ระดมทีมก่อตั้งอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยประสานผู้เชี่ยวชาญระดับโลกจัดงาน INET Bangkok 2013


13 March 2558
1040

ระดมทีมก่อตั้งอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยประสานผู้เชี่ยวชาญระดับโลกจัดงาน INET Bangkok 2013 วางยุทธศาสตร์พัฒนาทุกมิติ หลังเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว เชื่อในงาน 6-7-8 มิถุนายนนี้เกิดทางออกของภูมิภาค

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย  มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย หรือ THNIC  มูลนิธิอินเทอร์เน็ตโซไซตี้ประเทศไทย (Internet Society) หรือ ISOC และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ อินเทอร์เน็ตทั้งในและต่างประเทศ จัดงานแถลงข่าว INET Bangkok 2013 ซึ่งถือว่าเป็นงานที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตในระดับภูมิภาคที่มีผู้เข้าร่วม งานทั้งในและต่างประเทศจำนวนมากมาโดยตลอด โดยปีนี้ไทยจะเป็นเจ้าภาพในการจัดงานที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ ในวันที่ ๖-๗-๘ มิถุนายน ๒๕๕๖ โดยมี นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, ดร.ทวีศักดิ์  กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, นางสาวดวงทิพย์ โฉมปรางค์ ผู้แทนจากมูลนิธิอินเทอร์เน็ตโซไซตี้ประเทศไทย, นายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย,    ศ.ดร.กาญจนา กาญจนสุต รองประธานมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย เป็นผู้แถลง เมื่อวันพุธที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ ห้อง Ballroom ๑ ชั้น ๔ โรงแรมแกรนด์ มิลเลนเนียม สุขุมวิท กรุงเทพ

การแถลงข่าวครั้งนี้ กล่าวถึงรายละเอียดของงาน INET Bangkok 2013 ที่จะมีผลกระทบต่อโครงสร้างอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยในแง่มุมต่างๆ ตั้งแต่ในระดับนโยบาย นวัตกรรม ความร่วมมือระดับนานาชาติ ภาคธุรกิจ และภาคสังคม ซึ่งในงานแถลงข่าวนี้มีการวิเคราะห์ทิศทางของอินเทอร์เน็ตทั้งในไทยและใน ภูมิภาคนี้ด้วยแง่มุมต่างๆ รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญและผู้ดูแลงานที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตของไทยจำนวนมาก เข้าร่วมให้ข้อมูลด้วย

 

นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที เปิดเผยว่า เมื่อปลายปีที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้ร่วมกับอินเทอร์เน็ตโซไซตี้ประเทศไทย หรือ ISOC ในการแสดงเจตนารมย์ไม่บรรจุคำนิยามเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตเข้าไว้ในวาระการ ประชุมของ ITU เพื่อทำให้อินเทอร์เน็ตเป็น สิ่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีข้อจำกัดทาง ธุรกิจมาเป็นตัวขัดขวาง ทำให้ ทั้งฝ่ายรัฐบาลและตัวแทนภาคเอกชนของไทยได้ใกล้ชิด และมอง เห็นแนวทางที่จะ ร่วมกันพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตของไทยให้เติบโตขึ้นอย่างมีแบบแผน โดยมี องค์กรในระดับโลกเข้ามาช่วยเหลือ

 

งาน INET Bangkok ซึ่งเป็นงานด้านอินเทอร์เน็ตระดับภูมิภาค จึงเป็นรูปธรรม ของการจะพัฒนาอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคนี้ที่เกิดจากความ ร่วมมือของกระทรวงไอซีที สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช., สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์, สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์, ทีโอที, ทีเฮชนิค และกลุ่มผู้ร่วมงานรายอื่นๆ อีกจำนวนมาก จับมือกับ ISOC ซึ่งเป็น เจ้าของงาน และเลือกประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ที่ถือว่าเป็นครั้งแรก ต้อนรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีครั้งใหญ่ของโลก ทำให้ไทยกลายเป็นจุดสำคัญในภูมิภาคนี้ขึ้นมาทันที

 

