โครงการประกวดนวัตกรรม “ท้องถิ่นดิจิทัล” ประจำปี 2566


13 July 2566
6509

ประกาศผลรายชื่อหน่วยงานที่ได้รางวัล โครงการประกวดนวัตกรรม “ท้องถิ่นดิจิทัล” ประจำปี 2566

ท่ามกลางการความผันผวนของโลกาภิวัตน์ ปัญหาด้านเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์และสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญของการปรับตัวในหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ของประเทศไทยให้ปรับวิธีคิดและเปลี่ยนแปลงรูปแบบการให้บริการประชาชนและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ มุ่งสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัลให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนภาครัฐที่ยึดหลัก “  ภาครัฐของประชาชน เพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม  ” โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาท ภารกิจ แยกแยะบทบาทหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับหรือในการให้บริการยึดหลักธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการทำงานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม มีความทันสมัย และพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบการทำงานที่เป็นดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างคุ้มค่า และปฏิบัติงานเทียบได้กับมาตรฐานสากล รวมทั้งมีลักษณะเปิดกว้าง เชื่อมโยงถึงกัน และเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใส โดยทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต ความมัธยัสถ์ และสร้างจิตสำนึกในการปฏิเสธไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้น กฎหมายต้องมีความชัดเจน มีเพียงเท่าที่จำเป็น มีความทันสมัย มีความเป็นสากล มีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำและเอื้อต่อการพัฒนา โดยกระบวนการยุติธรรมมีการบริหารที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และการอำนวยความยุติธรรมตามหลักนิติธรรม  และตอบโจทย์ของยุทธศาสตร์ที่ 4 ของนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะที่ 2-3 Digital Thailand : Inclusion and Full Transformation ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2566 – 2570 และ แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ปี พ.ศ 2566-2570 ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยกระดับการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลภาครัฐ เพื่อการบริหารงานที่มีความยืดหยุ่น คล่องตัวและขยายสู่หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่น และพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2565 ที่เน้นย้ำการอำนวยความสะดวกของประชาชนเพิ่มช่องทางออนไลน์ในการติดต่อราชการ เพื่อผลักดันและสนับสนุนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล สร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การค้นคว้าและการวิจัยองค์ความรู้ในการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องและเพิ่ม ประสิทธิภาพของขีดความสามารถในการให้บริการของภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล

โครงการประกวดนวัตกรรม “ท้องถิ่นดิจิทัล” ประจำปี 2566 ภายใต้การดำเนินการของศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาครัฐ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. จึงเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวที่มุ่งเน้นไปยังพื้นที่ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเสมือนเครื่องมือที่จะช่วยยืนยันถึงศักยภาพผลงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ ที่มีความสามารถในการดำเนินการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลที่มีการให้บริการจริง ช่วยพัฒนาคุณภาพการให้บริการที่ดีขึ้น และสามารถเป็นต้นแบบให้กับหน่วยงาน อปท. อื่น ๆ เพื่อผลักดันให้เกิดการนำเครื่องมือพร้อมใช้ต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้งานไปพร้อม ๆ กัน และที่สำคัญเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้หน่วยงานทุกระดับปรับตัวตามเกณฑ์ของความเป็นรัฐบาลดิจิทัลได้เร็วขึ้น  ทั้งนี้ในปี พ.ศ.2566 เป็นปีที่ 3 ของโครงการฯ โดยในปีที่ผ่านมามีหน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่นให้ความสนใจจำนวนมาก และร่วมส่งผลงานนวัตกรรมท้องถิ่นดิจิทัลในการบริหารและให้บริการประชาชนเข้ามานำเสนอและสามารถที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่า 100 ผลงาน  ที่สำคัญในส่วนของหน่วยงานที่ได้รับรางวัล “ยอดเยี่ยม” จะยังได้รับเกียรติรับรางวัลสมทบรัฐบาลดิจิทัล หรือ DG Awards หมวดท้องถิ่นดิจิทัล อีกจำนวน 3 รางวัล โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากลั่นกรองและคัดเลือกผลงานของหน่วยงาน อปท. ทั่วประเทศ เพื่อมอบรางวัลดังกล่าวให้เป็นขวัญกำลังใจและเป็นตัวอย่างกับหน่วยงานอื่น ๆ ในปีถัดไป เพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมของเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับภาครัฐไทย โดย สพร. และหน่วยงานพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง พร้อมสนับสนุนให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะสำหรับแผนดำเนินการที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือและผลักดันการพัฒนาโครงการนวัตกรรมต่าง ๆ ของภาครัฐ ให้บรรลุผลสำเร็จอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเฟ้นหาและคัดเลือกตัวแทนจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามเกณฑ์การพิจารณา ที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานและให้บริการประชาชนในท้องถิ่น โดยยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชน เพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม” และประสบความสำเร็จในมุมมองของประชาชนในพื้นที่ที่ได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง
  2. เพื่อสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนมุมมอง และถ่ายทอดประสบการณ์ความสำเร็จให้หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ เรียนรู้และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือปรับใช้งานในพื้นที่ คาดหวังว่าโครงการจะก่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง ภาคประชาชนและหน่วยงานพันธมิตรจากทุกภาคส่วนในพื้นที่อย่างยั่งยืน

