ประกาศผลรางวัลแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือภาครัฐปีแรก
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์ค ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค และได้รับการสนับสนุน จาก บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคทรอนิกส์ (ประเทศไทย) และบริษัท ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) จัด “พิธีประกาศผล และมอบรางวัลผู้ชนะเลิศโครงการประกวดผลงานการพัฒนา Mobile Application ภาครัฐ (MEGA2014) ” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักพัฒนา Mobile Application ผลิตและพัฒนาผลงานที่มีคุณภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของภาครัฐและภาค ประชาชนในการใช้งานบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้รับเกียรติจาก นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานเปิดงาน และบรรยายพิเศษหัวข้อ “แอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือภาครัฐกับนโยบายการขับเคลื่อนเทคโนโลยีสู่ Digital Economy” พร้อมมอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘ ณ ห้อง Sapphire ชั้น ๗ โรงแรมโนโวเทล แพลทินั่ม ประตูน้ำ กรุงเทพ
สำหรับผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศในแต่ละประเภทมีดังนี้
ประเภท 1 นิสิต นักศึกษา นักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระ
1. รางวัลชนะเลิศ คือ ถ้วยรางวัลและเกียรติบัตร ทุนสนับสนุนมูลค่า 50,000 บาท
ทีม Dream and Go
ผลงาน “EasyHos” (ระบบนำทางข้อมูลแก่คนไข้ใน รพ.รัฐ)
2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 (ประเภทละ 1 รางวัล) คือ เกียรติบัตร ทุนสนับสนุนมูลค่า 30,000 บาท
ทีม NoviceCODE!
ผลงาน "chariGO” (จำหน่ายสินค้าชุมชน)
นักศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี
3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (ประเภทละ 1 รางวัล) คือ เกียรติบัตร ทุนสนับสนุนมูลค่า 10,000 บาท
ทีม 404_App_not_found
ผลงาน “Be a HERO” (แจ้งปัญหาสังคม)
นักศึกษา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
4. รางวัลชมเชย (ประเภทละ 1 รางวัล) คือ เกียรติบัตร ทุนสนับสนุนมูลค่า รางวัลละ 5,000 บาท
ทีม NBComsci
ผลงาน "A System of Recycle Waste Bank” (ระบบธนาคารขยะรีไซเคิล)
นักศึกษา สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ประเภท 2 ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย
1. รางวัลชนะเลิศ คือ ถ้วยรางวัลและเกียรติบัตร ทุนสนับสนุนมูลค่า 50,000 บาท
ทีม Digio Identification
ผลงาน "Digio Identification Solution”
(ระบบป้องกันการปลอมแปลงเอกสารสำคัญ และการอ่านข้อมูลบัตรประชาชนไทย)
บริษัท Digio (Thailand) Co., Ltd.
2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 (ประเภทละ 1 รางวัล) คือ เกียรติบัตร ทุนสนับสนุนมูลค่า 30,000 บาท
ทีม Call Zen
ผลงาน "Call Zen for Government”
(ระบบโต้ตอบอัตโนมัติของหน่วยงาน)
บริษัท เอนคาส จำกัด
3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (ประเภทละ 1 รางวัล) คือ เกียรติบัตร ทุนสนับสนุนมูลค่า 10,000 บาท
ทีม Enjoin
ผลงาน "Enjoin – Intelligent Expo Platform in your pocket”
(ข้อมูลจัดงาน Expo ในประเทศไทย)
บริษัท ดรีมมิโอ จำกัด
4. รางวัลชมเชย (ประเภทละ 1 รางวัล) คือ เกียรติบัตร ทุนสนับสนุนมูลค่า รางวัลละ 5,000 บาท
ทีม Code Gears (โค้ด เกียร์)
ผลงาน "พินเกียร์ (PinnGears)”
(ระบบนำชมอัจฉริยะสำหรับพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์)
บริษัท โค้ด เกียร์ จำกัด
ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.855394097863566.1073741857.542226425847003&type=3
=================================================================
ข่าวประชาสัมพันธ์
นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT เปิดเผยว่า กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT และทางสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA ได้รับโจทย์ใหญ่จากรัฐบาลที่จะทำให้สังคมของประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคสังคมดิ จิทัล และเป็นการก้าวแบบมั่นคงโดยพัฒนาทุกด้านไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน การแก้ไขกฎหมาย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งภาครัฐและประชาชน การสร้างเนื้อหาและบริการใหม่ๆ เพื่อทำให้ประชาชนเข้าถึงเนื้อหาและบริการต่างๆ ของภาครัฐได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ขณะเดียวกันก็มีความปลอดภัย ดังนั้น เมื่อประชาชนได้ก้าวกระโดดเข้าสู่การใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์สำคัญใน ชีวิตประจำวันแล้ว แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือของภาครัฐก็จำเป็นต้องถูกปรับเปลี่ยนแนวความคิด และการบริการให้เข้ากับประชาชนโดยเร็วที่สุดแบบไม่มีข้อแม้ โดยปัจจุบันแอปพลิเคชันภาครัฐที่อยู่บนโทรศัพท์มือถือมีประมาณ 100 กว่าบริการ แต่กว่าครึ่งยังเป็นโปรแกรมประเภทให้ข้อมูลข่าวสารเบื้องต้นเท่านั้น
ดังนั้นแนวนโยบายขณะนี้คือ ต้องสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนขึ้นมา ในขณะที่ภาครัฐมีข้อมูล มีการสำรวจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประชาชนมากมาย ในขณะที่ภาคเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านเทคนิค และเชิงพาณิชย์ ได้นำข้อมูลที่เปิดเผยเหล่านี้ไปสร้างเป็นแอปพลิเคชัน โดยภาครัฐต้องเอื้อให้เกิดแรงจูงใจ พร้อมสนับสนุนในทุกรูปแบบ
วิธีนี้จะทำให้การเกิดแอปพลิเคชันมีจำนวนทวีขึ้น เร็วขึ้น ขณะเดียวกันแนวคิดการพัฒนาแอปพลิเคชัน จะไม่ยึดติดกับความเป็นหน่วยงานนั้นๆ อีกต่อไป แต่จะเป็นแอปพลิเคขันที่เน้นการให้บริการประชาชนจริงๆ โดยฐานข้อมูลอาจนำมาจากหลายหน่วยงานในการสร้างแอปพลิเคชันหนึ่งๆ และขณะเดียวกันแอปพลิเคชันเดียวกันก็สามารถมีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ดำเนินการได้ มากกว่าหนึ่งโปรแกรม ต้องทำให้อยู่ในรูปการแข่งขัน แอปพลิเคชันที่ดีคือแอปพลิเคชันที่ประชาชนชอบ และโหลดไปใช้งาน ซึ่งจะทำให้เป็นการแข่งขันที่สมบูรณ์ในที่สุด ไม่ใช่การผูกขาดให้บริการเช่นปัจจุบัน
โครงการแข่งขันประกวดผลงานการพัฒนา Mobile Application ภาครัฐ (MEGA 2014) จึงเหมือนเป็นการจำลอง และสร้างแอปพลิเคชันตามแนวคิดนี้ขึ้นมา เท่ากับเป็นการบอกทิศทางและการสร้างแอปพลิเคชันภาครัฐตามนโยบายเศรษฐกิจดิจิ ทัลต่อไป
นายวรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการบริหารสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA กล่าวเปิดเผยว่า โครงการแข่งขันประกวดผลงานการพัฒนา Mobile Application ภาครัฐ (MEGA 2014) ถือเป็นก้าวแรกที่ EGA ทดลองนำร่องให้ภาคเอกชนสร้างแอปพลิเคชันภาครัฐขึ้น แต่ทิศทางนี้จะค่อยๆ ก้าวกระโดดในปีต่อๆ ไป เนื่องจากตลาดโทรศัพท์มือถือจะเติบโตมากกว่านี้ การเกิดขึ้นของ 4G จะทำให้ความเร็วของอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือดีขึ้น ราคาค่าบริการจะถูกลงกว่าเดิม ขณะเดียวกันราคาเครื่องสมาร์ทโฟนจะไร้มูลค่า เพราะโอเปอเรเตอร์จะผลิตเครื่องเพื่อทำสัญญาการใช้งานระยะยาวกับประชาชนมาก ขึ้น ขณะที่ซอฟต์แวร์ของภาครัฐและเอกชนจะมากขึ้นตามไปด้วย แม้จะไม่ดุเดือดเท่าการแข่งขันของฮาร์ดแวร์และโอเปอเรเตอร์ก็ตาม
จากการศึกษาของ EGA พบว่า การบริการของภาครัฐจะเปลี่ยนไปแน่นอน การได้ข้อมูลโดยทันทีจากประชาชนผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบใดก็ตามจะเป็นแนวโน้มใหม่ ที่ภาครัฐต้องคว้าเอาไว้ในทันที เพราะนี่คือช่องทางที่ทำให้ข้อมูลต่างๆ มีความถูกต้อง ทันสมัยแบบทันทีหรือ real time ซึ่งจะทำให้การบริการของภาครัฐต่อประชาชนทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
