โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นดิจิทัล 2564 ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ ด้วยผลงานสุดยอดนวัตกรรมจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมนำเสนอจากทั่วประเทศ


21 September 2564
8106

โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นดิจิทัล ประจำปี พ.ศ.2564 ภายใต้แนวคิด “ท้องถิ่นดิจิทัล เปลี่ยนแนวคิด พลิกรูปแบบการทำงาน” โดยการดำเนินการของศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาครัฐ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมประกวดนวัตกรรม”ท้องถิ่นดิจิทัล” ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2564 ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเวทีที่เปิดโอกาสในการนำเสนอผลงานดิจิทัลโซลูชันการให้บริการประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการก้าวสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัล ยกระดับความโปร่งใส ตรวจสอบได้หรือการเป็นรัฐบาลเปิด (Open Government) พร้อมทั้งการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ทั้งนี้ อปท. ถือเป็นด่านหน้าที่สำคัญที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนกว่า 50 ล้านคนทั่วประเทศ การได้นำเสนอโครงการนวัตกรรมด้านดิจิทัลของแต่ละ อปท. ที่เข้าร่วม ได้แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และศักยภาพของผู้นำองค์กรในการนำเทคโนโยลีดิจิทัลในปัจจุบันมาประยุกต์ในการให้บริการต่าง ๆ ตลอดจนได้นำเสนอแผนงานพัฒนาในอนาคตที่จะต่อยอดการบริการให้ดียิ่งขึ้นไปเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ในปีนี้นับเป็นปีแรกของโครงการ และโครงการได้รับเกียรติรางวัลรัฐบาลดิจิทัล หรือ DG Award หมวดท้องถิ่นดิจิทัล สำหรับโครงการที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม จาก DGTi โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในการพิจารณาผลงานของหน่วยงาน อปท. ทั้งจาก สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.), กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.), กรมพัฒนาชุมชน (พช.),  สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(NIA), สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI), สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (TTSA) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) เพื่อพิจารณาและตัดสินในการมอบรางวัลดังกล่าวให้เป็นขวัญกำลังใจและเป็นตัวอย่างกับหน่วยงานอื่น ๆ ในปีถัดไป เพื่อสร้างให้เกิดระบบนิเวศน์นวัตกรรมของเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับภาครัฐไทย โดย สพร. และหน่วยงานพันธมิตรที่เกี่ยวข้องพร้อมสนับสนุนให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะสำหรับแผนดำเนินการที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือและผลักดันการ พัฒนาโครงการ นวัตกรรมต่าง ๆ ของภาครัฐ ตลอดจนเพื่อผลักดันให้เกิดการนำเครื่องมือพร้อมใช้ต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้งานและช่วยให้หน่วยงานปรับตัวตามเกณฑ์ของความเป็นรัฐบาลดิจิทัลได้เร็วขึ้น  โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

  • ผลงานเข้าร่วมนำเสนอมีจำนวนทั้งสิ้น 45 ผลงาน จาก 44 อปท.ทั่วประเทศ โดยมี เทศบาลนครภูเก็ต นำเสนอ 2 ผลงาน
  • ประเภทผลงานที่นำเสนอมากที่สุดคือ E-Service จำนวน 25 ผลงาน
  • จังหวัดเชียงราย เป็น จังหวัดที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดมากที่สุดจาก 6 อปท.

ซึ่งคณะกรรมการ ฯ และผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาผลงานทุกโครงการผ่านการนำเสนอออนไลน์เรียบร้อยแล้ว และมีผลการตัดสินโดยเรียงตามลำดับตัวอักษรแรกของชื่อจังหวัดดังนี้

รางวัลยอดเยี่ยม ได้แก่

รางวัลดีเด่น ได้แก่

  • โครงการนวัตกรรมพิกัดชีวิตพิกัดฉุกเฉิน Application EMS สำหรับดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เทศบาลตำบลท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์
  • โครงการให้บริการประชาชนสู่ความพึงพอใจอันสูงสุดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เทศบาลนครขอนแก่น จ.ขอนแก่น
  • โครงการ Smart Bannoi องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก จ.พิษณุโลก
  • โครงการ Patong City Data Platform เทศบาลเมืองป่าตอง จ.ภูเก็ต
  • โครงการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการประชาชน Bang-pla Smart Public Service เทศบาลตำบลบางปลา จ.สมุทรสาคร
  • โครงการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โรงพยาบาลหนึ่งหมื่นเตียง เทศบาลนครเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
  • โครงการพัฒนาระบบ Mobile Application สำหรับบริหารจัดการการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินของเทศบาล เทศบาลนครอุดรธานี จ.อุดรธานี

ผลสำเร็จจากการจัดงานดังกล่าว ทำให้หน่วยงานเกิดการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้วิธีการบริหารจัดการผลงานนวัตกรรมในแต่ละพื้นที่ สอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็นได้อย่างเหมาะสม ถือเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพและสามารถที่จะพัฒนาเพื่อขยายผลงานไปสู่ อปท. อื่น ๆ ที่มีความสนใจนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป ทางศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาครัฐ หรือ DGTi โดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดและเตรียมการนำเสนอเป็นอย่างดี  และขอชื่นชมในความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลงานนวัตกรรมดิจิทัลที่เป็นประโยชน์กับประชาชน ตลอดจนขอแสดงความยินดีกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้  เตรียมพบกับกิจกรรมดี ๆ ร่วมกับทั้ง 45 อปท. ได้ที่ https://dgti.dga.or.th และนวัตกรรมที่ทาง สพร. จะนำเสนอกับหน่วยงานภาครัฐ ทั้ง AI, Chatbot, AutoTag และ Speech2Text ตลอดทั้งปีงบประมาณ 2565 นี้

รายชื่อหน่วยงานและผลงาน ของ อปท. โดยเรียงตามลำดับตัวอักษรแรกของชื่อจังหวัด

1. ทต.ท่าคันโท จ.กาฬสินธุ์
   – โครงการนวัตกรรมพิกัดชีวิตพิกัดฉุกเฉิน Application EMS สำหรับดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
2. ทน.ขอนแก่น จ.ขอนแก่น
   – โครงการให้บริการประชาชนสู่ความพึงพอใจอันสูงสุดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
3. ทม.เมืองพล จ.ขอนแก่น
   – โครงการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม (Join) ในการจัดประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (e – Meeting) ของเทศบาลเมืองเมืองพล
4. อบต.เสม็ดใต้ จ.ฉะเชิงเทรา
   – โครงการ One Stop Service ประชาชน
5. ทม.แสนสุข จ.ชลบุรี         
   – โครงการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุด้วย Smart Technology
6. ทน.เชียงราย จ.เชียงราย
   – โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการข้อมูลแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
7. อบจ.เชียงราย จ.เชียงราย
   – โครงการบริหารจัดการขยะของเสียอันตรายชุมชนในพื้นที่จังหวัดเชียงรายด้วยระบบ D-ToC
8. ทต.บ้านเหล่า จ.เชียงราย
– โครงการจัดทำโปรแกรมบริหารจัดการตาม พ.ร.บ.อำนวยความสะดวก ในการพิจาณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
9. อบต.สันสลี จ.เชียงราย
   – โครงการแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน
10. อบต.ป่าหุ่ง จ.เชียงราย
   – โครงการการใช้งานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-office) ขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง
11. อบต.รอบเวียง จ.เชียงราย
   – โครงการดิจิทัลให้บริการประชาชน
12. ทน.เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
   – โครงการ Emergency call Station : Smart City Safety Zone
13. ทต.ยางเนิ้ง จ.เชียงใหม่
   – โครงการพัฒนาระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ เทศบาลตำบลยางเนิ้ง
14. ทต.สันผักหวาน จ.เชียงใหม่
   – โครงการระบบน้องพอใจ เทศบาลตำบลสันผักหวาน
15. อบต.ควนปริง จ.ตรัง
   – โครงการติดตั้งระบบเสียงไร้สาย
16. อบต.ยกกระบัตร จ.ตาก
   – โครงการระบบ E-Service(แบบคำร้องแจ้งการขอรับบริการทางออนไลน์)
17. ทต.โพรงมะเดื่อ จ.นครปฐม