ในรอบปีที่ผ่านมากระทรวงไอซีที แม้จะเร่งความเร็วในการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานทางด้านอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะผ่านสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็ได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น แต่การที่ยุทธศาสตร์ของกระทรวงในช่วงนี้ถือเป็นการปูพื้นฐานเพื่อที่จะรอง รับการก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ระบบ GIN กลายเป็น Super GIN ทำให้หน่วยงานภาครัฐไม่ว่าจะอยู่ใน สถานที่ใดก็สามารถเข้ามาใช้โครงข่ายสารสนเทศภาครัฐ ได้ทั้งหมด ก็จะทำให้เกิด การพลิกโฉมหน้าครั้งใหญ่ในการทำงานต่อไป

 

ยิ่งการที่สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เปิดให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งภาครัฐ ก็นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงาน และทัศนคติในการให้บริการประชาชนแนวใหม่ ถือเป็นการขับเคลื่อนโดยการใช้เทคโนโลยีอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งลูกเล่นที่จะตามมาไม่ว่าจะเป็นการสร้างระบบ Software as a Service ภาครัฐ และการสร้างระบบ Government App Store ขึ้นมาเพื่อ ให้ประชาชนสามารถโหลด โปรแกรมการบริการของภาครัฐไปใช้ในอุปกรณ์ต่างๆ ได้ ก็จะยิ่งทำให้การวาง ยุทธศาสตร์ใหญ่ทางด้านอินเทอร์เน็ตมีความจำเป็นมากขึ้น

 

ขณะเดียวกันกระทรวงไอซีทีก็ให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ยกร่างแผนแม่บทเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อให้เกิดกฎหมายรองรับอนุสัญญาว่าด้วยการใช้การติดต่อสื่อสารทาง อิเล็กทรอนิกส์ในสัญญาระหว่างประเทศ หรืออนุสัญญา e-Contracts ขึ้นมา และเกิดมาตรฐานการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ National Payment Message Standard หรือ NPMS สำหรับภาคการเงิน นอกจากนี้ยังได้ทำกฎหมายที่รองรับการจัดทำสิ่งพิมพ์ให้กับระบบการออกใบ รับรองนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ e-Certificate ของกระทรวงพาณิชย์ รวมถึงต้องลดปัญหาภัยคุกคาม Phishing ที่ช่วยปกป้องมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 3,500 ล้านบาท

 

แม้ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางออนไลน์ หรือ e-Transaction จากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ประมาณ 32% ของประชากร มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือประมาณ 66.4% มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 23.7% มีบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊ค (Facebook) ซึ่งเป็นโซเชียลมีเดียยอดนิยมสูงถึง 12,797,500 บัญชี ตัวเลขจากมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ปี 53 หรืออีคอมเมิร์ซ จากมูลค่าที่สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจได้ คือ 608,587 ล้านบาท ขณะที่ตัวเลขของการโอนเงินและการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ก็มีตัวเลขที่สูงถึง795,495พันล้านบาท ตัวเลขทั้งหมดจะเติบโตขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ดังนั้นยุทธศาสตร์การพัฒนาอินเทอร์เน็ตจึงต้องถูกวางให้สอดคล้องกับ เทคโนโลยีใหม่ที่กำลังเข้ามาโดยเร่งด่วน

 

ในงาน INET Bangkok 2013 ในครั้งนี้ กระทรวงไอซีทีเองก็คาดหวังเช่นกันว่า ประเทศไทยจะได้เห็นแนวทางการรับมืออันเกิดจากเทคโนโลยีใหม่ ไม่ว่าจะเป็น IPV6, WebRTC หรือแม้กระทั่ง Big Data ที่กำลังพูดถึงในขณะนี้จะได้ถูกขยายและทำให้ ทุกภาคส่วนให้มองเห็นภาพได้ชัดเจน จนสามารถเข้ามารับมือได้อย่างถูกต้อง ซึ่งงานนี้มีผู้เชี่ยวชาญที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีมาชี้นำแนวทาง และมีผู้เข้าร่วมทั้งจากภาครัฐของไทย ภาคธุรกิจอินเทอร์เน็ตทั้งของไทยและจากทุกมุมโลก มาร่วมกันหาแนวทาง แน่นอนจะทำให้ทุกภาคส่วนของประเทศไทยได้ตื่นตัวและเห็นความสำคัญของประเด็น เหล่านี้ได้อย่างทันท่วงที

 

ดร.ทวีศักดิ์  กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. เปิดเผยว่า  25 ปีที่ผ่านมา อินเทอร์เน็ตได้เปลี่ยนแปลงระบบสื่อสารของคนทั่วโลกจากโทรศัพท์ราคาแพง กลายเป็นการหลอมรวมของสื่อจดหมาย ข้อความสั้น ประชุมทางไกลด้วยภาพ การกระจายเสียง สื่อสิ่งพิมพ์ กลายเป็นสื่อสังคมทั้งในสภาพข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ควบคู่ไปกับอุปกรณ์ (devices) ราคาถูก อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และเครื่องมือค้นหาข้อมูล (search engines) ที่ทรงพลัง น่าจะกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นของทุกคน

 

และอีก 25 ปี ข้างหน้าเราจะเห็นภาพอนาคตอย่างไร อำนาจทางเศรษฐกิจ และการเมืองระดับโลกจะอยู่กับชาติใด ย่อมขึ้นอยู่กับความพร้อมของคนในชาตินั้นๆ  ประเทศไทยพร้อมที่จะยืนอยู่ในสังคมไซเบอร์จริงหรือไม่ อินเทอร์เน็ตยุคหน้า, ประเด็นความมั่นคง, การคุ้มครองชื่อการค้า การค้าข่ายในอินเทอร์เน็ต, การสร้าง/สื่อสารกับมวลชนในอินเทอร์เน็ต และการพัฒนากองทัพผู้ชำนาญการเข้าสู่วงการค้าปกติที่ต้องซื้อขายผ่านอิน เทอร์เน็ต รวมถึงการไล่จับผู้ร้ายทางอินเทอร์เน็ต และการดูแลข้อมูลมหาศาล (Bigdata) ที่เกิดจากข้อมูลที่หลั่งไหลมาจากอุปกรณ์นานาชนิด (Internet of Things) กับระบบการบริการเก็บข้อมูล และคำนวณแบบคลาวด์ ซึ่งในงาน INET Bangkok 2013 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 6-7-8 มิถุนายนนี้ จะเป็นการจุดประกาย ให้กับประเทศไทยในครั้งนี้

 

ISOC เจาะลึกงาน INET Bangkok

อนาคตอินเทอร์เน็ตภูมิภาคเปลี่ยน

นางสาวดวงทิพย์ โฉมปรางค์ ผู้บริหารอินเทอร์เน็ตโซไซตี้ประเทศไทย (ISOC) เปิดเผยว่า งาน INET Bangkok ถือว่าเป็นการจัดงาน INET ในระดับภูมิภาค ซึ่งแต่ละปีจะมีประเทศในแต่ละภูมิภาคที่มีศักยภาพเท่านั้นที่ได้รับการยอม รับให้เป็นผู้จัดงาน ซึ่งลักษณะงานจะแตกต่างจากการจัดงาน INET Global ซึ่งจะเน้นทิศทางในระดับโลก แต่สำหรับงานนี้ ISOC มุ่งเน้นแค่การเกิดยุทธศาสตร์ใหม่ของประเทศไทยเกี่ยวกับเรื่องอินเทอร์เน็ต และทิศทางโดยรวมของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งหัวข้อในปีนี้คือ The Power to Create หรือ อินเทอร์เน็ต : พลังแห่งการ สร้างสรรค์

 

ปกติแล้วงาน INET จะไม่ใช่เป็นเพียงงานเวทีเสวนาวิชาการในเรื่องเกี่ยวกับพัฒนาการและบทบาทของ อินเทอร์เน็ตที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของผู้คนในประเทศเท่านั้น แต่จะเป็นเวทีที่ผลักดันให้เกิดการรวมตัวของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนา และการใช้อินเทอร์เน็ต ทั้งจาก ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคประชาชน โดยมุ่งหวังว่าผลจากการจัดงานจะเกิดกลุ่มเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา อินเทอร์เน็ตของประเทศไทย ที่เข้มแข็ง และสามารถผลักดันให้เกิดการทำงานที่เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมได้ขึ้นต่อไป

 

งาน INET Bangkok ครั้งนี้ ทาง ISOC ได้ร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือสวทช. และหน่วยงานพันธมิตรที่มีส่วนในการร่วมพัฒนาอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย โดยในงานจะมีทั้งส่วนที่เป็นการสัมมนาและนิทรรศการ ในส่วนการสัมมนา จะมี 4 เรื่อง ได้แก่ Technology Track, Innovation Track, iSociety Track, และ Future Track

 

ในส่วนของหมวดเทคโนโลยี หรือ Technology Track จะมีการนำเสนอประเด็นด้านโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีที่ เกี่ยวข้อง ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว กับผลกระทบต่อการทำธุรกิจและกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ IPv6, Cloud Computing Software Development, และ WebRTC

 

ประเด็นสำคัญของ IPV6 ที่จะมีการหายุทธศาสตร์การบริหารต่อไปคือ สาเหตุที่ประเทศไทยต้องนำ IPv6 มาใช้, ข้อได้เปรียบเสียเปรียบ และผลกระทบในระยะยาวจะมีต่อกลุ่มใดมากที่สุด, คำตอบที่ถูกต้องสำหรับอนาคตของประเทศไทยกรณี IPV6 ส่วนประเด็นของ WebRTC ถือเป็นเรื่องใหม่อย่างมากในระดับโลกและหลายคนในวงการคาดว่าจะเปลี่ยนโฉมการ ใช้งานของอินเทอร์เน็ตโดยสิ้นเชิง โดยในงาน INET Bangkok จะเปิดการสาธิตวิธีการใช้งานใหม่ที่หายาก จากการนำเสนอโดยผู้ริเริ่มคิดเทคโนโลยี WebRTC เอง คือ Dr. Cullen Jennings ซึ่งปัจจุบันเป็นประธานคณะทำงานกลุ่มพัฒนามาตรฐาน Web RTC กับหน่วยงาน IETF และ W3C ซึ่งเป็นองค์กรกลางที่กำหนดมาตรฐานอินเทอร์เน็ตและเว็บเทคโนโลยี งานนี้จะทำให้ผู้เข้าร่วมได้สัมผัสนวัตกรรมใหม่ของโลกที่ยังไม่ได้นำไปใช้ ที่ใดในโลกมาก่อน สามารถนำแนวคิดใหม่ๆ มาสร้างโอกาสให้กับตัวเอง เช่น การประยุกต์บริการใหม่ๆ สินค้าใหม่ๆ หรือแม้ธุรกิจใหม่ๆ ภายใต้แนวคิดอนาคตของ “Internet of Things”

 

ด้านหมวดนวัตกรรม หรือ Innovation Track นั้นจะมีการนำเสนอเรื่องนวัตกรรมที่ส่งผล ต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้งานทั้งในระดับองค์กร และพฤติกรรมของผู้ใช้ในระดับปัจเจกบุคคล เช่น Mobile-Commerce, E-Commerce, Cloud Computing, e-Government (Cloud), และ Smart Devices/ Systems 4. Smart Service/ System โดยจะนำประสบการณ์ของประเทศไทยมาวิเคราะห์ทั้งระบบ รวมถึงมีการสาธิตระบบเกษตรกรอัจฉริยะ e-farming และระบบคุณหมอไร้สาย e-healthcare

 

ส่วนทางด้านหมวดอินเทอร์เน็ตเพื่อสังคม หรือ i-Society Track จะมีการนำเสนอประเด็นเกี่ยวกับความท้าทายและความกังวลที่เกิดขึ้นในสังคม ข้อมูลข่าวสาร และเศรษฐกิจยุคดิจิตอล ตั้งแต่ ยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงแนวทางพัฒนาอินเทอร์เน็ต หรือ Integrated Internet Development Strategies, ยุครัฐบาลโปร่งใสด้วยอินเทอร์เน็ตและการเปิดเสรีทางการค้า หรือGovernance in the Age of the Internet and Free Trade Agreements (FTA), และ Digital Footprint

 

โดยเฉพาะ Digital Footprint จะมีการจัดเวิร์คชอปเพื่อให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้รับรู้เรื่องสิทธิ ประโยชน์และความแตกต่างจากผู้บริโภคทั่วๆไป, เรียนรู้กฎหมายอินเทอร์เน็ตที่ปกป้องผู้ใช้, เข้าใจคำศัพท์เฉพาะทางที่เกี่ยวกับสังคม ในยุคดิจิตอลและนัยสำคัญเช่น Net neutrality, Privacy, Trust ,digital identity, intermediary liability เป็นต้น ภายใต้แนวคิดที่ว่าสังคมยุคใหม่จะต้องรู้มากกว่าไม่รู้ เพราะกฎหมายจะบังคับให้ทุกๆ คนไม่สามารถเพิกเฉยได้ การไม่รู้ถือว่าเป็นภัยกว่าและเสียโอกาส

 

ในเรื่อง Governance in the age of the Internet and Free Trade Agreements (FTAs) ในที่ประชุมจะมีการตรวจสอบประเทศไทยว่ามีการเตรียมพร้อมมากน้อยแค่ไหนในเวที การต่อรองสนธิสัญญาการค้าของโลกในเรื่องเกี่ยวโยงกับอินเทอร์เน็ต เนื่องจากในอนาคต คู่ค้าและธุรกรรมจะอยู่บนอินเทอร์เน็ตทั้งหมด เช่นกฎหมายปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา  (Intellectual Property) เป็นต้น รวมถึงการเรียนรู้กติกาใหม่ๆ ที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งในด้านบวกและลบ โดยนำบทเรียนและกรณีการศึกษาที่น่าสนใจจากต่างประเทศ และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศมานำเสนอ

 

สำหรับหมวดอนาคตหรือ Future Track นั้นจะนำเสนอประเด็นของอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับการลดช่องว่างด้าน ดิจิตอลและการวิจัยพัฒนาด้าน Cloud และ Big Data ตัวอย่าง หัวข้อการบรรยายสำหรับ Track นี้คือ Rural Internet technologies และ Cloud and Big Data ซึ่งในปัจจุบันเกิดข้อถกเถียงกันอย่างมากเรื่องการเกิดของ Big Data แล้วใครจะเข้ามาบริหาร เนื่องจากระบบข้อมูลขนาดใหญ่กลายเป็นของสาธารณะ โดยในหมวดนี้จะรวมเรื่อง Enabling Smart & Open government- Cloud computing ซึ่งจะมีการชี้แจงแผนงาน Smart Government อันเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อน Smart Thailand ที่จะเปลี่ยนโฉมใหม่ของการให้บริการประชาชนโดยภาครัฐ และระบบ G-Cloud กับการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงความท้าทายของประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยในการนำเทคโนโลยี Cloud Computing มายกระดับในการบริการประชาชนที่เทียบเท่าประเทศที่พัฒนาแล้ว

 

วิเคราะห์ภาคธุรกิจอินเทอร์เน็ต

ขานรับงาน INET Bangkok

นายอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์ของธุรกิจอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยในขณะนี้ ถือเป็นการครอบครองตลาดโดยกลุ่มโทรคมนาคมรายใหญ่ โดยขณะนี้มีผู้ให้บริการโทรคมนาคม 3 รายที่สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดถึง 97% ของรายได้ ขณะที่เหลืออีก 20-30 ราย โดยในกลุ่มนี้มีเพียง 2-3% เท่านั้นที่ให้บริการกับองค์กร ขนาดใหญ่ ส่งผลให้เกิดตัวเลขการใช้ อินเทอร์เน็ต ผ่านโทรศัพท์มือถือประมาณ 6-7 ล้านราย  ขณะที่การใช้งานอินเทอร์เน็ต จากที่บ้านด้วยระบบ ADSL จะมีประมาณ 5 ล้านครัวเรือน ซึ่งทั้งสองกลุ่มอาจเป็น ตัวเลขทับซ้อน หรือเป็นกลุ่มเดียวกัน คาดว่ารูปแบบธุรกิจการให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่นนี้จะยังคงอยู่ต่อไปไม่น้อยกว่าสิบปี หากยังไม่มีการเปลี่ยนกฎการออกใบอนุญาต ใหม่

 

