รัฐมนตรีไอซีที ห่วงใยภาครัฐ เร่งเดินสายตรวจเยี่ยม ติดตามการบริหารจัดการ EGA
นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงไอซีที ตรวจเยี่ยมและติดตามงานการบริหารจัดการโครงการ (MICT PMO) ของ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (EGA) โดยมี ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงาน และผู้บริหาร EGA ให้การต้อนรับและนำเสนอเรื่อง “แนวทาง ยุทธศาสตร์ และผลการดำเนินงาน EGA เพื่อขับเคลื่อนนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที” ณ ห้องประชุมวิภาวดี ชั้น ๑๘ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ถนนรางน้ำ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๖
ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) นำเสนอประเด็นสำคัญต่างๆ ดังนี้
๑. การดำเนินงานภายใต้นโยบาย รมว.ทก. (Smart Thailand) และยุทธศาสตร์ ทก. ได้แก่ Smart Government:ส่งเสริมการให้เกิดบริการผ่านโครงข่ายของรัฐ และผลักดันบริการอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของภาครัฐ และ Smart Network:จัดทำโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยมีเป้าหมายให้ครอบคลุมประชากร และ ยุทธศาสตร์ ทก. ๔ ปี (2557 – 2560) ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ให้มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงทันต่อเทคโนโลยี และมีความมั่นคงปลอดภัย และ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาและส่งเสริมการนำ ICT ไปใช้ในการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
๒. ผลการดำเนินงานที่สำคัญภายใต้นโยบาย Smart Thailand ได้แก่ การพัฒนาเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (GIN) (รองรับ IPv6 แล้ว) ปัจจุบันมี ๒,๑๕๔ หน่วยงาน, การพัฒนาระบบคลาวด์ภาครัฐ (Government Cloud: G-Cloud) ปัจจุบันมี ๒๑๔ ระบบ/โครงการ (๑๑๑ หน่วยงาน), การให้บริการระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐ (MailGoThai) ปัจจุบันมี ๒๐๗,๐๗๔ บัญชีรายชื่อ (คิดเป็น ๔๓๔ โดเมน), การพัฒนาระบบบริหารจัดการภัยคุกคามทางสารสนเทศภาครัฐ (Government Monitoring) ปัจจุบันมี ๑๗ หน่วยงาน, การพัฒนาระบบเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e-Portal) ปัจจุบันมี ๒๕ ระบบ, การขยายผลการดำเนินการระบบสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบสารบรรณ อิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐ (Saraban) ปัจจุบันมี ๒๖ หน่วยงาน, ภารกิจการเตรียมความพร้อมไปสู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government Readiness)ได้แก่ Architecture and Standards และ การวิจัยนโยบาย (Policy Research) และ ICT Training ปัจจุบันมีจำนวนบุคลากรภาครัฐที่ได้รับสาระความรู้ ได้รับการอบรม และพัฒนาทักษะ ICT จำนวน ๑,๗๔๔ คน และ การสำรวจและจัดอันดับด้าน e-Government เป็นต้น, รวมถึงการนำร่องบริการ ICT ไปสู่ท้องถิ่น ได้แก่ การบูรณาการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ:Smart Citizen Info โดยในระยะแรกให้บูรณาการใน ๔ กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น และการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลทะเบียนของประเทศ ได้ดำเนินการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ได้แก่ กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานประกันสังคม การประปาส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง Post At Home บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เป็นต้น และ SmartBox ซึ่งขณะนี้เตรียมความร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ (NECTEC) เพื่อนำข้อมูลด้านการเกษตร ที่ดำเนินการวิจัย นำเสนอผ่าน SmartBox ที่อยู่ระหว่างติดตั้งอุปกรณ์ Smart Box เพื่อให้บริการข้อมูลที่จำเป็นแก่ประชาชนใน ๔ หมู่บ้านนำร่องโครงการ Smart Province ของจังหวัดนครนายก
๓. โครงการตาม Agenda based อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่ Smart Province (จังหวัดอัจฉริยะ)
Smart Farmer/Smart Officer, ศูนย์ช่วยเหลือสังคม (OSCC), ระบบศูนย์ปฏิบัติการกระทรวง (MOC) กระทรวง ICT, ระบบสารสนเทศแบบรวมศูนย์ เพื่อการบูรณาการข้อมูลสำหรับแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
๔. ความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ MOU ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ อาทิ โครงการ POST@Home ระหว่าง สรอ. กับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ความร่วมมือระหว่าง สรอ. กับ กองทัพอากาศ, CSA Thailand Chapter, ศูนย์วิจัยรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์เอเปค (APEC e-Government Research Center) เป็นต้น
๕. กิจกรรมความสัมพันธ์กับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ การเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ “ ASEAN CSA Summit 2013” เพื่อยกระดับมาตรฐานการใช้ Cloud Computing ในประเทศไทยและประเทศในสมาชิกอาเซียน, มาตรฐานสารบรรณ และ Saraban as a Service, การสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่องการพัฒนา Government Application Center เพื่อการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์บน Cloud เป็นต้น
๖. โครงการ/กิจกรรมที่จะดำเนินการปี ๒๕๕๗ ได้แก่ การพัฒนาเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network: GIN), การพัฒนาระบบคลาวด์ภาครัฐ (G – Cloud), การให้บริการระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อการสื่อสารในภาครัฐ (MailGoThai), การพัฒนาระบบบริหารจัดการภัยคุกคามทางสารสนเทศภาครัฐ (Government Security Monitoring), การบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลและระบบงานภาครัฐ (Government API, Common Services, e-CMS), การพัฒนาช่องทางการเข้าถึงข้อมูลและบริการภาครัฐ(Government Access Channels), การนำร่องบริการ ICT ไปสู่ท้องถิ่น (Smart Citizen Info), การยกระดับขีดความสามารถและพัฒนาฐานข้อมูลบุคลากร ICT ภาครัฐ (ICT Training) และ การวิจัยเชิงนโยบาย (Policy Research) เป็นต้น
ชมภาพเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/eGovernmentAgency/media_set?set=a.572924906079197.1073741867.100000850770441&type=1