คุณสมบัติของผลงานที่ส่งเข้าประกวด

  1. เป็นผลงานนวัตกรรมที่มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการทำงานของภาครัฐเท่านั้น
  2. เป็นผลงาน/โครงการที่เริ่มใช้งานจริง ไม่น้อยกว่า 6 เดือน นับถึงวันสิ้นสุดการรับสมัคร หรือ เริ่มใช้งานจริงก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
  3. หน่วยงานผู้ส่งผลงานนวัตกรรมดิจิทัลเข้าประกวด ต้องเป็นหน่วยงานราชการในรูปแบบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เท่านั้น
  4. ไม่เป็นผลงาน/โครงการที่เคยได้รับรางวัลของโครงการประกวดนวัตกรรม “ท้องถิ่นดิจิทัล” ประจำปี 2564 และ 2565

เกณฑ์การพิจารณา

สัดส่วนคะแนน

หมวดที่ 1 ปัญหา

 

1. ปัญหา (Pain point) และกระบวนการที่ทำให้ทราบถึงปัญหา จนเป็นที่มาของการพัฒนาผลงานที่ส่งเข้าประกวดสอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่อย่างไร โดยสามารถระบุวัตถุประสงค์ของผลงานได้อย่างชัดเจน

15

หมวดที่ 2 นโยบายและแผนงาน

 

2. นโยบายหรือแผน ตลอดจนวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการทำงานหรือให้บริการประชาชน แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่อย่างแท้จริง

10

หมวดที่ 3 กระบวนการทำงาน

 

3. ลักษณะของ ผลงาน/โครงการ นวัตกรรมดิจิทัลที่ส่งเข้าประกวด ความริเริ่มสร้างสรรค์ของผลงาน/โครงการ รูปแบบการพัฒนาผลงาน/โครงการ และผู้ร่วมพัฒนา

25

4. การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ และเข้าถึงบริการ การมีส่วนร่วมของประชาชนและการเปิดเผยหรือเผยแพร่ข้อมูลที่จำเป็นเหมาะสมต่อการรับรู้ของประชาชน

10

หมวดที่ 4 ผลลัพธ์การพัฒนาต่อยอดเป็นรูปธรรม

 

5. เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของ ผลงาน/โครงการ ที่ส่งเข้าประกวด ความสำเร็จของผลงาน/โครงการ

15

6. การมีส่วนร่วม และ/หรือผลตอบรับจากการใช้งานจริง กับภาคประชาชน และ บุคคลากรขององค์กร อย่างเหมาะสมเพียงใด

