สถาบัน TDGA by DGA จัดการอบรมหลักสูตรรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (รอส.) รุ่นที่ 10 ครั้งที่ 12


20 May 2567
สถาบัน TDGA by DGA จัดการอบรมหลักสูตรรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (รอส.) รุ่นที่ 10 ครั้งที่ 12
สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (TDGA by DGA) ได้จัดการอบรมหลักสูตรรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (รอส.) รุ่นที่ 10 ครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการ สถาบัน ไอเอ็มซีเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ Data-Driven Organization: Looking beyond “Digital Transformation Lessons Learned and Data-Driven Experience and the Future” โดยมี นางไอรดา เหลืองวิไล รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และ นายชรินทร์ ธีรฐิตยางกูร ผู้อำนวยการฝ่ายขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลดิจิทัล เข้าร่วมรับฟังและแชร่ไอเดียร่วมกับผู้เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ด้วย
 
สำหรับการบรรยายมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางองค์กรสู่ดิจิทัล (Digital transformation) ที่ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นสิ่งที่ต้องทำ โดยวิทยากรได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรพร้อมกับยกตัวอย่างกรณีศึกษา สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ ได้แก่ การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล (Digital transformation) การนำเอาเทคโนโลยีมาปรับเปลี่ยนประยุกต์ใช้ในองค์กรเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบและกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Digitalization) และ การเปลี่ยนแปลงการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล (Digitization) ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัล (Digital transformation) ได้แก่ ผู้คน (People) กระบวนการทำงาน (Process) และเทคโนโลยี (Technology)
ทั้งนี้การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลนั้นจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อผู้บริหารองค์กร ตระหนักถึงความสำคัญและเป็นผู้ที่ริเริ่มและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่าน เพราะว่าการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลนั้นคือยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ขององค์กร ไม่ใช่ความรับผิดชอบของฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) แค่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น
 
นอกจากนี้ คณะวิทยากรและที่ปรึกษาสถาบัน TDGAฯ ได้ดำเนินกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้จัดเตรียมข้อมูลจากการศึกษาดูงานต่างประเทศสำหรับการถอดบทเรียน โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่ม 1: ข้อมูลเบื้องต้นของหน่วยงานและความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานแต่ละหน่วยงานที่ศึกษาดูงาน
กลุ่ม 2: วิเคราะห์เปรียบเทียบสถานภาพ/ประเด็นสำคัญการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย กับ ราชอาณาจักรสวีเดน และ สาธารณรัฐเอสโตเนีย
กลุ่ม 3: ปัจจัยสู่ความสำเร็จ (Key Success Factor) ของการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลราชอาณาจักรสวีเดน และ สาธารณรัฐเอสโตเนีย
กลุ่ม 4: ข้อเสนอแนะในการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย