DGA จัดงานประชุมชี้แจงมาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ ครั้งที่ 2 เพื่อสร้างมาตรฐานและแนวทางสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA โดย ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เป็นประธานกล่าวเปิดงานประชุมชี้แจงมาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ ครั้งที่ 1 พร้อมปาฐกถาเรื่อง “Digitized Data for Open Data” เพื่อให้หน่วยงานรัฐทราบถึง ‘ตัวชี้วัดการพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล Data Catalog เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open data)’ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดใหม่ในปี 2564 เพื่อเตรียมความพร้อมภาครัฐให้สามารถปรับตัวเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลในหน่วยงานสามารถใช้บริการผ่านระบบสารสนเทศในการสืบค้น ร้องขอ เข้าถึงแหล่งที่มา ทราบถึงประเภท รูปแบบข้อมูล ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มติให้สำนักงานสถิติแห่งชาติจัดทำระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐของประเทศหรือ Government Data Catalog : GD Catalog และระบบนามานุกรม (Directory services) ที่เป็นเสมือนสมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages) สำหรับภาครัฐ พร้อมทำหน้าที่รวบรวมบัญชี ข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐมาขึ้นทะเบียนไว้ที่ระบบ GD Catalog เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลสำคัญของภาครัฐทั้งหมดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการติดตามและกำกับดูแลการจัดการข้อมูลตลอดทั้งวงจรชีวิต สามารถบูรณาการ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ DGA ซึ่งมีหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานในการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และแต่งตั้งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ ซึ่งมี DGA และสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นฝ่ายเลขานุการร่วม มาดำเนินการจัดทำ แนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ และด้วย DGA มีวิสัยทัศน์ “นำรัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล” จึงได้ประกาศมาตรฐานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เลขที่ มสพร. 1 – 2564 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2564 เพื่อเป็นประโยชน์ให้หน่วยงานภาครัฐอื่นนำมาตรฐานไปใช้อ้างอิงและเป็นแนวทางในการจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานให้สอดคล้องตามแนวทางประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเรื่อง ธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ และมาตรฐานคำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata) สำหรับชุดข้อมูลภาครัฐ ที่มีความสอดคล้องกัน และสามารถรวบรวมเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐกลาง ตลอดจนสามารถให้บริการข้อมูลภาครัฐแก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนต่อไป ทั้งนี้ ภายในงานได้รับเกียรติจาก นางสาวณฐิณี สงกุมาร ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มาบรรยายถึง แนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของจังหวัดประจำปี 2564 เรื่อง “การพัฒนาระบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) เพื่อนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ (Open Data)” ต่อเนื่องด้วย ดร. อุรัชฎา...
24 Mar 64 | 909
แนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ บัญชีข้อมูล (Data Catalog) : ทำไมต้องทำ ทำอย่างไร ทำแล้วได้อะไร? ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยมีความตื่นตัวเรื่องข้อมูล อย่างกว้างขวางในทุกภาคส่วน ภาครัฐและภาคเอกชนเริ่มปรับตัวและเตรียมพร้อมเข้าสู่ยุคของการวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ จึงมีความต้องการใช้ประโยชน์ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเลือกใช้ข้อมูลและการสืบค้นหาแหล่งข้อมูลสำหรับวิเคราะห์หรือให้บริการมีความซับซ้อนและยุ่งยาก อย่างไรก็ดี หน่วยงานภาครัฐยังขาดการบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงาน มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล และผู้ใช้ข้อมูลที่มีอยู่หลากหลายกลุ่มทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมถึงประชาชนทั่วไป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำบัญชีข้อมูลอันประกอบด้วยรายการข้อมูลและคำอธิบายชุดข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐให้มีมาตรฐาน มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบข้อมูลที่สำคัญของภาครัฐเพื่อประโยชน์ในการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมโยง แลกเปลี่ยน และบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานของรัฐอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ช่วยให้ผู้ใช้ข้อมูลในหน่วยงานสามารถใช้บริการผ่านระบบสารสนเทศในการสืบค้น ร้องขอ เข้าถึงแหล่งที่มา ทราบถึงประเภท รูปแบบข้อมูล และเพื่อรวบรวมให้เป็นบัญชีข้อมูลภาครัฐหรือ Government Data Catalog : GD Catalog เสมือนสมุดหน้าเหลือง (Yellow Pages) ทำให้ผู้ใช้ข้อมูลสามารถใช้ประโยชน์ข้อมูลสำคัญของภาครัฐทั้งหมดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อน รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดการติดตามและกำกับดูแลการจัดการข้อมูลตลอดทั้งวงจรชีวิต สามารถบูรณาการ และใช้ประโยชน์ข้อมูลข้ามหน่วยงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เอกสารมาตรฐาน : 1. มาตรฐานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (มสพร. 1-2564) (ใหม่) การประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) มีหน้าที่อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลมอบหมาย และดำเนินการร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ เสนอคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างมาตรฐาน ข้อกำหนด และหลักเกณฑ์ ภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 และแต่งตั้งคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ ได้จัดทำร่างหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูล เพื่อเป็นกรอบการประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ และเครื่องมือสำหรับการประเมินคุณภาพข้อมูลเบื้องต้น เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐใช้เป็นตัวอย่างในการตรวจสอบและควบคุมการจัดการข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ สามารถนำไปใช้ประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจในเชิงนโยบายและการดำเนินงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มคุณค่าในการให้บริการภาครัฐ และต่อยอดการพัฒนาของประเทศในมิติต่าง ๆ ได้ ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้ข้อมูลภาครัฐ จึงขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ร่างหลักเกณฑ์ฯ มีความเหมาะสมกับการนําไปใช้งานได้จริงและเป็นประโยชน์กับหน่วยงานของท่าน โดยสามารถตอบแบบแสดงความคิดเห็นกลับมาภายในวันพฤหสบดีที่ 16 ธันวาคม 2564 (ศึกษารายละเอียดและดาวน์โหลดเอกสารตามที่แนบมานี้) เอกสารประกอบการจัดงาน: ลิงก์สำหรับดาวน์โหลดเอกสาร 1. ร่างหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ 2. แบบแสดงความคิดเห็นต่อร่างหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ 3. กำหนดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น 4. แบบตอบรับเข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น 5. เอกสารนำเสนอการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพข้อมูลสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ช่องทางเข้าร่วม : สามารถเข้าร่วมงานผ่านการถ่ายทอดสดออนไลน์ (Live Streaming) ทาง Facebook DGA Thailand ลิงก์สำหรับเข้าร่วมงาน https://www.facebook.com/DGAThailand งานประชาพิจารณ์ร่างข้อเสนอแนะสำหรับการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูล...
13 Dec 63 | 14167