ไอซีทีร่วมกับพันธมิตรประกาศความยิ่งใหญ่จัดงานระดับโลก INET Bangkok 2013 ครั้งแรก
ไทยประกาศความยิ่งใหญ่เป็นเจ้าภาพงานระดับโลก “INET Bangkok 2013” ครั้งแรก พร้อมระดมบุคลากรชั้นนำของวงการอินเทอร์เน็ตในประเทศ จับมือผู้เชี่ยวชาญระดับโลก วางยุทธศาสตร์พัฒนาทุกมิติ เชื่อนำไปสู่อินเทอร์เน็ตไทยเข้มแข็งพร้อมยืนอยู่ในสังคมไซเบอร์และทางออก ของภูมิภาค
นายจำนง แก้วชะฎา รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานกล่าวเปิดงาน “INET Bangkok 2013” ภายใต้หัวข้อ “The Internet: The Power to Create” หรือ “อินเทอร์เน็ต : พลังแห่งการสร้างสรรค์” ณ ห้องบอลรูม ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๖ ซึ่งเป็นงานด้านอินเทอร์เน็ตระดับภูมิภาค โดยปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน ระหว่างวันที่ ๗-๘ มิถุนายน ๒๕๕๖
ประเทศไทยโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) พร้อมกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และหน่วยงานพันธมิตรที่มีส่วนในการร่วมพัฒนาอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิอินเทอร์เน็ตโซไซตี้ประเทศไทย (Internet Society) หรือ ISOC จัดงาน “INET Bangkok 2013” ภายใต้หัวข้อ “The Internet: The Power to Create” หรือ “อินเทอร์เน็ต : พลังแห่งการสร้างสรรค์” ในวันที่ ๗-๘ มิถุนายนนี้ ณ ห้องบอลรูม ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ซึ่งประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพเป็นครั้งแรก ถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่อีกงานของเมืองไทย อีกทั้งยังเป็นการฉลองครบรอบ 25 ปี โดเมนเนม .TH ที่เจริญเติบโตคู่กับอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมาตั้งแต่แรกเริ่ม ภายใต้ชื่องาน ".TH 25 ปี ทบทวนอดีต พิจารณาปัจจุบัน ผลักดันอนาคต"
การจัดงานครั้งนี้เพื่อเป็นเวทีเสวนาวิชาการเกี่ยวกับพัฒนาการและบทบาทของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวิถีชีวิตของผู้คนในประเทศและผลักดันให้เกิดการรวมตัวของผู้มีส่วน เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการใช้อินเทอร์เน็ต ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาและภาคประชาชน โดยมุ่งหวังว่าผลจากการจัดงานจะเกิดกลุ่มเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยที่เข้มแข็ง และสามารถผลักดันให้เกิดการทำงานที่เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมได้ต่อไป
นายจำนง แก้วชะฎา รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผย “เมื่อปลายปีที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้ร่วมกับอินเทอร์เน็ตโซไซตี้ประเทศไทย (ISOC) ในการแสดงเจตนารมณ์ไม่บรรจุคำนิยามเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตเข้าไว้ในวาระการ ประชุมของ ITU เพื่อทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีข้อจำกัด ทางธุรกิจมาเป็นตัวขัดขวาง ทำให้ทั้งฝ่ายรัฐบาลและตัวแทนภาคเอกชนของไทยได้ใกล้ชิดและมองเห็นแนวทางที่ จะร่วมกันพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตของไทยให้เติบโตขึ้นอย่างมีแบบแผนโดยมี องค์กรในระดับโลกเข้ามาช่วยเหลือ งาน INET Bangkok ซึ่งเป็นงานด้านอินเทอร์เน็ตระดับภูมิภาคที่ถือเป็นรูปธรรมของการจะพัฒนาอิน เทอร์เน็ตของประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคนี้
ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา เราได้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตโดยตรงตั้งแต่การพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานอินเทอร์เน็ตของประเทศให้มีความทันสมัย ทั่วถึงและเท่าเทียม การพัฒนากฎหมายที่ส่งเสริมและดูแลการใช้อินเทอร์เน็ต ตลอดจนการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างฉลาดและปลอดภัย มีกลไกคุ้มครองและสร้างความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมออนไลน์ และการส่งเสริมการให้และการใช้บริการต่างๆ ของภาครัฐ และยิ่งในรอบปีที่ผ่านมา แม้กระทรวงไอซีทีจะเร่งความเร็วในการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานทางด้านอิน เทอร์เน็ต ไม่ว่าจะผ่านสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็ได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น แต่การที่ยุทธศาสตร์ของกระทรวงในช่วงนี้ถือเป็นการปูพื้นฐานเพื่อที่จะรอง รับการก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ระบบ GIN กลายเป็น Super GIN ทำให้หน่วยงานภาครัฐไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใดก็สามารถเข้ามาใช้โครงข่าย สารสนเทศภาครัฐได้ทั้งหมดก็จะทำให้เกิดการพลิกโฉมหน้าครั้งใหญ่ในการทำงาน ต่อไป
