DGA เปิดศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐ (AI) แหล่งรวมผลงาน AI พร้อมใช้ เพื่อสร้างชุมชน AI ร่วมผลักดันหน่วยงานรัฐสร้างบริการเพื่อประชาชน
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานในการกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดตัว ศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐ มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) ประยุกต์ใช้กับระบบการบริหารและบริการภาครัฐ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ประเทศ แถวหน้าในการเป็นผู้นำเทคโนโลยี
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐ โดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA โดยมี ดร. สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล และ คุณณพิชญา เทพรอด ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ให้การต้อนรับ ณ โรงแรมอวานี พลัส ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ โดยนายอนุชา กล่าวปาฐกถาถึงความสำคัญในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ เพื่อการใช้งานของหน่วยงานภาครัฐว่า ประเทศที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ให้ก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว และสามารถประยุกต์ใช้ในบริบทที่หลากหลาย ประเทศนั้นย่อมสร้างความได้เปรียบในหลากหลายมิติ เช่น การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการทำงานของรัฐ เพื่ออำนวยความสะดวก ประชาชน ประหยัดเวลา เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มศักยภาพด้านผลผลิต (productivity) ให้กับประชาชน ตลอดจนยกระดับความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ ผลคือ Government Artificial Intelligence
Readiness Index 2019 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 56 จาก 196 ประเทศโดย เทียบจากดัชนีชี้วัดความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์ของรัฐบาลใน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ การกำกับดูแล, โครงสร้างพื้นฐานและข้อมูล, ทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ และการศึกษา รวมถึงการประเมินในส่วนของรัฐบาล และการบริการสาธารณะ ต่ำกว่า แม้ว่าในปี 2020 ประเทศไทยจะอยู่ในอันดับที่ 60 เนื่องจากประเทศต่าง ๆ เริ่มตื่นตัวในการเตรียม ความพร้อมด้านปัญญาประดิษฐ์มากขึ้น ในส่วนของภาครัฐไทยเองยังจำเป็นต้องมีการวางยุทธศาสตร์ชาติด้านปัญญาประดิษฐ์อย่างเป็นรูปธรรม การจัดตั้งหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปัญญาประดิษฐ์เพื่อผลักดันและประยุกต์ใช้ในหน่วยงานภาครัฐ จึงเป็นบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน)
ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ถือเป็นเทคโนโลยีที่ประเทศไทยยังขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญเข้ามารองรับความ ต้องการ ทั้งในภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคการศึกษา เนื่องจากการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขานี้จะใช้ เวลานาน ส่งผลให้ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องลงทุนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในมูลค่าที่สูง จึงเกิดแนวความคิดที่จะรวบรวมผลงานปัญญาประดิษฐ์พร้อมใช้ และผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ มีความตั้งใจพัฒนาเพื่อประเทศไทย มาพบปะหารือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีนี้ร่วมกัน รวมถึงการสร้างชุมชนปัญญาประดิษฐ์ (AI Community) ผ่านศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐขึ้น ด้วยจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้เกิดความร่วมมือ จากทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคการศึกษา เพื่อให้ AI สร้างผลงานและแจ้งเกิดอย่างเป็นรูปธรรม
ปัญญาประดิษฐ์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 –2565 ในยุทธศาสตร์ที่ 4 ว่าด้วยการปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มุ่งเน้นความโปร่งใส เพื่ออำนวยความ สะดวก มีความรวดเร็ว และเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว โดยบริการของภาครัฐตอบสนองการบริการประชาชน ผู้ประกอบการทุกภาคส่วน ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และแม่นยำ ประชาชนเข้าถึงข้อมูลภาครัฐได้สะดวกและเหมาะสม เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน มีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลภาครัฐ การจัดเก็บและบริหารฐานข้อมูลที่บูรณาการ ไม่ซ้ำซ้อน สามารถรองรับการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงาน และให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในวันนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญ เป็นความก้าวหน้าที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ของประเทศไทย เนื่องจากเป็นก้าวที่สำคัญในการที่จะแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐในการที่จะนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานภาครัฐไทยเพื่อมุ่งสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล และสิ่งที่คาดหวังในอนาคตต่อจากวันนี้ คือความร่วมมือและความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนในการเข้ามาร่วมพัฒนาหน่วยงานภาครัฐให้มีศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทยให้ทัดเทียมในระดับนานาชาติ เพื่อประโยชน์ของประชาชนคนไทยทุกคน และลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของคนในชาติ ได้อย่างมั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน
ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (ดีจีเอ) ได้กล่าวถึง วิสัยทัศน์ ของศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐเพื่อรัฐบาลดิจิทัลว่า DGA มีบทบาทและหน้าที่ในการสนับสนุนและส่งเสริมให้หน่วยงาน ของรัฐสามารถให้บริการสาธารณะในช่องทางดิจิทัลได้ โดยมีการบริหารจัดการและการบูรณาการข้อมูลภาครัฐ และการทำงานให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงเข้าด้วยกันได้อย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงบริการของรัฐได้ง่ายขึ้น ทั้งสนับสนุนให้มีการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐต่อสาธารณะและสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เช่น ความร่วมมือระหว่าง สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จึงเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันที่สำคัญเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนระบบนิเวศของนวัตกรรมด้าน GovTech อย่างเป็นระบบ
สามารถพัฒนาและส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐเข้าใจในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาประยุกต์ใช้งานกับงานภาครัฐ เพื่อให้บริการ กับหน่วยงานราชการและประชาชนปัญญาประดิษฐ์สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับทางด้านหลากหลายด้านทั้ง วิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) ภาครัฐ เช่น ข้อมูลทางการเงิน การคลัง ข้อมูลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ และข้อมูลของการจัดซื้อจัดจ้าง หรือการประเมินเครดิต (Credit Scoring ) ด้วยความสามารถในการประมวลผลด้วยเทคโนโลยีอันชาญฉลาดจะช่วยทำให้การวิเคราะห์และประเมินผล ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม่นยำยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้งานด้านการตรวจสอบสามารถดำเนินการได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการป้องกัน การทุจริต ส่งเสริมความโปร่งใส ดังนั้นการมีศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐ จะช่วยให้พันธกิจในการพัฒนาและนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่องานภาครัฐมีประสิทธิภาพและทิศทางพัฒนาสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ยกระดับการบริหารจัดการระบบงานและบริการภาครัฐ อันจะนำไปสู่ประโยชน์แก่ประชาชนต่อไป
สำหรับภายในงานมีการเสวนาให้ความรู้เรื่อง ‘การผลักดันปัญญาประดิษฐ์ด้วย AI as a Service Platform’ มีผู้เข้าร่วมเสวนาดังนี้
และ ดร. ปรัชญา บุญขวัญ นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เป็นผู้ดำเนินรายการ