15

7. แนวทางในการปรับปรุงหรือพัฒนาต่อยอดในอนาคต (Roadmap) มีความยั่งยืน ชัดเจน และเป็นไปได้

10

รวม

100

* ผู้จัดประกวดขอสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลียน/เพิ่ม/ลด เกณฑ์การพิจารณาเพื่อความเหมาะสมต่อการพิจารณาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

ขั้นตอนการส่งผลงานเข้าประกวด

  1. ดาวน์โหลด คำแนะนำในการให้ข้อมูล  (File: guide.docx)  , ใบส่งผลงานนวัตกรรมดิจิทัลเข้าประกวด (File: submission form.docx)
  2. ทางผู้จัดการประกวดได้จัดทำ  PowerPoint Template  หรือ  คลิปวิดีโอ  ที่ประกอบด้วยหัวข้อที่คณะกรรมการตัดสินใช้พิจารณา ผู้เข้าประกวดสามารถดาวน์โหลดและใช้ Template ในการให้ข้อมูลผลงานนวัตกรรมดิจิทัลของหน่วยงานท่านที่ต้องการส่งเข้าประกวด หรือท่านอาจใช้ PowerPoint Template อื่น ๆ ที่ท่านจัดทำขึ้นในการให้ข้อมูลของโครงการได้ โดยเนื้อหาควรครอบคลุมหัวข้อที่ระบุไว้ในคำแนะนำในการให้ข้อมูลเป็นอย่างน้อย
  3. กรอกข้อมูลและใส่เครื่องหมายถูก ในช่องสี่เหลี่ยม เพื่อยอมรับเงื่อนไขของการส่งผลงานเข้าประกวดใน ใบส่งผลงานนวัตกรรมดิจิทัลเข้าประกวด พร้อมลงลายมือชื่อ สแกนใบส่งผลงานนวัตกรรมดิจิทัลเข้าประกวด ที่ได้กรอกและลงชื่อพร้อมประทับตราแล้ว ในรูปแบบ ชื่อหน่วยงาน_form1.pdf หรือ ชื่อหน่วยงาน_form1.jpg
  4. ท่านสามารถส่งผลงานเข้าประกวดรางวัลท้องถิ่นดิจิทัลประจำปี 2566 ได้ที่อีเมล dgti_awards@dga.or.th เท่านั้น
  5. กรอกรายละเอียดภายในอีเมล ดังนี้
    ชื่อหัวข้ออีเมล : ขอนำส่งผลงานประกวดท้องถิ่นดิจิทัล <ชื่อหน่วยงานของท่าน>
    รายละเอียดภายในอีเมล
    หน่วยงาน :
    อำเภอ :
    ภูมิภาค :
    จังหวัด :
    ชื่อโครงการ :
    ชื่อ-นามสกุลผู้ประสาน :
    เบอร์โทร :
    อีเมล :
    ตำแหน่ง :
    ชื่อ-นามสกุลที่ปรึกษา:
  6. แนบไฟล์ ใบส่งผลงานนวัตกรรมดิจิทัลเข้าประกวด และ Template ผลงานของท่าน และกดส่งผลงาน
  7. หลังจากนั้น ท่านจะได้รับอีเมลยืนยันการส่งผลงานภายใน 1 วันทำการ

กำหนดส่งผลงาน
ส่งผลงานได้ที่อีเมล dgti_awards@dga.or.th  จะเปิดรับสมัครผลงานวันนี้ จนถึง วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2566

ติดต่อสอบถาม
หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการส่งผลงานเข้าประกวด สามารถสอบถามได้ที่  02-6126060

ประกาศผลรายชื่อหน่วยงานที่ได้รางวัล โครงการประกวดนวัตกรรม “ท้องถิ่นดิจิทัล” ประจำปี 2566

