Thailand Digital Government 2021 (DG2021)
Thailand Digital Government Vision 2021 หรือ วิสัยทัศน์รัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย 2021 คือกรอบยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย ที่กำหนดเป้าหมายให้ประเทศไทยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ทันสมัย รองรับการพัฒนาประเทศสู่การเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เพื่อยกระดับขีดความสามารถเชิงดิจิทัลของภาครัฐไทยให้เป็นเอกภาพและเห็นผลจริง ซึ่งการขับเคลื่อนไปให้ถึงเป้าหมายที่ทุกฝ่ายต้องการนั้น ต้องการความร่วมมือจากส่วนราชการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รับทราบการประกาศแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ตลอดจนเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
โดยเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2560 จึงได้มีการจัดประชุมส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการมอบนโยบายและกล่าวปาฐกถาพิเศษ “รัฐบาลดิจิทัล กุญแจสู่ประเทศไทย 4.0” ในงานสัมมนา “วิสัยทัศน์รัฐบาลดิจิทัลประเทศไทย : Thailand Digital Government Vision 2017 – 2021”
โดยสาระสำคัญของแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยนั้น กล่าวถึงในอีก 5 ปีข้างหน้าภาครัฐไทยจะยกระดับสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน มีการทำงานแบบอัจฉริยะ ให้บริการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง” โดยอยู่บนพื้นฐานของ
- การบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน (Government Integration)
- การนำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ดิจิทัลมาสนับสนุนการปฏิบัติงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม (Smart Operations) ประหยัด และคุ้มค่า
- การยกระดับงานบริการภาครัฐให้ตรงกับความต้องการของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (Citizen-centric Services)
- การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่รัฐบาลดิจิทัลในทุกระดับของบุคลากรภาครัฐ ซึ่งรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงองค์กรในขั้นตอนการทำงาน เทคโนโลยี และกฎระเบียบ (Driven Transformation)
ซึ่งความคาดหวังต่อจากนี้คือ ทุกหน่วยงานจะร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลตามวิสัยทัศน์ดังกล่าว ด้วยความมุ่งมั่น เอาจริงเอาจัง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งการให้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐทุกภาคส่วน ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลไปพร้อมกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประเทศชาติต่อไป
แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
“ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัลและวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลให้เริ่มขับเคลื่อนได้อย่างจริงจัง ซึ่งจะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้”
ประโยคสำคัญที่เป็นหัวใจหลักที่ทำให้เกิด แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขึ้นโดย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารร่วม (ชือเดิมของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แทนแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ของประเทศ (เดิม) เพื่อเป็นกรอบแนวทางการดำเนินการตามนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของรัฐบาลให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยและหลากหลายมาเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินธุรกิจ การดำเนินชีวิตของประชาชน และการดำเนินงานของภาครัฐ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่แข่งขันได้ในเวทีโลก และความมั่นคงทางสังคมของประเทศต่อไป
แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย หากแต่เป็นการต่อยอดการพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานอื่นๆ ทั้งจากภาครัฐ ภาคประชาชน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม
แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเทคโนโลยีและบริบททางเศรษฐกิจและสังคมกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปสู่ยุคดิจิทัล และหลากหลายประเทศทั่วโลกเช่น สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดีย ฯลฯ ต่างแข่งขันกันพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ดังนั้น แผนพัฒนาดิจิทัลฯ ฉบับนี้ จึงมุ่งหวังปฎิรูปประเทศไทยให้ทันต่อบริบทดังกล่าวด้วยเช่นกัน ตั้งแต่การเร่งวางรากฐานดิจิทัลของประเทศผ่านการลงทุนครั้งใหญ่ การสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่ทุกคนมีส่วนร่วมตามแนวทางประชารัฐ การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคม และใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพ จนถึงการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ที่สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างมูลค่า และขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนในระยะยาวแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย หากแต่เป็นการต่อยอดการพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และหน่วยงานอื่นๆ ทั้งจากภาครัฐ ภาคประชาชน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม
แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเทคโนโลยีและบริบททางเศรษฐกิจและสังคมกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปสู่ยุคดิจิทัล และหลากหลายประเทศทั่วโลกเช่น สหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป ออสเตรเลีย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดีย ฯลฯ ต่างแข่งขันกันพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ดังนั้น แผนพัฒนาดิจิทัลฯ ฉบับนี้ จึงมุ่งหวังปฎิรูปประเทศไทยให้ทันต่อบริบทดังกล่าวด้วยเช่นกัน ตั้งแต่การเร่งวางรากฐานดิจิทัลของประเทศผ่านการลงทุนครั้งใหญ่ การสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลที่ทุกคนมีส่วนร่วมตามแนวทางประชารัฐ การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคม และใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพ จนถึงการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ที่สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างมูลค่า และขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืนในระยะยาว
การดำเนินงานของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ในการดำเนินการเพื่อตอบสนองนโยบายดังกล่าว สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ได้จัดทำ “แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559-2561)” ขึ้นเพื่อกำหนดทิศทางในการยกระดับขีดความสามารถเชิงดิจิทัลของภาครัฐไทยให้เป็นเอกภาพและเป็นรูปธรรมให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล และตอบสนองต่อความต้องการของภาคประชาชนและภาคธุรกิจ เพื่อให้เกิดผลที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
“แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559-2561)”
ในเนื้อหานั้น ได้ระบุถึงขีดความสามารถเชิงดิจิทัลหลักของภาครัฐไทยสามารถแบ่งได้เป็น 26 ด้าน โดยการจัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลระยะที่หนึ่ง ครอบคลุมขีดความสามารถหลักทั้งหมด 18 จาก 26 ด้าน เช่น
- การบูรณาการข้อมูลภาครัฐเพื่อยกระดับบริการ การยืนยันตัวตนและบริหารจัดการสิทธิ์
- การให้ข้อมูล
- การรับฟังความคิดเห็น
- โครงสร้างพื้นฐานการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์
- การพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาครัฐ
- การให้ความช่วยเหลือ
- การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน
- การเพิ่มประสิทธิภาพภาคการเกษตร
- การท่องเที่ยว การลงทุน การค้า (นำเข้า/ส่งออก) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาษีและรายได้ ความปลอดภัยสาธารณะ
- การบริหารจัดการชายแดน
- การป้องกันภัยธรรมชาติ
- การจัดการในภาวะวิกฤต
ทั้งนี้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านเทคโนโลยี ด้านความต้องการของภาคประชาชน ด้านการแข่งขันในเวทีโลก และด้านภารกิจของรัฐบาลปัจจุบัน ทำให้มีความจำเป็นต้องผลักดันภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน มีการดำเนินงานแบบอัจฉริยะ ให้บริการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง
แนวทางยกระดับบุคลากรภาครัฐ
ในด้านของการพัฒนาคุณภาพบุคลากรภาครัฐให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสมัยของรัฐบาลดิจิทัลนั้น ได้มีการจัดตั้ง สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลภาครัฐ หรือ Thailand Digital Government Academy (TDGA) ขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล โดยบุคลากรภาครัฐทุกระดับจะต้องผ่านการอบรมจากสถาบันนี้ ด้วยหลักสูตรที่เหมาะสมกับความสามารถทางด้านติจิทัลในแต่ละระดับ หรือ Digital Literacy ของแต่ละบุคคล
เกี่ยวกับ TDGA เอกสารข้อมูลสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล
website สถาบัน https://tdga.ega.or.th
ตัวอย่างทักษะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ
ในท้ายที่สุดแล้ว การเข้าสู่ยุคของรัฐบาลดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบจะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เลยหากขาดความร่วมมือจากทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการร่วมขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลไปสู่เป้าหมายให้สำเร็จตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือสิ่งที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไปพร้อมกัน