ดังนั้น EGA จึงเข้ามาเตรียมการทั้งการวางมาตรฐานพัฒนาแอปพลิเคชันที่ถูกต้องเอาไว้ให้ หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงภาคเอกชนที่จะมาเข้าร่วมในอนาคตอันใกล้ โดยอาจจะต้องช่วยเตรียมพร้อมให้เอกชนรายใหม่เรียนรู้แนวทางการทำงานกับภาค รัฐ ไปพร้อมๆกับเร่งศึกษาความต้องการใช้งานของประชาชน EGA ต้องวางโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการพัฒนาแอปพลิเคชัน
โดยขณะนี้ EGA ได้เริ่มต้นด้วยการจัดทำแอปพลิเคชันภาครัฐรวมอยู่ใน GAC หรือ Government Application Center ซึ่งมีหน่วยงานนำแอปพลิเคชันเข้าร่วมกว่าร้อยแอปพลิเคชัน และทุกส่วนราชการกำลังเร่งจัดทำแอปพลิเคชันกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญคือภาคเอกชนจะมาเข้าร่วมในกลไกนี้ด้วยจำนวนที่เพิ่มขึ้นกว่า ปัจจุบัน เป้าหมายของ EGA นั้นต้องการให้เกิดแอปพลิเคชันภาครัฐ ครอบคลุมบริการของหน่วยงานรัฐ อย่างน้อยประชาชนต้องรู้ว่าการจัดเตรียมเอกสารเพื่อติดต่อของแต่ละหน่วยงาน ต้องการอะไร ต่อไปคือ เอกสารต่างๆ เหล่านั้นจะต้องค่อยๆ ลดลงไป และในที่สุดการติดต่อใช้บริการภาครัฐอาจไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารใดๆ เพียงแค่ดำเนินการผ่านแอปพลิเคชันขั้นตอนเดียวจบ
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA กล่าวต่อว่า “EGA ได้จัด โครงการแข่งขันประกวดผลงานการพัฒนา Mobile Application ภาครัฐ (MEGA 2014) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA, เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์ค, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค, บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย), บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคทรอนิกส์ (ประเทศไทย) และบริษัท ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักพัฒนา Mobile Application ผลิตและพัฒนาผลงานที่มีคุณภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของภาครัฐและภาค ประชาชนในการใช้งานบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์”
การแข่งขันในปีนี้ มีจำนวนทีมเข้าสมัคร 154 ทีม 329 คน เสนอผลงาน 179 ผลงาน เป็นนักศึกษา นักพัฒนาทั่วไปจำนวน 124 ทีม และเป็นผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย 30 ทีม แยกเป็น 13 หัวข้อการประกวดได้แก่ ด้านการเดินทาง ขนส่ง และคมนาคม , ด้านกีฬา สันทนาการ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว , ด้านการศึกษา และการเรียนรู้ , ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชน , ด้านการเงิน ภาษี และธุรกิจ , ด้านสาธารณูปโภค และสวัสดิการภาครัฐ , ด้านเหตุภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ , ด้านความมั่นคงและกฎหมาย , ด้านงานทะเบียนที่เกี่ยวกับบุคคล , ด้านการเกษตร การปศุสัตว์ และการประมง , ด้านที่ดิน และที่อยู่อาศัย , ด้านการจัดหางาน และการจ้างงาน , ด้านสุขภาพ และการสาธารณสุข
ซึ่งผู้ได้รับรางวัลในประเภทนักศึกษา นักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วไป มีดังนี้
– รางวัลชนะเลิศ ทีม Dream and Go จากผลงาน “EasyHos” เป็นระบบนำทางข้อมูลแก่คนไข้ในโรงพยาบาลรัฐ
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม NoviceCODE! จากผลงาน "chariGO” เป็นแอปพลิเคชันจำหน่ายสินค้าชุมชน
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม 404_App_not_found ในชื่อผลงาน “Be a HERO” สำหรับแจ้งปัญหาสังคม และ
– รางวัลชมเชย ทีม NBComsci จากผลงาน "A System of Recycle Waste Bank” หรือระบบธนาคารขยะรีไซเคิล
ส่วนรางวัลในประเภทผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย ได้แก่
– รางวัลชนะเลิศ ทีม Digio Identification จากผลงาน "Digio Identification Solution” โดยบริษัท ดิจิโอ (ประเทศไทย) เป็นระบบป้องกันการปลอมแปลงเอกสารสำคัญและการอ่านข้อมูลบัตรประชาชนไทย