ยิ่งการที่สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เปิดให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งภาครัฐ ก็นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงาน และทัศนคติในการให้บริการประชาชนแนวใหม่ ถือเป็นการขับเคลื่อนโดยการใช้เทคโนโลยีอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งลูกเล่นที่จะตามมาไม่ว่าจะเป็นการสร้างระบบ Software as a Service ภาครัฐและการสร้างระบบ Government App Store ขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนสามารถโหลดโปรแกรมการบริการของภาครัฐไปใช้ในอุปกรณ์ ต่างๆ ได้ก็จะยิ่งทำให้การวางยุทธศาสตร์ใหญ่ทางด้านอินเทอร์เน็ตมีความจำเป็นมาก ขึ้น
ขณะเดียวกันกระทรวงไอซีทีก็ให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ยกร่างแผนแม่บทเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อให้เกิดกฎหมายรองรับอนุสัญญาว่าด้วยการใช้การติดต่อสื่อสารทาง อิเล็กทรอนิกส์ในสัญญาระหว่างประเทศ หรืออนุสัญญา e-Contracts ขึ้นมา และเกิดมาตรฐานการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ National Payment Message Standard หรือ NPMS สำหรับภาคการเงิน นอกจากนี้ยังได้ทำกฎหมายที่รองรับการจัดทำสิ่งพิมพ์ให้กับระบบการออกใบ รับรองนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ e-Certificate ของกระทรวงพาณิชย์ รวมถึงต้องลดปัญหาภัยคุกคาม Phishing ที่ช่วยปกป้องมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 3,500 ล้านบาท
แม้ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางออนไลน์ หรือ e-Transaction จากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ประมาณ 32% ของประชากร มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือประมาณ 66.4% มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 23.7% มีบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊ค (Facebook) ซึ่งเป็นโซเชียลมีเดียยอดนิยมสูงถึง 12,797,500บัญชี ตัวเลขจากมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ปี 53 หรืออีคอมเมิร์ซ จากมูลค่าที่สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจได้ คือ 608,587 ล้านบาท ขณะที่ตัวเลขของการโอนเงินและการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ก็มีตัวเลขที่สูงถึง795,495พันล้านบาท ตัวเลขทั้งหมดจะเติบโตขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ดังนั้นยุทธศาสตร์การพัฒนาอินเทอร์เน็ตจึงต้องถูกวางให้สอดคล้องกับ เทคโนโลยีใหม่ที่กำลังเข้ามาโดยเร่งด่วน
ในงาน INET Bangkok 2013 ในครั้งนี้ กระทรวงไอซีทีเองก็คาดหวังเช่นกันว่า ประเทศไทยจะได้เห็นแนวทางการรับมืออันเกิดจากเทคโนโลยีใหม่ ไม่ว่าจะเป็น IPV6, WebRTCหรือแม้กระทั่ง Big Data ที่กำลังพูดถึงในขณะนี้จะได้ถูกขยายและทำให้ทุกภาคส่วนให้มองเห็นภาพได้ ชัดเจน จนสามารถเข้ามารับมือได้อย่างถูกต้อง ซึ่งงานนี้มีผู้เชี่ยวชาญที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีมาชี้นำแนวทาง และมีผู้เข้าร่วมทั้งจากภาครัฐของไทย ภาคธุรกิจอินเทอร์เน็ตทั้งของไทยและจากทุกมุมโลก มาร่วมกันหาแนวทาง แน่นอนจะทำให้ทุกภาคส่วนของประเทศไทยได้ตื่นตัวและเห็นความสำคัญของประเด็น เหล่านี้ได้อย่างทันท่วงที” รองปลัดไอซีทีกล่าว
ทั้งนี้ การจัดงานมีส่วนที่เป็นการสัมมนาและนิทรรศการ ซึ่งในส่วนการสัมมนามีวิทยากรทั้งจากต่างประเทศและของไทย โดยการบรรยายครอบคลุม ๔ เรื่อง ได้แก่ Technology Track, Innovation Track, iSociety Track, และ Future Track โดยมี Highlights ดังนี้
๑. Web RTC Workshop and Internet of Things แนะนำเทคโนโลยีล่าสุดจากนวัตกรรมบน Internet ฉบับประชาชนที่หลายคนในวงการที่คาดว่าจะเปลี่ยนโฉมการใช้งานของ Internet โดยสิ้นเชิง