อย่างไรก็ตามจากการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภค ในปัจจุบัน โดยการเข้าสู่ยุค IP Base หรืออุปกรณ์ทุกอย่างเริ่มจะเชื่อมต่อ กับอินเทอร์เน็ตได้หมด ก็จะทำให้ยุคของการพัฒนาระบบโทรเข้าโทรออกมาเป็น การเล่นอินเทอร์เน็ตจนเติบโตมาเข้าสู่ยุค Social Media เริ่มเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง โดยจะเริ่มเห็นการแตกตัวออกเป็นโซลูชั่นทางธุรกิจมากกว่าเชิงสังคม ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะหาจุดแตกต่างในการให้บริการและสร้างแนวทางธุรกิจ เฉพาะของตนเองเพื่อเป็นตัวเลือกให้กับลูกค้าที่จะเปลี่ยน Life Style หรือการใช้ชีวิตเข้าสู่ ยุคใหม่ของดิจิตอล

 

ปัจจัยที่จะมีผลต่อการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยหลังจากที่ผู้ให้บริการ โทรศัพท์มือถือเริ่มให้บริการ 3G ต่อจากนี้ไปคือ เครื่องโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะบรรดา Smart Phone ซึ่งจะมีลูกเล่นใหม่ที่จะทำให้เกิดการใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตง่ายและมากขึ้น และจะมีแอพพลิเคชันที่เกี่ยวกับ VDO เป็นตัวขับเคลื่อน สำคัญ หรือ Killer Application ที่จะทำให้ปริมาณการใช้ อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่าง มหาศาล

 

สำหรับงาน INET Bangkok นั้น ทางสมาคมฯ ต้องการให้งานนี้มีส่วนช่วย ขับเคลื่อน ทิศทางอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย โดยเฉพาะการชี้ช่องทางการทำธุรกิจ แนวใหม่ และแนวโน้มที่สำคัญ รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง กับอินเทอร์เน็ตเช่น ภาคการเงิน หรือภาคขนส่ง และยังต้องการชี้นำเรื่องความเปลี่ยนแปลงในทางเทคโนโลยีให้กับผู้เกี่ยวข้อง เช่น การลงทุนเปลี่ยนระบบ IPV6 ของระบบเว็บไซต์ของไทย ดังนั้นงานนี้นอกจากจะเป็นการระดม ผู้เชี่ยวชาญด้าน อินเทอร์เน็ตจากทั่วโลก และประเทศไทย เพื่อนำเสนองานวิจัยที่สำคัญและมีผล ต่ออินเทอร์เน็ตโลกแล้ว ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นกับธุรกิจแนวใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของไทย อีกด้วย

 

เผยมิติทางสังคมไทย

THNIC จัด 25 ปีหาทางออกร่วม

ศ.ดร.กาญจนา กาญจนสุต รองประธานมูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย หรือ THNIC เปิดเผยว่า งานประชุม INETจัดได้ว่าเป็นงานประชุมของประชาคมอินเทอร์เน็ตแรกของโลกที่มีความสำคัญ ยิ่งต่อการขยายการเชื่อมโยงและเจริญเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโลกใน ช่วงก่อกำเนิด THNICซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลกลไกสำคัญของระบบอินเทอร์เน็ต นั่นก็คือ โดเมนเนม .TH และเจริญเติบโตคู่กับอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมาตั้งแต่แรกเริ่ม การเจริญเติบโตของอินเทอร์เน็ตและโดเมนเนม .TH ในประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับการรับรู้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในสังคมไทย มีลักษณะการเจริญเติบโตที่พิเศษ เนื่องจาก ชุมชนอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้กำหนดให้นโยบายที่รัดกุมและป้องกันปัญหา อาชญากรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอินเทอร์เน็ต ทำให้จำนวนโดเมนเนม .TH เติบโตอย่างต่อเนื่องและมั่นคง แต่ก่อให้่เกิดความเชื่อมั่นในความมีตัวตนของธุรกิจไทยที่ให้บริการบนอิน เทอร์เน็ต

 

