื่อม และเกิดเป็นมูลค่าเพิ่ม โดยมีภาคเอกชนมาต่อยอดทั้งจากการนำ data set ในโครงการ Open Data ไปสร้างแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ และการผลักดันให้เกิดแอพพลิเคชั่นภาครัฐที่ใช้งานบนเครื่องติดตามตัวทั้ง หลายอีกด้วย
ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.855460847856891.1073741882.542226425847003&type=3