โครงการบริการคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud Service)


12 February 2558
11159


โครงการบริการคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud Service)

ที่มาโครงการ 
ปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็น เครื่องมือในการบริหารจัดการและให้บริการประชาชนมากขึ้น ส่งผลให้งบประมาณในการจัดซื้อด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จากผลการสำรวจตลาด IT ประเทศไทย มีอัตราการขยายตัวปี 2554 ร้อยละ 15.60 โดยคิดเป็นมูลค่าตลาด 293,239ล้านบาท และหากพิจารณาค่าใช้จ่ายจำแนกตามภาคผู้ใช้งานจะพบว่าภาครัฐมีการใช้จ่ายด้าน IT คิดเป็นประมาณร้อยละ 20.4 หรือ 59,818 ล้านบาท เมื่อพิจารณาในส่วนของบริการด้าน Data Center and Disaster Recovery Center พบว่าภาพรวมมีมูลค่าตลาดในปี 2554 เท่ากับ 6,903 ล้านบาท โดยภาครัฐมีการใช้จ่ายในส่วนนี้ถึง 2,567ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.5 เพื่อใช้ในการสร้างศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ (Data Center) จัดหาครุภัณฑ์เครื่องแม่ข่ายและระบบ หรือใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและความ ต่อเนื่องของการให้บริการจากหน่วยงานภาครัฐไปยังภาคประชาชน แต่นอกจากค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วความเชี่ยวชาญของบุคลากร ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความพร้อมในการดูแลบำรุงรักษาระบบให้พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงมาตรการในการลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากภัยพิบัติก็เป็นอีกปัจจัย หลักที่ควรจะต้องมีการพิจารณาในการลงทุนเพิ่มเติม 

ดัง นั้น เพื่อเป็นการลดปัญหาด้านการใช้งบประมาณซ้ำซ้อนและการเพิ่มประสิทธิภาพในการ บริหารจัดการระบบ IT แก่ภาครัฐ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้มอบหมายให้ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สรอ. ซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่าย บุคลากรในการช่วยเหลือและสนับสนุน รวมถึงการบริหารจัดการ ทำการศึกษาและทดสอบระบบ Cloud Computing เพื่อเป็นโครงการนำร่องไปสู่ Government Cloud ของประเทศ โดยปัจจุบันคาดการณ์ว่ามูลค่าการใช้บริการ Cloud Computing และ SaaS ในประเทศไทยจะคิดเป็นประมาณ 2,089 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโต 22.9% โดยเป็นกลุ่มผู้ใช้งานรัฐและเอกชนถึงร้อยละ 71.3  หรือ 180,821 ล้านบาท

วัตถุประสงค์โครงการ

  • เพื่อศึกษาแนวทางในการให้บริการ Cloud Computing แก่หน่วยงานภาครัฐ และพัฒนาไปสู่การให้บริการ 
  • เพื่อเป็นแนวทางในการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานหลักสำหรับระบบและข้อมูลสารสนเทศของหน่วยงานภาครัฐ
  • เพื่อ ศึกษาการลดความซ้ำซ้อนของงบประมาณภาครัฐในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบเพื่อให้บริการประชาชนแก่หน่วยงานภาครัฐ ที่ร่วมโครงการ
  • เพื่อพัฒนาประเทศไทยให้พร้อมสู่การเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ทัดเทียมกับนานาประเทศ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • ประโยชน์ต่อภาครัฐ
    ระยะสั้น
    การบริหารการจัดการระบบเครือข่ายและระบบในการให้บริการภาคประชาชนของหน่วย งานรัฐมีแนวโน้มดีขึ้น สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องแม้ในสภาพเกิดเหตุภัยพิบัติ และสามารถประหยัดงบประมาณทางด้านการลงทุนระบบได้อย่างน้อย 30% จากตัวเลขที่ในระดับโลกประเมินมาแล้ว
    ระยะยาว
    เมื่อมีการรวมระบบงานต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ เข้าสู่ Government Cloud Service แล้วจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายตามไปด้วย เสริมสร้างความมั่นใจในการให้บริการ สามารถบริการได้อย่างต่อเนื่องแม้ในสภาวะวิกฤติ หรือเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงการพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อเชื่อมเข้าสู่หน่วยงานภาครัฐเพื่อเป็น Smart Network ในอนาคต
  • ประโยชน์ต่อภาคประชาชนในการได้รับบริการจากหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์
    ระยะสั้น
    จะเกิดบริการของภาครัฐใหม่ๆ ให้บริการผ่านระบบออนไลน์เพื่อสร้างความสะดวกสบายมากขึ้น โดยระบบจะมีการปรับแต่งให้มีความทันสมัยตลอดเวลา ระบบจะมีความเสถียรและให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่อง
    ระยะยาว
    ธุรกรรมทางด้านออนไลน์ของภาคประชาชนกับภาครัฐจะเติบโตขึ้น สามารถเข้าไปเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ง่าย ลดความยุ่งยากและซับซ้อนในการให้บริการประชาชนด้วยระบบที่ทำงานอย่างมีแบบ แผนเป็นขั้นตอนชัดเจน