   – โครงการโพรงมะเดื่อออนไลน์ ห่างไกลโควิด-19
18. ทน.นครราชสีมา จ.นครราชสีมา
   – โครงการระบบสารสนเทศเพื่อการบริการประชาชนผ่านโทรศัพท์มือถือ
19. ทน.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
   – โครงการระบบศูนย์ข้อมูลกลางความปลอดภัยเทศบาลนครปากเกร็ด
20. ทน.นนทบุรี จ.นนทบุรี
   – โครงการระบบการบริการออนไลน์
21. ทม.บางแม่นาง จ.นนทบุรี
   – โครงการระบบบริการประชาชนอัจฉริยะ
22. อบต.บ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก จ.พิษณุโลก
   – โครงการ Smart Bannoi
23. ทม.ป่าตอง จ.ภูเก็ต
   – โครงการ Patong City Data Platform
24. ทน.นครภูเก็ต จ.ภูเก็ต
   – โครงการระบบข้อมูลการเลือกตั้งท้องถิ่น เทศบาลนครภูเก็ต (Local Elections Data System)
25. ทน.นครภูเก็ต จ.ภูเก็ต
   – โครงการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ท้องถิ่น เทศบาลนครภูเก็ต
26. อบต.ปางหมู จ.แม่ฮ่องสอน
   – โครงการ Pangmu E-Smart Service
27. ทน.ยะลา จ.ยะลา
   – โครงการระบบเทคโนโลยีเพื่อการบริหารและติดตามควบคุมเฝ้าระวังโรคโควิด 19
28. ทต.ลำใหม่ จ.ยะลา
   – โครงการ line Official Account เทศบาลตำบลลำใหม่
29. ทม.ร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด
   – โครงการ Smart City 101
30. ทต.ทับมา จ.ระยอง
   – โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
31. ทต.เขาพระยาเดินธง จ.ลพบุรี
   – โครงการอีสารบรรณอีเล็กทรอนิกส์
32. ทม.เลย จ.เลย
   – โครงการพัฒนาการจัดทำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ฐานข้อมูลชุมชน เพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์
33. อบต.โคกขมิ้น จ.เลย
   – โครงการพัฒนาเว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลโคกขมิ้น
34. อบต.กฤษณา จ.ศรีสะเกษ
   – โครงการ LTAX 3000 & LTAX GIS
35. อบจ.สงขลา จ.สงขลา
   – โครงการนวัตกรรมศูนย์สร้างสุขชุมชน (Community Happiness Center)
36. ทน.หาดใหญ่ จ.สงขลา
   – โครงการระบบรับเรื่องร้องทุกข์(Call Center)ของเทศบาลนครหาดใหญ่
37. ทต.ปริก จ.สงขลา
   – โครงการต้นปริกแอปพลิเคชัน
38. ทม.คอหงส์ จ.สงขลา
   – โครงการระบบแจ้งเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ ผ่านโทรศัพท์มือถือ
39. ทต.บางปลา จ.สมุทรสาคร
– โครงการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการประชาชน Bang-pla Smart Public Service
40. อบต.ป่าแฝก จ.สุโขทัย
   – โครงการศูนย์บริการร่วมองค์การบริหารส่วนตำบลป่าแฝก (One Stop Service Center)
41. ทน.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
   – โครงการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โรงพยาบาลหนึ่งหมื่นเตียง
42. ทต.วัดประดู่ จ.สุราษฎร์ธานี
   – โครงการ EASY MAP แผนที่อย่างง่าย
43. อบต.บ้านไทร จ.สุรินทร์
   – โครงการรับเรื่องราวร้องทุกข์ให้การช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ผ่านแอพพลิเคชันเพื่อลดขั้นตอน
44. ทต.หัวนา จ.หนองบัวลำภู
   – โครงการ One Stop Service เทศบาลตำบลหัวนา
45. ทน.อุดรธานี จ.อุดรธานี
   – โครงการพัฒนาระบบ Mobile Application สำหรับบริหารจัดการการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินของเทศบาล

คำอธิบายเพิ่มเติม
อบจ. คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด
ทน. คือ เทศบาลนคร
ทม. คือ เทศบาลเมือง
ทต. คือ เทศบาลตำบล
อบต. คือ องค์การบริการส่วนตำบล