สัมมนา “ก้าวสู่ผู้บริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ระดับสากล และพิธีมอบประกาศนียบัตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ ๑
เมื่อวันพุธที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ได้จัดงานสัมมนา “ก้าวสู่ผู้บริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ระดับสากล และพิธีมอบประกาศนียบัตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ ๑”
ท่าน ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ได้กล่าวรายงานถึงที่มาของงานสัมมนาฯ และพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรนักบริหารรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ ๑และรศ.ดร.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนโยบายและสารสนเทศมหาวิทยาลัยมหิดล รองประธานรุ่นหลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ ๑ เป็นผู้รายงานสรุปการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากการอบรมหลักสูตรดัง กล่าว
แนวทางการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์มี 3 ด้าน
ด้านที่ 1 มาตรฐาน (Standard)
Font code จะเอา code แบบไหนเป็นมาตรฐาน
Data set แบ่งเป็น 2 ประเภท
standard data set: เช่น ชื่อ-นามสกุล ปัจจุบันจะมีชื่อกลาง, วันเดือนปีเกิด มีวิธีการเขียนหลายแบบ dd/mm/yy, dd/mm/yyyy ปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. เป็นต้น
Minimal data set: การเก็บข้อมูลขั้นต่ำเช่น รพ. เก็บ ชื่อ-นามสกุล,ส่วนสูง,อายุ,เพศ,วันเดือนปีเกิด โดยอาจจะเก็บ 5 อย่างเป็นอย่างน้อย เป็นต้น
IT auditing ข้อมูลในระบบไม่สามารถรับรองได้ว่าข้อมูลนั้นถูกต้องแน่นอน เราควรมี Audit ภาครัฐ, cert. body ภาครัฐ
ด้านที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT)
NW: ต้องมีความ secure, stable, speed ถ้าจะทำให้เร็วต้องมี Template
HW: ราคากลางการจัดซื้อจัดจ้าง, ทำให้ราคาถูกลงเหมือน TV, cloud computing (drop box) ของไทย
SW: ไม่มีการ Enforcement, การสนับสนุนให้ใช้ Open Source
Front Office: ระบบทางด้านการศึกษาให้ใช้กันทั่วประเทศ, ระบบ e-Health ส่งข้อมูลคนไข้, ID Card ต้องสามารถใช้ประโยชน์ได้มากกว่านี้
Back office: ควรจัดทำ ERP ภาครัฐ (เราเสียเงินซื้อ SAP จำนวนมาก) โดยอาจจะให้แต่ละหน่วยเข้ามาประมูลแต่ละโมดูลทำในรูปแบบเดียวกันที่สามารถนำ มา Integrate กันได้และในระบบต่างๆ เช่น MIS, EIS, BI เป็นต้น
Database: ควรกำหนดมาตรฐานด้านข้อมูล เรื่องของ IT Audit, ความเชื่อมโยงของฐานข้อมูล Database ถ้าจะเป็นผลลัพท์ที่ดีต้องสามารถ Integrate กันได้ ปัจจุบันเรามีสำมะโนครัวของ กระทรวงมหาดไทย ทางมหาวิทยาลัย ที่มี รพ. ก็สามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้แล้ว แต่ควรให้มีการ enforce, support ให้ใช้ทั่วประเทศและมี security กำกับ
PW: ควรมี career path training roadmap, IT Literacy, IT Proficiency
Service & Law: การ Identify ตัวบุคคล มี 1) สิ่งที่เรามีติดกาย เช่นฟิงเกอร์ปริ้นส์, เรติน่า,สแกนกะโหลก, DNA 2) สิ่งที่เรา เช่น รู้ชื่อพ่อ-แม่ 3) สิ่งที่เราครอบครอง เช่น บัตรเครดิต ใบขับขี่ เป็นต้น เรามี smartcard แต่ใช้ไม่ได้ เราต้องทำให้ smartcard ใช้ได้ทุกอำเภอก่อน (ไปอำเภอยังต้องถ่ายสำเนา) กฎหมาย: ยังต้องการลายเซ็น ยังต้องมีกระดาษ เรื่องของ digital sign. ต้องทำให้เกิดเป็นรูปธรรม
ด้านที่ 3e-ASEAN: เราต้องเตรียมพร้อม, e-service ต้องสามารถใช้ร่วมกันได้ โดยใช้ เครื่องมือทางด้าน ICT ที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อนำไปสู่ e-ASEAN แต่เราต้องผ่าน e-government ไปให้ได้
ท่านนาวาอากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดงานสัมมนาดังกล่าว และมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรนักบริหารรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Executive Program) รุ่นที่ ๑ จำนวน 40 คน ท่านประธานกล่าวว่าเป็นหลักสูตรที่ดีในการพัฒนาความรู้ ความสามารถของผู้บริหารให้มีความตระหนักถึงการนำเทคโลยีสารสนเทศมาช่วยในการ บริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ และการให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน
งานสัมมนาที่จัดขึ้น มีวัตถุประสงค์ในการแบ่งปันองค์ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้จากการเข้าอบรมหลักสูตรนักบริหารรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ และศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีหัวข้อสัมมนาที่น่าสนใจอาทิ “การบริหารจัดการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาประเทศสหรัฐอเมริกา” โดยคุณชรินทร์ ธีรฐิตยางกูร ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี และคุณนางสาวนันทวัน วงศ์ขจรกิตติ ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมและปฎิบัติการโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เป็นผู้บรรยาย และ เสวนา “กรณีศึกษา การพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย” โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากหลักสูตรนักบริหารรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รุ่นที่ ๑ หลายท่านอาทิ คุณพีระ ตีรวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ การประปานครหลวง คุณ นิวัตร สถิตกาญจนะ ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ การประปาส่วนภูมิภาค นายสิทธิชัย สุวรรณนุรักษ์ ผู้จัดการศูนย์บริการ One Stop Service สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) รศ.ดร.นพ.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนโยบายและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินรายการโดย คุณณัฏฐ์ชุดา นันทนิ หัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กรมการท่องเที่ยว ซึ่งได้มีนำเสนอการนำความรู้ที่ได้จากวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้บริหารในหลักสูตรฯ มาต่อยอด และประยุกต์กับหน่วยงานในส่วนของนำการเทคโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริหาร จัดการในระดับบริหาร เพื่อพัฒนากระบวนทำงานภายในองค์กร และการให้บริการประชาชนเกิดความสะดวกรวดเร็ว เป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อย่างแท้จริง