รางวัลท้องถิ่นดิจิทัลประเภทยอดเยี่ยม 2 รางวัล ได้แก่

หน่วยงาน

จังหวัด

ผลงานนวัตกรรมท้องถิ่นดิจิทัล

เทศบาลนครยะลา

จังหวัดยะลา

Big Data เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการ

เทศบาลตำบลครึ่ง

จังหวัดเชียงราย

โครงการบริหารจัดการขยะแบบบูรณาการ บนพื้นฐานดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน (แอพพลิเคชั่นถังเงิน ถังทอง)

รางวัลท้องถิ่นดิจิทัลประเภทดีเด่น 18 รางวัล ได้แก่

หน่วยงาน

จังหวัด

ผลงานนวัตกรรมท้องถิ่นดิจิทัล

เทศบาลนครพิษณุโลก

จังหวัดพิษณุโลก

แพลตฟอร์ม SMART PRAPA ทางเลือกใหม่ของการให้บริการ สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย

เทศบาลนครรังสิต

จังหวัดปทุมธานี

โครงการระบบบริหารจัดการคลองรังสิตประยูรศักดิ์เพื่อชาวนครรังสิตอย่างยั่งยืน

เทศบาลเมืองตาคลี

จังหวัดนครสวรรค์

การพัฒนาระบบบริการประชาชนในรูปแบบ
เว็บแอปพลิเคชัน (Smart-Takhli ) “แจ้งทุกข์/แจ้งเหตุ

เทศบาลเมืองพิจิตร

จังหวัดพิจิตร

โครงการเครือข่ายการดูแลสุขภาพประชาชนผ่านระบบบริการช่วยเหลือทางโทรศัพท์ (Smart Help Care Service)

เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร

จังหวัดอุบลราชธานี

การส่งเสริมสุขภาพประชาชนกลุ่มเปราะบาง ด้วยระบบ“เมืองพิบูล ยิ้มกว้างอย่างเป็นสุข”(Phibun Big Smile Healthy Care System)

เทศบาลเมืองแม่เหียะ

จังหวัดเชียงใหม่

การบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการพัฒนารายได้

เทศบาลตำบลเขตรอุดมศักดิ์

จังหวัดชลบุรี

การจัดการเสียภาษีออนไลน์

เทศบาลตำบลทับมา

จังหวัดระยอง

โครงการเพิ่มศักยภาพ และพัฒนาแอปพลิเคชั่น (Application)
เพื่อบริการประชาชน

เทศบาลตำบลนิคมพัฒนา

จังหวัดระยอง

ระบบชำระค่าธรรมเนียมขยะ

เทศบาลตำบลโนนสะอาด

จังหวัดหนองบัวลำภู

นวัตกรรมโนนสะอาดเทศบาลตำบลอัจฉริยะ Smart municipal district

เทศบาลตำบลบางเสร่

จังหวัดชลบุรี

B-Buddy Bangsaray

เทศบาลตำบลบ้านกลาง

จังหวัดลำพูน

ศูนย์ดิจิทัลบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว ONE STOP SERVICE เทศบาลตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

เทศบาลตำบลบวกค้าง

จังหวัดเชียงใหม่

Buakkhang E-Service

เทศบาลตำบลอุโมงค์

จังหวัดลำพูน

โครงการระบบบริหารจัดการงานสวัสดิการสังคม ตำบลอุโมงค์ (UMONG e-social welfare system)

เทศบาลตำบลอุโมงค์

จังหวัดลำพูน

โครงการห้องเรียนอัจฉริยะ โรงเรียนเทศบาลอุโมงค์ 1

องค์การบริหารส่วนตำบลวัดไทรย์

จังหวัดนครสวรรค์

โครงการพัฒนาและยกระดับการให้บริการประชาชน (E-Service)

องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้

จังหวัดฉะเชิงเทรา

การจัดทำแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

องค์การบริหารส่วนตำบลสิงหนาท

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ระบบบริการประชาชนออนไลน์ E-Service