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม Call Zen ของบริษัท เอนคาส จากผลงาน "Call Zen for Government” เป็นระบบโต้ตอบอัตโนมัติของหน่วยงาน
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม Enjoin ของบริษัท ดรีมมิโอ จากผลงาน "Enjoin – Intelligent Expo Platform in your pocket” เป็นแอปพลิเคชันสำหรับข้อมูลจัดงานเอ็กซ์โปในประเทศไทย และ
– รางวัลชมเชย ทีม Code Gears จากบริษัท โค้ด เกียร์ ด้วยผลงาน "พินเกียร์ (PinnGears)” เป็นระบบนำชมอัจฉริยะสำหรับพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์
โดยทีมที่ชนะนอกจากจะได้รับเงินรางวัลเพื่อเป็นทุนสนับสนุนพัฒนาแอปพลิเคชัน รวมทั้งหมดแล้วกว่า สองแสนบาท ยังได้รับโลห์และประกาศนียบัตรจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีอีกด้วย
นอกจากนั้นยังมีรางวัลพิเศษอื่นๆ จากหน่วยงานพัธมิตร ประกอบด้วย
– รางวัล Rising Star Mobile Application Award สนับสนุน โดย ซอฟต์แวร์พาร์ค ได้รับ หลักสูตรโครงการบ่มเพาะธุรกิจ ของศูนย์บ่มเพาะ สวทช. 8 รางวัล รวมมูลค่า 400,000 บาท,
– รางวัล The Most Innovative Mobile Application Award 1 รางวัล สนับสนุนโดยบริษัทไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) ได้รับ คอร์สอบรม Bluemix Training 2 days workshop และ เงินสนับสนุน 1,000 เหรียญสหรัฐต่อเดือน สำหรับการใช้บริการ IBM Bluemix platform เป็นระยะเวลา 1 ปี,
– รางวัล The Best Enterprise Mobile Application Award 1 รางวัล สนับสนุน โดยบริษัท ซัมซุง (ประเทศไทย) ได้รับ Samsung Galaxy Note 4 จำนวน 1 เครื่อง,
– รางวัล The Awesome Idea Mobile Application Award 1 รางวัล สนับสนุนโดย บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับ Lenovo Tablet 8 จำนวน 1 เครื่อง และสุดท้าย
– รางวัล Popular Mobile Application Award 2 รางวัล สนับสนุน โดย EGA ได้รับ IPhone 6 รุ่น 32 GB จำนวน 2 รางวัล
หลังจากการประกวดไปแล้ว ผู้เข้าร่วมประกวดทุกทีมมีโอกาสที่จะรับงานพัฒนาแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือ ถือของหน่วยงานรัฐ ถ้าผลงานที่เสนอมีแนวคิดที่เป็นประโยชน์สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดให้เป็นระบบ บริการออนไลน์ภาครัฐเพื่อประโยชน์ของประชาชนและภาคธุรกิจได้ในอนาคตแล้ว ทาง EGA และหน่วยงานภาครัฐที่เป็นเจ้าของข้อมูลจะเปิดโอกาสให้ทีมนักพัฒนาสามารถเข้า มาทำงานร่วมกันได้ โดยประเดิมเวทีแรกของการต่อยอดผลงาน ในงานสัมมนาและนิทรรศการ e-Gov day 2015 ซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปีที่ อีจีเอ จัดขึ้นเพื่อรองรับภารกิจและยุทธศาสตร์การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของ อีจีเอ ต่อไป
ดร.ศักดิ์ฯ กล่าวปิดท้ายว่า“การจัดประกวดครั้งนี้ถือเป็นปีแรกซึ่ง EGA จะจัดประกวดอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยคาดว่าต่อจากนี้ภาครัฐจะเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ประชาชนเข้าถึงอิน เทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ทุกพื้นที่ มีแบนด์วิธของการให้บริการข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือที่มีความเร็วตั้งแต่ ระดับ 4G รวมถึงข้อมูลภาครัฐมีการบูรณาการ ทั้งในรูปของดาต้าเซ็นเตอร์แห่งชาติและโครงการ Government Open Data ทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งหลายสามารถดึงข้อมูลไปใช้พัฒนาแอปพลิเคชันในด้าน ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ก็จะทำให้การประกวดในปีต่อไปจะก่อเกิดแอปพลิเคชันที่ใช้ประโยชน์ในวงกว้าง อันเนื่องมาจากบริการของภาครัฐต่อไป จึงอยากขอเชิญชวนนักพัฒนาแอปพลิเคชันในทุกระดับเตรียมความพร้อมไว้เพื่อเข้า ร่วม โครงการแข่งขันประกวดผลงานการพัฒนา Mobile Application ภาครัฐ 2015 (MEGA 2015)”
ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.855394097863566.1073741857.542226425847003&type=3