๒. Digital Footprint Workshop ผู้ใช้ Internet มีสิทธิประโยชน์อะไรบ้างและแตกต่างจากผู้บริโภคทั่วๆ ไปหรือไม่ ภัยในการใช้ Internet มีอะไรบ้าง
๓. Governance in the age of the Internet and Free Trade Agreements (FTAs) ประเทศไทยมีการเตรียมพร้อมมากน้อยแค่ไหนในเวทีการต่อรองสนธิสัญญาการค้าของ โลกในเรื่องเกี่ยวโยงกับ Internet อะไรคือกติกาใหม่ๆ ที่ควรมีผลกระทบและบทบาทต่อประเทศไทย ทั้งในด้านบวกและลบ
๔. Smart Service/ System ได้เรียนรู้เรื่องนวัตกรรมต่างๆ ในประเทศไทยได้นำมาใช้บน Internet เช่น เกษตรกรรมและชาวนาไฮเทค คุณหมอไร้สาย เป็นต้น
๕. Enabling Smart & Open Government-Cloud Computing ความท้าทายของประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยในการนำเทคโนโลยี Cloud Computing มายกระดับในการบริการประชาชนที่เทียบเท่าประเทศที่พัฒนาแล้ว
๖. IPV6 ทำไมประเทศไทยต้องนำ IPv6 มาใช้ ที่นี่มีคำตอบ
๗. Building a Sustainable Internet Ecosystem-An Integrated Approach ทำไมประเทศไทยยังมีไม่มีอุตสาหกรรม Internet เหมือนต่างประเทศ การเกิดเศรษฐกิจ Internet (หรือ Digital Economy) ต้องอาศัยอะไรบ้าง
EGA ชูศักยภาพการบริหารจัดการด้านไอที สร้างสรรค์ เชื่อมโยงเอกชน-รัฐ-ประชาชน ในงาน INET Bangkok 2013
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (EGA) กล่าวว่า “ในแง่มุมของพลังอินเทอร์เน็ต พลังแห่งการสร้างสรรค์ สามารถสะท้อนได้อย่างเด่นชัดสอดรับกับยุคสมัยแห่งการติดต่อสื่อสารไร้พรมแดน ในปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นว่า การใช้งานอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนารูปแบบไปอย่างกว้างขวาง พร้อมด้วยการให้บริการที่มีความสะดวกรวดเร็วและคล่องแคล่วมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะอยู่จุดใด มุมไหนของโลก ก็สามารถถูกเชื่อมโยงให้ติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในส่วนของการดำเนินงานของ EGA ก็ได้มีความมุ่งมั่นนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีความทันสมัยเหล่า นี้ มาช่วยพัฒนา ขับเคลื่อนการดำเนินงานของภาครัฐให้สามารถตอบโจทย์ และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนได้อย่างมีความสมบูรณ์ และขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความสมบูรณ์และมั่นคง ปลอดภัย “Enabling Complete and Secure e-Government” โดยในการจัดงาน INET Bangkok 2013 ซึ่งเป็นเวทีสำคัญที่รวบรวมผู้ประกอบการ และผู้ใช้บริการด้านไอที ทาง EGA ได้นำเอาโครงการสำคัญที่รับผิดชอบมาเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไป ตลอดจนผู้ประกอบการ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเตรียมพร้อมใช้บริการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาทิ การพัฒนาระบบเว็บไซต์กลางเพื่อเชื่อมโยง e-Services ภาครัฐ การต่อยอดพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network : GIN) เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลสำคัญของรัฐบาลทั้งระบบงานกลาง และอื่นๆ เช่นข้อมูลการบริหารจัดการน้ำ การเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (National Single Window : NSW) การเชื่อมโยงระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนามาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard) และเพื่อเป็นการบริหารจัดการงบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของภาครัฐให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดปัญหาการใช้งบประมาณซ้ำซ้อน ภายในงานยังได้มีการแนะนำระบบ Government Cloud (G-Cloud) เพื่อช่วยให้หน่วยงานต่างๆ ได้ใช้ทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ
ด้วยเหตุนี้ การจัดงาน INET Bangkok 2013 จึงเปรียบเสมือนเวทีหนึ่งที่ EGA จะแนะนำและแสดงศักยภาพความพร้อมของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อขับเคลื่อนการปฏิบัติงานทางด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ให้ก้าวไปสู่การเป็น SMART THAILAND ได้อย่างสมบูรณ์ในอนาคต”
ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/eGovernmentAgency/media_set?set=a.560123600692661.1073741863.100000850770441&type=1