รายงานการศึกษาและการยกระดับ UN e – Government Readiness Ranking 2012
รายงานการศึกษาและการยกระดับ UN e – Government Readiness Ranking 2012
ปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีบทบาทที่สำคัญใน การขับเคลื่อนองค์กรและประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยในการพัฒนารัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) เพื่อลดช่องว่าง ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และระยะห่างระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนากับประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ไม่เพียงแค่มีเทคโนโลยี ฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการยกเลิกวิธีปฏิบัติเก่าๆ ที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน การปฏิรูประบบการปฏิบัติงานภาครัฐเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญโดยยึดเอาประชาชนเป็นศูนย์กลางและสร้าง สังคมสารสนเทศ (e-Government for the People) โดยทิศทางในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นถือเป็น กระบวนการสำคัญในการทำให้เกิดการเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Connected Government) ตามแนวคิดขององค์กรสหประชาชาติ ซึ่งการพัฒนา Connected Government นั้นเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับรัฐบาลไทยเป็นอย่างมาก หากทำสำเร็จจะเป็นการสร้างมิติใหม่ของหน่วยงานรัฐในลักษณะที่เดียว ทันใจ ทั่วไทย ทุกเวลา ซึ่งผลลัพธ์ก็คือ การที่ประชาชนและภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐได้อย่างสะดวก ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน รวมทั้งเป็นการลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการใช้บริการ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้การบริหารงานของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส อันจะช่วยยกระดับธรรมาภิบาลในการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย
จากการสำรวจรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations e-Government Readiness) จาก รายงาน United Nations E-Government Survey 2012 พบว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 92 จากจำนวนประเทศสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ซึ่ง ปี ค.ศ. 2010 ไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 76 และปี ค.ศ. 2008 ไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 64 นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่จะต้องแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาในจุดที่ด้อย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสามารถที่จะยืนอยู่บนเวทีโลกได้ อย่างภาคภูมิ และเพื่อให้รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็น Connected Government โดยยึดเอาประชาชนเป็นศูนย์กลางและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิง นโยบายผ่านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Participation)
United Nations E-Government Survey คือ รายงานการจัดอับดับความพร้อมของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 จนถึงปัจจุบัน โดยหลังจากปี 2008 ได้ดำเนินการจัดทำรายงานทุกๆ 2 ปี ซึ่งประกอบด้วยดัชนีย่อย 3 ด้าน ได้แก่
นอก จากนี้ ในรายงานยังมีการจัดทำดัชนีที่สำคัญอีก 1 ตัวคือ e-Participation Index โดยการแบ่งระดับของการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนสามารถแบ่งออก เป็น 3 ระดับ ได้แก่
e-Information, e-Consultation, e-Decision making
แผนภาพแสดงการเปรียบเทียบ Index ของประเทศไทยและประเทศต่างๆ (ข้อมูลปี 2012)
- ดำเนินการให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันกับ International Telecommunication Union (ITU) และ United Nations ตามกำหนดระยะเวลาการส่งข้อมูล
- สร้างหรือร่วมมือกับ Community Online เพื่อผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน
- ผลัก ดันกรอบการดำเนินงานตาม Open Government ให้อยู่ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 3) เพื่อเข้าใจและตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาที่มุ่งเน้นอุปทานเป็นมุ่งเน้นที่อุปสงค์ (Supply-side to Demand-side)
- เร่งผลักดันให้นโยบายทางด้าน ICT เป็นวาระแห่งชาติ รวมทั้งยกให้เป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนให้ความตระหนัก โดยอาจจะเสนอรายงานสรุปเข้า ครม. เพื่อให้เกิดแนวทางการดำเนินงานในลำดับถัดไป
- วิเคราะห์ และดำเนินการโครงการต่างๆ ที่พัฒนา e-Government ของประเทศ เช่น โครงการพัฒนาต่อยอด e-Government Portal โครงการประเมินการพัฒนา e-Government ระดับกรม โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของประเทศ เป็นต้น
- ศึกษา Fundamental Problems เพื่อการพัฒนา e-Government ของประเทศไทยอย่างยั่งยืน
- ผลักดันให้เอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับประชาชน เช่น Internet Broadband เป็นต้น
- วาง สถาปัตยกรรมการจัดการองค์กร (Enterprise Architecture: EA) ของ e-Government เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน (Citizen Centricity) และนำไปสู่การเป็น Connected Government และยกระดับ e-Participation ต่อไป