ในงาน INET Bangkok ครั้งนี้ทาง THNIC จะจัดงานฉลองครบรอบ 25 ปี .TH ภายใต้ชื่องาน ".TH 25 ปี ทบทวนอดีต พิจารณาปัจจุบัน ผลักดันอนาคต" โดยเนื้อหาภายในงานจะมีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของอิน เทอร์เน็ต และ สังคมอินเทอร์เน็ตไทย โดยจะมุ่งประเด็นไปที่โครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตไทย รวมไปถึง Domain Name System, การไหลเวียนของข้อมูลภายในประเทศ และมุ่งไปสู่ประเด็นที่สร้างความปลอดภัยให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อให้โครงสร้างอินเทอร์เน็ตไทยมีประสิทธิภาพ  เตรียมพร้อมที่จะก้าวสู่ทศวรรษต่อไป

 

ในงานจะมีการจัด TH-Neutral NIX Workshop ซึ่ง THNIC เห็นว่าปัจจุบันนี้ การประสานงานของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยไม่สามารถเกิดขึ้นได้ จริง ทำให้การเก็บแคช หรือการเก็บข้อมูล ของเว็บไซต์ที่ถูกเรียกซ้ำๆ ไว้ในเซิร์ฟเวอร์ของ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตนั้น เป็นการทำแบบต่างคนต่างทำ ส่งผลให้ประเทศไทยเสียผลประโยชน์ในเรื่องการใช้จ่ายในการต่อเชื่อมแบนด์วิ ชไปต่างประเทศจำนวนมาก ทาง THNIC ต้องการรณรงค์ให้เกิดการประสานงานให้มีระบบ การเก็บแคช ในที่เดียว เพื่อลด การซ้ำซ้อนและลดแบนด์วิชที่เป็นต้นทุนใหญ่ของประเทศลง โดย ในการประชุมครั้งนี้ ทาง THNIC จะหารือร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวเนื่องทุกฝ่ายเพื่อทำให้เกิดทิศทาง ที่สามารถ ดำเนินการจัดทำ Internet Exchange หรือ IX ให้เกิดขึ้นในเมืองไทยได้อย่างเป็นจริง

 

ส่วนการอบรมเชิงปฏิบัติการ DNSSEC เนื่องจากทาง THNIC เห็นว่า ในขณะนี้ปัญหาเรื่อง การใช้ Domain หรือชื่อทางอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย ยังมีความปลอดภัยในระดับต่ำ โดยเฉพาะองค์กรที่เป็นหัวใจทางด้านการผลักดันอินเทอร์เน็ตในเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ การเงิน ราชการ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการหารือแนวทางการทำ DNS Security ที่ถูกต้อง ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยตัวองค์กรนั้นๆ เอง ดังนั้นจำเป็นที่ต้องเร่งรณรงค์ให้เกิดการลงทุนในด้านนี้หากต้องการพัฒนา ระบบอินเทอร์เน็ตของไทยในระยะยาว

 

ในมิติทางสังคมที่สำคัญนั้น ทาง THNIC จะผลักดันผ่านเวที Thai Cyber Society เนื่อง จากขณะนี้เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก มีนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน ภาคสังคม เกิดการปรับตัวตามไม่ทัน เกิดคำถามทางสังคมตามมามากมาย เช่น ทำไมประเทศไทยถึงเป็นเมืองหลวงของการใช้ Facebook ฯลฯ โดยทาง THNIC จะอาศัยจุดแข็งของวัฒนธรรมทางอินเทอร์เน็ต ที่เน้นสังคมแบบประชาธิปไตยไม่มีใครเป็นเจ้าของรายใหญ่ เพื่อสร้างต้นแบบในเชิงสัญลักษณ์ โดยเน้นกระบวนการแบบ Bottom-Up Process หาคำตอบเหล่านี้ให้กับสังคมไทย

 

นอกจากนั้น THNIC ยังได้เชิญ Dr. Steve Crocker ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารองค์กรอินเทอร์เน็ตโลก หรือ ICANN และคุณ Vint Cerf ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งอินเทอร์เน็ตของโลกมาวิเคราะห์แนวทางของอินเทอร์เน็ตทั่ว โลก ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ล่อแหลมมากในปัจจุบันในงานนี้อีกด้วย

 

ชมภาพประกอบเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.555402877831400.1073741858.100000850770441&type=1